การสร้างและแสวงหาความรู้ : ลักษณะของห้องสมุดมีชีวิตจากการศึกษาดูงาน

        
Views: 2276
Votes: 626
Comments: 10
Posted: 30 Jul, 2014
by: ภอกฉัตร น.ส.
Updated: 30 Jul, 2014
by: ภอกฉัตร น.ส.
Attached files
file Living_Library_Observation.pdf (8.01 mb)
Showing: 1-10 of 10  
Comments
13 Aug, 2014   |  apichad.bu
ได้มีโอกาสพูดคุยกับผู้ปฏิบัติงานด้านหอจดหมายเหตุของสำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยบูรพา พบว่า กระบวนการจัดเก็บและค้นคืนทรัพยากรสารสนเทศหอจดหมายเหตุ มีการใช้โปรแกรม open soure ในการจัดทำระบบการจัดเก็บและค้นคืนทรัพยากรที่แปลงเป็นรูปแบบไฟล์ดิจิทัล ซึ่งพบว่า ประสิทธิภาพของค้นคืน ยังมีข้อจำกัดอยู่มาก เนื่องด้วย โปรแกรม open source ยังไม่อาจจะออกแบบอย่างอิสระเท่ากับโปรแกรมประยุกต์ (application) ที่ถูกสร้างและออกแบบ โดยใช้ภาษาคอมพิวเตอร์ เช่น PHP เป็นต้น ดังนั้น การจะพิจารณาเอากระบวนการดำเนินงานของห้องสมุดตัวอย่างมาใช้ในการพัฒนาความเป็นห้องส มุดมีชีวิต (ในส่วนงานหอจดหมายเหตุ) จึงจำเป็นต้องวิเคราะห์ข้อดี ข้อด้อยของกระบวนการก่อน เพื่อให้สามารถพัฒนาศูนย์วิทยบริการ ม. ราชภัฏสวนสุนันทา ให้สามารถเป็นห้องสมุดมีชีวิตที่มีคุณภาพได้ แต่อย่างไรก็ตาม ทำให้พบว่า กระบวนการพัฒนาความเป็นห้องสมุดมีชีวิตของสำนักหอสมุดกลาง ม. บูรพา ได้คำนึงถึงการดำรงไว้ซึ่งความตัวตนของมหาวิทยาลัย โดยเห็นได้จากการพัฒนาและให้ความสำคัญในการเป็นแหล่งเรียนรู้ประวัติในแง่มุมต่างๆ ของมหาวิทยาลัยบูรพา ได้ด้วย ถือเป็นเรื่องที่ต้องชมเชย ครับ

07 Aug, 2014   |  nikom.ar
ได้มีโอกาสไปเยี่ยมชมอุทยานการเรียนรู้ SK Park และหอสมุด ม.ศิลปากร วิทยาเขตเพชรบุรีมาแล้วทำให้รู้สึกประทับใจแนวคิด การให้บริการห้องสมุดมีชิวตได้ดี และสามารถนำมาประยุกต์ใช้กับการพัฒนาห้องสมุดมีชีวิตได้

05 Aug, 2014   |  somjai.ru
จากการไปศึกษาดูงานจากมหาวิทยาลัย มศว. กับ ม.องครักษ์ เขาได้มีการนำเทคโนโลยีที่ทันสมัยมาปฏิบัติ พร้อมทั้งยังมีการแลกเปลี่ยนงานกันทำ ทุกคนสามารถที่จะทำงานแทนกันได้โดยไม่ให้เกิดผลกระทบต่อการทำงาน

04 Aug, 2014   |  vasinee.sr
ความรู้ที่ได้จากการไปศึกษาดูงาน จะเกิดประโยชน์ได้ถ้าเราพบเห็นสิ่งที่ดีแล้วนำมาปรับใช้กับห้องสมุดสวนสุนันทา ทุกคนอาจตื่นตาตื่นใจว่าทำไมเขามีเราไม่มี บางครั้งเราอาจลืมไปว่าห้องสมุดแต่ละแห่งก็จะหลากหลายแนวทางในการบริหารจัดการ ขึ้นอยู่กับองค์ประกอบหลายอย่าง การพัฒนาห้องสมุดอาจไม่จำเป็นต้องใช้งบประมาณมากมาย ใช้พลังความคิดมาดัดแปลงสิ่งที่มีและคนไม่เห็นคุณมาแปรเป็นเป็นมูลค่าเพิ่มก็น่าจะได ้

04 Aug, 2014   |  varunee.ak
จากการไปศึกษาดูงานห้องสมุดของมหาวิทยาลัยศิลปาการ วิทยาเขตสารสนเทศเพชรบุรี พบว่าการบริหารจัดการกับบุคลากรเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพมาก บุคลากร 1 ท่าน สามารถทำงานได้หลากหลาย และสิ่งที่ชอบมากที่สุด คือ มุมแนะนำหนังสือใหม่ ทำให้เห็นรูปเล่มจริง เนื้อหาด้านใน ทำให้ผู้ใช้บริการได้สัมผัสของจริง ก่อให้เกิดความต้องการอยากจะยืมหนังสือ

04 Aug, 2014   |  apichad.bu
จากการที่ผมได้ไปศึกษาดูงานห้องสมุดของมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ องครักษ์ และ ห้องสมุด มหาวิทยาลัยบูรพา ได้เห็นกระบวนในการพัฒนาความห้องสมุดมีชึวิตของแต่ละมหาวิทยาลัย ซึ่งมีความเหมือนและแตกต่างกันบ้าง ซึ่งการจะนำเอาวิธีคิดและวิธีปฏิบัติของห้องสมุดตัวอย่าง มาใช้พัฒนาความเป็นห้องสมุดมีชีวิตของศูนย์วิทยบริการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา จะต้องผ่านขั้นตอนการวิเคราะห์ข้อดี ข้อด้อยของวิธีการก่อน เพราะ มีหลายขั้นตอนของห้องสมุดตัวอย่าง ที่ผมมองว่า ห้องสมุดมหาวิทยาลัยเราดีกว่าเขา และมีอีกหลายขั้นตอนของห้องสมุดตัวอย่่าง ที่เราควรเลียนแบบเขา และมีอีกหลายขั้นตอน ที่เราจะต้องรู้จัดคิดวิเคราะห์และสังเคราะห์แนวทางการดำเนินงานห้องสมุดที่เป็นนวัต กรรม เพื่อให้มีความสมเชิงประสิทธิผล ประสิทธิภาพ และบริบทความเป็นห้องสมุดมีชีวิตของศูนย์วิทยบริการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา ครับ

04 Aug, 2014   |  ratchanok
การศึกษาดูงานนอกจากเป็นการเปิดประสบการณ์ได้พบเห็นสิ่งใหม่ๆ แล้ว ยังเป็นโอกาสที่ดีในการได้แลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับเจ้าหน้าที่ ผู้ปฏิบัติงานในสายงานเดียวกันจากที่อื่นๆ ได้แลกเปลี่ยนปัญหาและแนวทางแก้ไขซึ่งแต่ละที่อาจจะเหมือนหรือแตกต่างกัน เป็นการพัฒนาการทำงานในอีกรูปแบบหนึ่ง

01 Aug, 2014   |  Supaporn.Wo
จากการศึกษาดูงานห้องสมุด มศว. และ ห้องสมุด ม.บูรพา นั้น ทำให้ได้แนวคิดหลายๆ ด้านในการเป็นห้องสมุดมีชีวิต ซึ่งมีบางส่วนที่เราสามารถนำมาประยุกต์ใช้ในห้องสมุดของเรา และยังมีบริการต่างๆอีกหลากหลายที่น่าสนใจ แต่อาจจะไม่เหมาะสมกับการมาใช้ในห้องสมุดของเรา ในอนาคตก็หวังว่าเราจะได้พัฒนาขึ้นไปอีกเพื่อการเป็นห้องสมุดมีชีวิตที่สมบูรณ์แบบ

01 Aug, 2014   |  juju
การสร้างและแสวงหาความรู้ : ลักษณะของห้องสมุดมีชีวิตจากการศึกษาดูงาน ในแต่ละแหล่งนำมาปรับปรุงและประยุกต์กับห้องสมุดของเรา

01 Aug, 2014   |  lek
การแสวงหาความรู้ โดยการไปศึกษาดูงานตามหน่วยงานต่างๆ ทำให้ได้ความรู้ และประโยชน์ต่างๆ มากมาย

Others in this Category
document ประวัติและความเป็นมาของกลุ่มจัดการความรู้ "ห้องสมุดมีชีวิต"
document แผนการดำเนินงาน
document การบ่งชี้ความรู้ : ความหมายของห้องสมุดมีชีวิต
document การสร้างและแสวงหาความรู้ : ลักษณะของห้องสมุดมีชีวิต
document การจัดการความรู้ให้เป็นระบบ : ห้องสมุดมีชิวิตกับการประยุกต์ใช้ในสวนสุนันทา
document การประมวลผลและกลั่นกรองความรู้ : โครงการและกิจกรรมส่งเสริมห้องสมุดมีชีวิต
document โครงการปรับปรุงระบบการวิเคราะห์หนังสือประเภทปริญญานิพนธ์ และ วิทยานิพนธ์
document โครงการ บริการยืมหนังสือไม่จำกัด
document โครงการ กิจกรรมการแสดงดนตรี
document โครงการจัดทำป้ายสัญลักษณ์เพื่อส่งเสริมแหล่งเรียนรู้ห้องสมุดมีชีวิต
document โครงการบริการยืมกระเป๋ากลับบ้าน (Bag 2 Back)
document โครงการบริการรถเข็นอเนกประสงค์ (ช้อปกระจาย)
document โครงการขนหนังสือกลับบ้านช่วงปิดเทอม
document การเข้าถึงความรู้ : รูปแบบของการเป็นห้องสมุดมีชีวิต
document การเรียนรู้ ห้องสมุดมีชีวิต
document การแบ่งปันแลกเปลี่ยนความรู้
document เอกสารเผยแพร่กลุ่มความรู้ห้องสมุดมีชีวิต
document การนำความรู้ไปใช้ประโยนช์
document ความรู้ที่ได้และการกลั่นกรองความรู้
document รายงานผลการดำเนินงานของกลุ่มความรู้ "ห้องสมุดมีชีวิต"