องค์ความรู้ที่ได้รับ คือแนวทางในการเลือกแหล่งตีพิมพ์ผลงานวิชาการในระดับนานาชาติที่สอดคล้องกับเกณฑ์ในการจัดอันดับมหาวิทยาลัย โดยคำนึงถึงศาสตร์ที่มีการเรียนการสอนอยู่ในคณะ ทั้งนี้จะต้องพิจารณาถึงค่า h – index โดยดูว่าค่า h – index ของวารสารใดมีค่าสูงก็เท่ากับว่าวารสารนั้นมีความเข้มแข็งทางวิชาการสูง และโอกาสที่จะได้รับตีพิมพ์ก็อาจจะลดลงแต่ในทางกลับกันถ้ามีค่า h – index น้อย ความเข้มแข็งทางวิชาการอาจลดลงแต่ไม่ได้หมายความว่า โอกาสการตีพิมพ์จะลดลงไปแต่กลับเพิ่มขึ้น ทั้งนี้ต้องพิจารณาขอบข่าย (Scope) และวัตถุประสงค์ของวารสารนั้นๆที่ตรงกับบทความที่จะตีพิมพ์
การเขียนต้นฉบับ ต้องคำนึงถึงความถูกต้องตามรูปแบบที่วารสารนั้นๆกำหนด เช่น ชื่อเรื่อง , ผู้เขียนบทความ, บทคัดย่อ, บทนำหรือคำนำ , ทฤษฎีหรือวิชาการเบื้องต้น , การประยุกต์หรือประโยชน์ใหม่ๆ ที่ค้นพบหรือสื่อการนำเสนอ,บทวิจารณ์ , สรุป , และเอกสารอ้างอิง ซึ่งการเขียนบทความวิจัยและวิชาการด้านมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ จะมีความยากมากกว่าการเขียนบทความทางวิทยาศาสตร์โดยเฉพาะประเด็นของการอ้างอิงทฤษฎี และอธิบายผลกระทบและสิ่งที่เกิดขึ้นตามทฤษฎี ในบางครั้งก็ไม่สามารถที่จะจับต้องได้ วัดได้ หรือคำนวณได้ที่เป็นรูปธรรม โดยเนื้อหาจะมีความสอดคล้องและต่อเนื่องกัน
ดังนั้น การตีพิมพ์บทความวิชาการและวิจัยจึงต้องพิจารณาทั้งเนื้อหา ค่า h – index และรูปแบบของบทความที่วารสารนั้นๆกำหนด