|
||
แนวทางการจัดกิจกรรมการสร้างเสริมสุขภาพกายและสุขภาพจิตเด็กวัยก่อนเรียนในชุมชน มีกระบวนการและขั้นตอน ดังนี้
1. ประสานงานกับอาสาสมัครสาธารณสุข ผู้บริหารและครูประจำโรงเรียนเพื่อขออนุญาตจัดกิจกรรมบริการวิชาการ
2. ประชุมแลกเปลี่ยนเรียนรู้เรื่อง “เทคนิคการจัดการเรียนการสอนโดยเน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง : สอนอย่างไรให้นักศึกษาสามารถสร้างเสริมสุขภาพกายและสุขภาพจิตแก่เด็กก่อนวัยเรียนในชุมชนได้อย่างมีคุณภาพ”
3. ประชุมแลกเปลี่ยนเรียนรู้เรื่อง “บทบาทของอาจารย์ในการบูรณาการการเรียนการสอนกับบริการวิชาการสร้างเสริมสุขภาพกายและสุขภาพจิตให้กับเด็กในชุมชน”
4. ประชุมแลกเปลี่ยนเรียนรู้เรื่อง “บทบาทของนักศึกษาในการ สร้างเสริมสุขภาพกายและสุขภาพจิตเด็กก่อนวัยเรียนในชุมชน”
5. จัดประชุมอาจารย์กลุ่มวิชาการพยาบาลสุขภาพจิตและจิตเวชและอาจารย์กลุ่มวิชาการพยาบาลเด็กและวัยรุ่น และนักศึกษาเพื่อวางแผนการดำเนินงานกิจกรรมบริการวิชาการ
6. ประชุมแบ่งงาน และมอบหมายงานรับผิดชอบให้อาจารย์และนักศึกษา แต่ละคนภายในทีม
7. จัดกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพกายและสุขภาพจิตเด็กวัยก่อนเรียน และจัดกิจกรรมประชุมเสวนา
ระหว่างบิดา มารดา/ผู้ปกครอง ครู และอาจารย์ นักศึกษาวิทยาลัยพยาบาลสุขภาพ เรื่อง “การสร้างเสริมสุขภาพ 3 อ.ในเด็กก่อนวัยเรียน”
8. ประเมินผล และสรุปผลการจัดกิจกรรม
9. จัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ภายในกลุ่ม ด้วยการจัดบรรยากาศของการประชุมให้เป็นการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ร่วมกันแสดงความคิดเห็น มีกระบวนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เป็นการพัฒนาวิธีการในการทำงานร่วมกันให้มีความสุข มีความสามัคคีในการจัดการความรู้
10. จัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างกลุ่มความรู้ของวิทยาลัยฯ และมีการสนทนาแลกเปลี่ยนเรียนรู้เป็นระยะๆ
11. ประชุมถอดบทเรียน เรื่อง “เทคนิคการจัดการเรียนการสอนโดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ : สอนอย่างไรให้นักศึกษาสามารถสร้างเสริมสุขภาพกายและสุขภาพจิตแก่เด็กวัยก่อนเรียนในชุมชนได้อย่างมีคุณภาพ” เพื่อสรุปแนวทางการสร้างเสริมสุขภาพกายและสุขภาพจิตแก่เด็กวัยก่อนเรียนในชุมชน
12. การวางแผนการจัดการความรู้ครั้งต่อไป จะนำไปปรับเพื่อให้ชุมชนสามารถดำเนินการได้ด้วยตนเองให้เป็นชุมชนที่เข้มแข็ง โดยวิทยาลัยพยาบาลและสุขภาพ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา เป็นสถาบันพี่เลี้ยงในการดำเนินการในปีการศึกษาต่อไป |