หน้าแรก / คลังความรูั / องค์ความรู้ปีงบประมาณ 2555 / รูปแบบการบริการวิชาการที่ดี : คณะวิทยาการจัดการ

รูปแบบการบริการวิชาการที่ดี : คณะวิทยาการจัดการ

        
Views: 881
Votes: 0
Comments: 0
Posted: 02 Jul, 2014
by: สาครวรรณศักดิ์ ฝ.
Updated: 02 Jul, 2014
by: สาครวรรณศักดิ์ ฝ.
1. กระบวนการขออนุมัติโครงการ
             คณะวิทยาการจัดการ นำเสนอแผนบริการทางวิชาการต่อผู้มีอำนาจอนุมัติ ตามลำดับขั้นตอน คือ เสนอต่อกรรมการประจำคณะ ต่อจากนั้น เสนอต่อสถาบันวิจัย (งบประมาณแผนดิน) คณะกรรมการบริหารมหาวิทยาลัย และกรรมการสภามหาวิทยาลัย ตามลำดับ
          2. รูปแบบการเขียนข้อเสนอโครงการ
             เมื่อแผนบริการทางวิชาการได้รับการอนุมัติแล้ว ผู้รับผิดชอบดำเนินโครงการ โดยจัดทำข้อเสนอโครงการ และใช้แบบเสนอโครงการบริการทางวิชาการแก่สังคมจะต้องยึดถือตามประกาศมหาวิทยาลัย เรื่อง แนวปฏิบัติการเบิกจ่ายงบดำเนินงาน หมวดค่าตอบแทน ใช้สอย และวัสดุ และรวมถึงรายจ่ายที่กำหนดให้เบิกจ่ายจากหมวดอื่นใดในลักษณะค่าตอบแทนใช้สอย
          3. กระบวนการดำเนินโครงการ
             ในการดำเนินการบริการวิชาการแก่ชุมชน สามารถแบ่งออกเป็น 3 ขั้นตอน ได้แก่ ขั้นเตรียมการ ขั้นดำเนินการ และขั้นหลังดำเนินโครงการ
             3.1 ขั้นเตรียมการ มีการดำเนินการ ดังนี้
                   - ทำคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการและวิทยากร
                   - เชิญวิทยากร
                   - ขอจัดซื้อจัดจ้าง
                   - ขออนุมัติเบิกจ่ายค่าตอบแทน
                   - ขออนุญาตไปราชการ / การจัดเตรียมยานพาหนะ
                   - ขออนุญาตใช้สถานที่
                   - ขออนุญาตพานักศึกษาออกนอกสถานที่
                   - ขอยืมเงินทดรองจ่าย
                  ทั้งนี้ แต่ละโครงการอาจมีการดำเนินการอื่นๆ นอกเหนือจากนี้ ทั้งนี้ตามลักษณะของโครงการ เช่น มีการทำบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MOU) ด้านการบริการทางวิชาการระหว่างมหาวิทยาลัยกับชุมชน ภาครัฐ ภาคเอกชน หรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
 
             3.2 ระหว่างดำเนินโครงการ มีการดำเนินการดังนี้
                   - ประเมินความรู้เบื้อต้นของผู้รับบริการ เพื่อปรับกิจกรรมให้เหมาะสมกับกลุ่มเป้าหมาย (ถ้ามี) เช่น ใช้แบบทดสอบก่อนเรียน เพื่อวัดความรู้ของกลุ่มเป้าหมาย
                   - ปฏิบัติกิจกรรมตามแผนการดำเนินโครงการที่กำหนดไว้
                   - ถอดบทเรียนระหว่างดำเนินกิจกรรม เพื่อเป็นการสรุปความรู้ความเข้าใจของผู้รับการบริการหลังปฏิบัติกิจกรรมของโครงการ
             3.3 หลังดำเนินโครงการ มีการดำเนินการ ดังนี้
                   - รวบรวมผลการประเมินทั้ง 3 ด้าน ได้แก่ จำนวนผู้เข้าร่วม ความรู้ความเข้าใจ ความพึงพอใจ
                   - ทำหนังสือขอบคุณวิทยากร
                   - ส่งหลักฐานการจัดซื้อจัดจ้าง ค่าใช้จ่ายในการดำเนินโครงการ (ภายใน 1 เดือนหลังจากยืมเงินทดรองจ่าย)
                   - การสรุปและถอดบทเรียน ซึ่งเป็นการสรุปความรู้ที่ได้รับหลังจากเสร็จสิ้นการดำเนินโครงการที่กำหนดไว้ เพื่อให้เกิดเป็นองค์ความรู้ขึ้น
          4. การขอรับการสนับสนุนโครงการ
                    จากสถาบันวิจัย (งบประมาณแผนดิน)
          5. การกำหนดกลุ่มเป้าหมาย
    ประชาชนและชุมชนในท้องถิ่นทั้งภาครัฐ/เอกชน/หน่วยงานอิสระ/หน่วยงานวิชาชีพ/หน่วยงานสาธารณะในชุมชนหรือท้องถิ่นตามจุดเน้นของมหาวิทยาลัย (ก.พ.ร./ สกอ./ สมศ./ สงป./ มหาวิทยาลัย)
          6. การกำหนดขอบข่ายเนื้อหา
6.1 การพัฒนาทักษะวิชาชีพของบุคลากรในชุมชนและท้องถิ่น (ตัวชี้วัด ก.พ.ร. ที่ 3.2)
6.2 การบริการวิชาการเพื่อเพิ่มความเข้มแข็งแก่ชุมชน (ตัวชี้วัด ก.พ.ร.ที่3.3) มีขอบเขตการพัฒนา 5 ด้าน
       1. ด้านสุขภาพขั้นมูลฐานของประชาชนในชุมชน
       2. ด้านการรักษาสภาพแวดล้อมของชุมชน
       3. ด้านบทบาทของชุมชนต่อการจัดการศึกษา
       4. ด้านกฎหมายปกครองท้องถิ่น
       5. ด้านการบริหารการเมืองการปกครองท้องถิ่น
มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา มีจุดเน้นเพิ่มเติม ตามแผนยุทธศาสตร์ (ข้อ 7.4.3) ดังนี้
       6. บริการความรู้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
       7. สร้างระบบฐานข้อมูลด้านการบริหารจัดการขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
       8. ตั้งศูนย์ให้คำปรึกษาวิจัยเพื่อเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์ชุมชน
       9. สร้างเครือข่ายความรู้ระหว่างชุมชน
       10. จัดตั้งคลินิกวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเพื่อท้องถิ่น
6.3 การดำเนินกิจกรรมตามโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ (ตัวชี้วัด ก.พ.ร. ที่ 3.5)
       1. โครงการพระราชดำริเกี่ยวกับป่า
       2. โครงการพระราชดำริเกี่ยวกับดิน
       3. โครงการพระราชดำริเกี่ยวกับน้ำ
       4. โครงการพระราชดำริด้านวิศวกรรม
       5. โครงการพระราชดำริตามแนวทฤษฎีใหม่
       6. โครงการพระราชดำริตามแนวเศรษฐกิจพอเพียง
มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา มีจุดเน้นเพิ่มเติมตามแผนยุทธศาสตร์ (ข้อ 7.4.3) ดังนี้
       7. ผลิตนวัตกรรมที่สอดคล้องงานตามพระราชดำริ
       8. พัฒนาบุคลากรในโครงการตามพระราชดำริ
          7. การประเมินผลสำเร็จ
             เมื่อดำเนินโครงการบริการวิชาการแล้วเสร็จ ผู้รับผิดชอบโครงการสรุปผล ประเมินความสำเร็จของการให้บริการตามตัวชี้วัดที่ผู้รับผิดชอบโครงการกำหนดไว้ ซึ่งจะต้องมีการประเมินให้เห็นถึงผลความสำเร็จของการบูรณาการงานบริการวิชาการแก่สังคมกับการเรียนการสอน หรือการวิจัย และจัดทำสรุปผลโครงการในรูปเล่มรายงานเพื่อเป็นหลักฐาน โดยจัดส่งเล่มรายงานผลให้คณะ จำนวน 3 ชุด
          8. การเบิกจ่ายงบประมาณ ส่งหลักฐานการจัดซื้อจัดจ้าง ค่าใช้จ่ายในการดำเนินโครงการ (ภายใน 1 เดือนหลังจากยืมเงินทดรองจ่าย)
Others in this Category
document กระบวนการเทียบโอนผลการเรียน : กองบริการการศึกษา สำนักงานอธิการบดี
document ขั้นตอนการจัดการเรียนการสอนแบบ Problem Based Learning (PBL) หรือการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน : วิทยาลัยพยาบาลและสุขภาพ
document เสริมสร้างความมั่นใจให้นักศึกษาฝึกปฏิบัติการพยาบาลในรายวิชาปฏิบัติการพยาบาลมารดา ทารก และการผดุงครรภ์ หน่วยฝากครรภ์ : วิทยาลัยพยาบาลและสุขภาพ
document การจัดทำคู่มือการซักประวัติและตรวจร่างกาย และการหาค่าความเที่ยง(validity) และการหาค่าความน่าเชื่อถือ(reliability) ของคู่มือการซักประวัติและตรวจร่างกาย : วิทยาลัยพยาบาลและสุขภาพ
document เทคนิคการจัดการเรียนการสอนแบบ Project Base Learning : คณะมนุษย์ศาสตร์และสังคมศาสตร์
document การจัดการเรียนการสอนแบบ Project – Based Learning : บัณฑิตวิทยาลัย
document รูปแบบการใช้วิธีการสร้างเสริมสุขภาพกายและสุขภาพจิตแก่เด็กวัยก่อนเรียนในชุมชนโดยอ าสาสมัครชุมชน : วิทยาลัยพยาบาลและสุขภาพ
document เทคนิคการให้บริการแบบ Smile Service : สถาบันวิจัยและพัฒนา
document วางแผนอย่างไรให้สนองต่องานประกันคุณภาพ : กองนโยบายและแผน สำนักงานอธิการบดี
document กระบวนการรับฟังความต้องการของนักศึกษาและการพัฒนาคุณภาพระบบบริหารจัดการ : กองพัฒนานักศึกษา สำนักงานอธิการบดี
document เทคนิคการให้บริการ One Stop Service : วิทยาลัยนวัตกรรมและการจัดการ
document กลยุทธ์พิชิตใจผู้ใช้บริการ One stop service : กองกลาง สำนักงานอธิการบดี
document ทำอย่างไรให้บุคลากรปฏิบัติตามจรรยาบรรณ : กองบริหารงานบุคคล สำนกังานอธิการบดี
document English for SSRU Staff : ศูนย์ภาษา
document การใช้งานระบบวิจัยออนไลน์ในการเสนอขอรับทุนสนับสนุนงานวิจัย : กองนโยบายและแผน สำนักงานอธิการบดี
document การจัดการเรียนการสอนแบบ Blended learning ในรายวิชาศึกษาทั่วไป : สำนักวิชาการศึกษาทั่วไปฯ
document การวางแผน กลยุทธ์ เพื่อดำเนินโครงการสาขาสู่ความเป็นเลิศของสาขาวิชาการจัดการโรงแรมและการท่องเที่ยว : วิทยาลัยนานาชาติ
document 6 ขั้นตอน การจัดการเรียนรู้แบบ Project-based Learning ให้ประสบความสำเร็จ : คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
document การจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ : คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม
document การสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญโดยใช้รูปแบบ PBL & CL : วิทยาลัยนานาชาติ
document เทคนิคการออกแบบกระบวนการพัฒนาชุดโครงการวิจัยท้องถิ่นเชิงบูรณาการ : บัณฑิตวิทยาลัย
document เทคนิคการเขียนข้อเสนอโครงการวิจัย ชุดศิลปวัฒนธรรมกรุงรัตนโกสินทร์ เพื่อให้ได้รับทุน : คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
document การใช้งานระบบประเมินผลการปฏิบัติราชการ : สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ
document กระบวนการและการจัดทำหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ : สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ
document การพัฒนาแนวคิดห้องสมุดมีชีวิตตามอัตลักษณ์วังสวนสุนันทา : สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ
document เทคนิคการจัดทำข้อมูลสารสนเทศศิลปวัฒนธรรมรัตนโกสินทร์ : สำนักศิลปะและวัฒนธรรม