Email to friend
* Your name:
* Your email:
* Friend's email:
Comment:


การจัดทำคู่มือการซักประวัติและตรวจร่างกาย และการหาค่าความเที่ยง(validity) และการหาค่าความน่าเชื่อถือ(reliability) ของคู่มือการซักประวัติและตรวจร่างกาย : วิทยาลัยพยาบาลและสุขภาพ

1.  วิธีการจัดทำคู่มือมีการทบทวนความรู้อย่างเป็นระบบและมีประสิทธิภาพ : โดยนำไปหาค่าความตรงตามเนื้อหา (validity) พบว่า มีค่าความตรงตามเนื้อหา เท่ากับ 0.6 ซึ่งมีค่าความตรงตามเนื้อหาที่ต่ำมาก อาจารย์ทุกท่านจึงได้มีการปรับเนื้อหาในแบบประเมินภาวะสุขภาพอีกครั้ง โดยในส่วนการรวบรวมข้อมูลจากการซักประวัติ เพิ่มข้อ 2 Initial vital signs และข้อ 5 Physical Exam by doctor และในส่วนของ Physical Exam by nurse student เพิ่มข้อ 3 Respiratory system และข้อ 5 Urinary system ให้มีความชัดเจนมากขึ้น หลังจากนั้นหาค่าความตรงตามเนื้อหา (validity) ซ้ำอีกครั้ง พบว่า ในส่วนการรวบรวมข้อมูลจากการซักประวัติ ได้ค่าความตรงตามเนื้อหา (validity) เท่ากับ .8 และส่วนของ Physical Exam by nurse student ได้ค่าความตรงตามเนื้อหา (validity) เท่ากับ .75 และค่าความตรงตามเนื้อหา (validity) ทั้งฉบับ เท่ากับ .76
          2. วิธีการใช้คู่มือมีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้และประสบการณ์ซึ่งกันและกันในองค์กรเดียวกัน : นำคู่มือการซักประวัติและตรวจร่างกายตามระบบไปทดลองใช้ (Try out) ในหอผู้ป่วยจริง (วันที่ 5 มีนาคม พ.ศ. 2555) กับกลุ่มทดลอง จำนวน 15 คน โดยได้มีการถอดบทเรียนและมีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างคณาจารย์กับนักศึกษาทั้งหมด 15 คนที่นำคู่มือดังกล่าวไปทดลองใช้พบว่า นักศึกษาสามารถเก็บรวบรวมข้อมูลของผู้ป่วยได้สะดวก รวดเร็ว และมีประสิทธิภาพมากขึ้น
          3.  วิธีการใช้คู่มือมีการพัฒนาศักยภาพอาจารย์ในการนิเทศนักศึกษา   : คณาจารย์ในกลุ่มวิชาการพยาบาลผู้ใหญ่และผู้สูงอายุได้มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับคณาจารย์ต่าง กลุ่มวิชาในวิทยาลัยพยาบาลและสุขภาพ ทำให้เห็นข้อควรปรับปรุงและการพัฒนาการเรียนการสอนให้มีประสิทธิภาพต่อไป