|
|||||
1. แนวทางเสริมสร้างความมั่นใจของนักศึกษาในการฝึกปฏิบัติงานมารดา ทารก และการผดุงครรภ์ที่หน่วยฝากครรภ์ ได้แก่
1.1 การเตรียมความพร้อมนักศึกษาก่อนขึ้นฝึกปฏิบัติงานเพราะทำให้นักศึกษาเกิดความเข้าใจมากยิ่งขึ้น โดยมีระยะเวลาในการเตรียมความพร้อมนักศึกษา 3 วัน
1.2 การเตรียมความพร้อมก่อนขึ้นฝึกงานในแต่ละหน่วยย่อยของหน่วยฝากครรภ์ เช่น การซักประวัติสตรีที่มาฝากครรภ์ครั้งแรก การตรวจครรภ์ การฉีดบาดทะยัก ห้องultrasound ห้องตรวจภายใน การสอนสุขศึกษาสตรีตั้งครรภ์
1.3 การทดสอบความรู้ของนักศึกษาก่อนขึ้นฝึกปฏิบัติงาน เช่น การสอบ Pre test การสอบปากเปล่า เพื่อให้นักศึกษามีความรู้และเกิดความตระหนักในการเตรียมความรู้ก่อนขึ้นฝึกปฏิบัติงาน นักศึกษามีความตื่นตัวในการทบทวนความรู้ก่อนขึ้นฝึกปฏิบัติงาน นักศึกษาจะได้รู้ว่าจะต้องเตรียมความรู้อะไรบ้างหรือต้องเพิ่มเติมความรู้ของตนเองในเรื่องใด
1.4 การทบทวนความรู้ที่เกี่ยวข้องกับการขึ้นฝึกปฏิบัติงานหน่วยฝากครรภ์ เช่น การตรวจครรภ์ การซักประวัติสตรีตั้งครรภ์ที่มาฝากครรภ์ครั้งแรก การประเมินภาวะเสี่ยงในระยะตั้งครรภ์ การตรวจultrasound ในสตรีตั้งครรภ์ การแปลผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการ การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่
1.5 มีการสาธิตการซักประวัติ การตรวจครรภ์ การตรวจร่างกายหลายๆครั้ง เพื่อนักศึกษาจะได้ไม่ตื่นเต้นเมื่อขึ้นฝึกปฏิบัติงานหรือตรวจครรภ์จริงๆ
1.6 มีการจำลองสถานการณ์จริงเกี่ยวกับการซักประวัติสตรีตั้งครรภ์ การตรวจครรภ์ เพื่อให้นักศึกษาเห็นภาพจริงและเกิดความเข้าใจยิ่งขึ้น
1.7 นักศึกษาทุกคนฝึกตรวจครรภ์ในห้องฝึกปฏิบัติการพยาบาลกับหุ่นสตรีตั้งครรภ์ เพื่อให้นักศึกษาได้ทดลองปฏิบัติจริงกับหุ่น
1.8 มีสถานการณ์จำลองและให้นักศึกษาทุกคนได้ฝึกบันทึกข้อมูลของสตรีตั้งครรภ์ลงในสมุดบันทึกการฝากครรภ์ (เล่มสีชมพู) จริงๆ หลายๆครั้งเพื่อให้นักศึกษาเกิดความมั่นใจมากขึ้น
1.9 จัดการฝึกงานเรียงตามลำดับจากหน่วยฝากครรภ์ ห้องคลอด และตึกหลังคลอดเพื่อให้นักศึกษาเกิดความเข้าใจตามลำดับขั้นตอนการดูแลสตรีในระยะตั้งครรภ์ คลอด และหลังคลอดมากยิ่งขึ้น
1.10 การแนะนำสถานที่ฝึกงาน มีภาพประกอบการแนะนำชัดเจน และพานักศึกษาไปดูสถานที่จริงเพื่อให้เห็นภาพจริงก่อนที่นักศึกษาจะขึ้นฝึกปฏิบัติงานจริงๆ
1.11 ให้นักศึกษาได้มีส่วนร่วมแสดงความคิดเห็นและเสนอแนะการจัดการเรียนการสอน
1.12 ให้เวลานักศึกษาในการทบทวนหรือฝึกปฏิบัติการพยาบาลจนนักศึกษาเกิดความมั่นใจและให้โอกาสนักศึกษาทุกคนในการฝึกปฏิบัติการพยาบาล เช่น ฝึกตรวจครรภ์ ฝึกตรวจเต้านมและหัวนม ฝึกการซักประวัติ ฝึกฉีดบาดทะยัก เป็นต้น
2. คู่มือในการสร้างความมั่นใจให้นักศึกษาเพื่อเป็นแนวทางให้อาจารย์ในการเตรียมความพร้อมของนักศึกษาก่อนขึ้นฝึกปฏิบัติงาน มีรายละเอียด ดังนี้
2.1 ระยะเวลาในการเตรียม นักศึกษา 3 วัน ได้แก่
2.1.1 วันที่ 1 ดำเนินการดังนี้ 1) แจกคู่มือการฝึกปฏิบัติงาน 2) ปฐมนิเทศภาพรวมของการฝึกปฏิบัติงาน 3) ทบทวนความรู้นักศึกษา 4) ให้นักศึกษา ดู CD เพื่อทวนความรู้ 5) แบ่งนักศึกษาเป็นกลุ่มย่อยเพื่อสาธิตและสาธิตย้อนกลับการตรวจครรภ์ 6) ให้นักศึกษาฝึกตรวจครรภ์กับหุ่นและกับเพื่อนที่แสดงบทบาทสมมุติเป็นสตรีตั้งครรภ์ และ 7) ให้นักศึกษาซักถามข้อสงสัย
2.1.2 วันที่ 2 ดำเนินการ ดังนี้ 1) แบ่งนักศึกษาเป็น ย่อยเพื่อ สาธิตและสาธิตย้อนกลับการตรวจเต้านมและหัวนม สตรีตั้งครรภ์ การแก้ไขหัวนม และท่าอุ้มทารกในการให้นมแม่ 2) ให้นักศึกษาได้ฝึกการตรวจเต้านมและหัวนมสตรีตั้งครรภ์ การแก้ไขหัวนม และท่าอุ้มทารกในการให้นมแม่กับหุ่น 3) นักศึกษาพบอาจารย์นิเทศ แต่ละแหล่งฝึก เพื่อสร้างสัมพันธภาพระหว่างอาจารย์นิเทศกับนักศึกษา และระหว่างนักศึกษาในกลุ่มเดียวกัน 4) อาจารย์และนักศึกษาร่วมกันวางแผนการฝึกปฏิบัติงาน ทำสัญญาตกลงร่วมกันและตกลงกฎระเบียบต่างๆในการฝึกปฏิบัติการพยาบาลร่วมกัน 5) ให้นักศึกษาเลือกหัวหน้ากลุ่มและรองหัวหน้ากลุ่ม และ 6) อธิบายสถานที่ฝึกงาน ผู้บริหาร บุคลากรที่นักศึกษาต้องเข้าไปเกี่ยวข้องและระบบงาน
2.1.3 วันที่ 3 ดำเนินการ ดังนี้ 1) แนะนำสถานที่ฝึกปฏิบัติงานและบุคลากร 2) สาธิตการตรวจครรภ์กับสตรีตั้งครรภ์ ที่โรงพยาบาล 3) พบนักศึกษา ซักถามปัญหาและอุปสรรคต่างๆของนักศึกษา และ 4) ให้กำลังใจนักศึกษา
2.2 สถานที่ในการเตรียมนักศึกษา คือ ห้องเรียบนักศึกษา และห้องฝึกปฏิบัติการพยาบาล
2.3 อุปกรณ์ที่ใช้ในการเตรียมนักศึกษา ได้แก่
2.3.1 คู่มือการฝึกปฏิบัติงานรายวิชาการพยาบาลมารดา ทารก และการผดุงครรภ์
2.3.2 ข้อสอบ Pre-test
2.3.3 หุ่นสตรีตั้งครรภ์ ทารก กระดูกเชิงกราน เต้านม
2.3.4 CD 4 เรื่อง ได้แก่ 1) เรื่องการตรวจครรภ์ 2) เรื่องการตรวจเต้านมและหัวนม 3) เรื่องท่าในการอุ้มทารกเพื่อให้นมแม่ 4) เรื่องการแก้ไขหัวนม
2.3.5 สมุดบันทึกการตรวจครรภ์
2.3.6 สถานการณ์จำลอง 2 เรื่อง ได้แก่ 1) การซักประวัติสตรีตั้งครรภ์ที่มาฝากครรภ์ครั้งแรก 2) การตรวจครรภ์
3. แนวทางการสร้างสัมพันธภาพระหว่างอาจารย์กับนักศึกษาเพื่อให้นักศึกษาเกิดความไว้วางใจ
อาจารย์และกล้าเข้ามาปรึกษาปัญหาต่างๆ ได้แก่ การให้ความเป็นกันเองกับนักศึกษา การรับฟังความคิดเห็นหรือข้อเสนอแนะต่างๆของนักศึกษา การสร้างบรรยากาศในการเรียนการสอนที่ไม่เครียด การให้โอกาสนักศึกษา การเข้าใจธรรมชาติและความแตกต่างของนักศึกษาแต่ละคน
4. แนวทางที่ทำให้นักศึกษาได้พัฒนาตนเอง ได้แก่ การให้นักศึกษาศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง การมอบหมายงานให้นักศึกษาศึกษาค้นคว้า การแบ่งปันความรู้ร่วมกัน การทดสอบความรู้ การแนะนำงานของนักศึกษาที่ขึ้นฝึกปฏิบัติงานแล้วกับเพื่อนที่ยังไม่ได้ขึ้นฝึกปฏิบัติงาน
5 วิธีการสร้างบรรยากาศการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ ได้แก่ กลุ่มต้องไม่ใหญ่มาก ทุกคนมีอิสระในการพูดแสดงความคิดเห็น การรับฟังของทุกคนในกลุ่ม มีความเท่าเทียมกันของสมาชิกทุกคน มีความยืดหยุ่นในการเรียนรู้ร่วมกัน มีการเสริมแรงโดยสร้างบรรยากาศของการชื่นชม |