ความเป็นมาของชุมชนนักปฏิบัติ สถาบันวิจัยและพัฒนา (กลุ่ม Smile Ranger)

ด้วยพันธกิจของสถาบันวิจัยและพัฒนา ในการส่งเสริม สนับสนุน บริหารจัดการด้านงานวิจัย และงานบริการวิชาการของมหาวิทยาลัย ซึ่งภารกิจดังกล่าว จะต้องพบปะ ติดต่อประสานงานกับผู้บริหารคณาจารย์ นักวิจัย บุคลากร และบุคคลต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง ทั้งภายในและภายนอกมหาวิทยาลัย อยู่ตลอดเวลา การให้บริการแก่ผู้รับบริการและผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทั้งหลายจึงถือเป็นสิ่งสำคัญที่บุคลากรในสถาบันวิจัยและพัฒนาจะต้องตระหนักและถือปฏิบัติเป็นอย่างดียิ่ง กอปรกับนโยบายของมหาวิทยาลัยที่ให้ทุกหน่วยงานต้องดำเนินการจัดการความรู้ให้สามารถสร้างองค์ความรู้และนวัตกรรมที่สามารถทำให้เป้าประสงค์ของแต่ละยุทธศาสตร์สำเร็จ รวมทั้งในปีงบประมาณ 2555 ที่ผ่านมานั้น สถาบันวิจัยและพัฒนาได้ดำเนินการจัดตั้งกลุ่มความรู้ Smile ranger ขบวนยิ้มแฉ่ง โดยมีหัวข้อการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในเรื่องเทคนิคการให้บริการ Smile Service และได้สกัดเป็นองค์ความรู้  
สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา จะต้องเลือกองค์ความรู้ที่จำเป็นต่อการปฏิบัติงานมาทำแผนการจัดการความรู้ และสนับสนุนให้บุคลากรในองค์กรร่วมดำเนินการตามแผนการจัดการความรู้ที่กำหนดไว้ และเพื่อตอบเกณฑ์การประกันคุณภาพการศึกษาภายใน ให้บรรลุตามเป้าหมายของตัวชี้วัด หน่วยงานจึงเล็งเห็นถึงความเชื่อมโยงในเรื่องดังกล่าว ที่จะให้บุคลากรทุกระดับเข้ามามีส่วนร่วมในการเป็นสมาชิกที่จะได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้และเผยแพร่เทคนิควิธีการในการให้บริการที่ดีแก่ผู้รับบริการ รวมทั้งได้ดำเนินงานตามนโยบายของมหาวิทยาลัยในการดำเนินกิจกรรมการจัดการความรู้ จึงได้หารือร่วมกันในการตั้งชุมชนนักปฏิบัติและกำหนดบทบาทหน้าที่ของสมาชิก ซึ่งสมาชิกในกลุ่มร่วมกันกำหนดกลุ่มความรู้ Smile ranger ขบวนการยิ้มแฉ่ง ต่อจากปีงบประมาณ 2555โดยมีหัวข้อการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในเรื่องเทคนิคการให้บริการ Smile Service