|
||
ความรู้ที่ต้องการแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นจากการปฏิบัติงาน
อาจารย์ต้องมีความรู้ชัดแจ้ง(ExplicitKnowledge) และความรู้ฝังลึก(Tacit Knowledge) ที่ได้จากการปฏิบัติ เก็บประสบการณ์เหล่านี้ไว้ โดยใช้กระบวนการจัดการความรู้พัฒนาศักยภาพของอาจารย์ในการบริหารจัดการบทบาทหน้าที่ตามภาระกิจทั้ง 3 ด้าน คือ ด้านการเรียนการสอน การวิจัย และการบริการวิชาการให้มีการบูรณาการ ทำให้การบริหารเวลาในการดำเนินการได้ดีขึ้น
อีกทั้งกลุ่มการจัดการความรู้กลุ่มดอกปีบ ได้นำข้อเสนอแนะที่สืบเนื่องจากโครงการการวิจัย และการบริการวิชาการในปี 2555 ของกลุ่มการจัดการความรู้ในการเสริมสร้างสุขภาพประชาชนให้มีภาวะสุขภาพดี และชุมชนมีความเข้มแข็ง พึ่งตนเองได้มาต่อยอด เพื่อดำเนินการให้บรรลุเป้าหมาย วิสัยทัศน์ พันธกิจ และยุทธศาสตร์ของมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทาได้อย่างมีประสิทธิภาพจึงดำเนินการตามประเด็นยุทธศาสตร์พัฒนางานวิจัยและนวัตกรรมเพื่อเป็นฐานในการพัฒนามหาวิทยาลัยชุมชน และประเทศชาติโดยมีองค์ความรู้ที่จำเป็น (K) คือรูปแบบการบูรณาการ“การวิจัย การเรียนการสอนและการบริการวิชาการ”เพื่อพัฒนาสุขภาวะ 3 อ. ลดพุง พิชิตโรค ของประชาชนวัยผู้ใหญ่ตำบลบางนางลี่ อำเภออัมพวา จังหวัดสมุทรสงครามตัวชี้วัด(KPI) และ เป้าหมายที่ 1ของตัวชี้วัดที่ 1 : จำนวนงานวิจัยที่เป็นการบูรณาการการวิจัยการเรียนการสอนและการบริการวิชาการเพื่อพัฒนาสุขภาวะของประชาชนวัยผู้ใหญ่ จำนวน 1 โครงการตัวชี้วัดที่ 2 : ร้อยละของประชาชนวัยผู้ใหญ่ ที่เข้าร่วมโครงการที่มีสุขภาวะดีขึ้นร้อยละ 50
ความรู้ฝังลึก (Tacit Knowledge)
- ดำเนินกิจกรรมแลกเปลี่ยนความรู้ (CoP) หัวข้อเรื่องที่นำมาแลกเปลี่ยนความรู้จำนวน 1 องค์ความรู้ได้แก่ การพัฒนาคุณภาพ การวิจัย การจัดการเรียนการสอน และการบริการวิชาการโดยใช้รูปแบบการบูรณาการการวิจัย การจัดการเรียนการสอน และการบริการวิชาการเพื่อพัฒนาสุขภาวะของประชาชนวัยผู้ใหญ่ ตำบลบางนางลี่ อำเภออัมพวา จังหวัดสมุทรสงคราม
- รวบรวมเป็นเอกสาร แนวทางการจัดการความรู่ สู่รูปแบบบูรณาการ การวิจัย การเรียนการสอน และการบริการวิชาการ เผยแพร่ใน website km ของมหาวิทยาลัยและช่องทางอื่นๆ
ความรู้ชัดแจ้ง (ExplicitKnowledge)
ผลงานวิจัย จำนวน 1 เรื่อง เผยแพร่ในวารสารวิชาการที่มีมาตรฐานทางวิชาการเป็นที่ยอมรับและเผยแพร่ในเผยแพร่ในการประชุมวิชาการ รวมทั้ง website km ของมหาวิทยาลัยและช่องทางอื่นๆ |