1. การบ่งชี้ความรู้
1.1 รายละเอียดผลการดำเนินงาน (อธิบายวิธีการในการบ่งชี้ความรู้ โดยแสดงรายละเอียดว่าเราต้องการความรู้เรื่องอะไรที่จำเป็นต่อการบรรลุเป้าหมาย วิสัยทัศน์ พันธกิจ ยุทธศาสตร์)
การบ่งชี้ความรู้
เป้าหมาย
- ต้องการรวบรวมปัญหาที่เกิดจากการปฏิบัติงานและสามารถนำมาบูรณาการการเรียนการสอน ให้สอดคล้องกับการเข้าสู่ประชาคมอาเซียนตามประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 3 คือ ยกระดับมาตรฐานการจัดการเรียนการสอนและคุณภาพบัณฑิตตามอัตลักษณ์ของสวนสุนันทา
- นำข้อมูลปัญหาที่รวบรวมได้มาตั้งเป็นหัวข้อในการจัดการความรู้ 1 เรื่อง
- ต้องการรวบรวมข้อมูลที่บันทึกในคู่มือฝึกปฏิบัติการพยาบาลอนามัยชุมชน เพื่อนำมาบูรณาการให้สอดคล้องกับการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน
ตัวชี้วัด
- ได้ข้อมูลปัญหาที่ต้องนำมาทบทวนเพื่อเป็นหัวข้อจัดการความรู้ 1 เรื่อง
- ได้หัวข้อในการจัดการความรู้ 1 เรื่อง
-ได้ข้อมูลสำคัญที่ต้องบันทึกในคู่มือฝึกปฏิบัติการพยาบาลอนามัยชุมชนเพื่อนำมาบูรณาการให้สอดคล้องกับการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน
คำอธิบายผลการดำเนินงาน
- จัดตั้งกลุ่มความรู้ Community of Practice(CoP)ครูสีฟ้า
- กำหนดบทบาทสมาชิกในกลุ่มตามความเหมาะสม ดังนี้
· คุณเอื้อ ทำหน้าที่จัดการระบบของการจัดการความรู้ขององค์กร (ดำรงตำแหน่งโดยผู้อำนวยการวิทยาลัยพยาบาลและสุขภาพ)
· คุณอำนวย ทำหน้าที่อำนวยความสะดวกในการจัดการความรู้
· คุณประสานทำหน้าที่ติดต่อประสานงานเครือข่ายจัดการความรู้ภายในหน่วยงานหรือระหว่างหน่วยงานให้คนได้มีโอกาสมาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน
· คุณกิจทำหน้าที่เล่าเรื่องประสบการณ์ความสำเร็จในการทำงานของตนเอง (Tacit Knowledge) ให้สมาชิกในกลุ่มฟัง เพื่อให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างกันและต้องช่วยติดตามตีความ หรือสกัดขุมความรู้จากประสบการณ์ในเรื่องเล่าเพื่อให้คุณลิขิตจดบันทึกบน Flip Chart ซึ่งสมาชิกทุกคนในกลุ่มต้องทำหน้าที่คุณกิจเช่นเดียวกัน
· คุณวิศาสตร์ ทำหน้าที่ออกแบบและจัดดำเนินการระบบไอที ให้เหมาะสมกับการจัดการความรู้
· คุณลิขิตทำหน้าที่เลขานุการกลุ่ม มีหน้าที่จดความรู้ต่างๆ ที่ได้จากการเล่าเรื่องของคุณกิจ
- สุนทรียสนทนา(Dialogue) และ Story Telling ภายในกลุ่ม เพื่อสกัดความรู้ฝังลึก (Tacit Knowledge) ที่อยู่ภายในตัวสมาชิกแต่ละคน เมื่อเรียบเรียงออกมาได้เป็นความรู้เชิงประจักษ์ (Explicit Knowledge) และนำมาจัดตั้งหัวข้อการจัดการความรู้ เรื่อง เทคนิคการจัดการเรียนการสอนเพื่อพัฒนาสมรรถนะของนักศึกษาพยาบาลด้านการใช้ภาษาอังกฤษในการฝึกปฏิบัติการ พยาบาลอนามัยชุมชนเพื่อรองรับประชาคมอาเซียน
1.2 เอกสารหลักฐานอ้างอิง
- รายงานการประชุมกลุ่มความรู้ ครั้งที่ 1
- ภาพการประชุมกลุ่มความรู้
2. การสร้างและแสวงหาความรู้
1.1 รายละเอียดการดำเนินงาน (อธิบายวิธีที่ใช้ในการสร้างและแสวงหาความรู้ให้ได้ตามที่กำหนดในขั้นตอนการบ่งชี้ความรู้ โดยระบุว่าความรู้อยู่ที่ใคร อยู่ในรูปแบบอะไร และจะนำมาเก็บรวบรวมได้อย่างไร)
เป้าหมาย
- ได้ร่างข้อมูลสำคัญที่ต้องบันทึกลงในคู่มือฝึกปฏิบัติการพยาบาลอนามัยชุมชน
ตัวชี้วัด
- ได้ข้อมูลสำคัญที่ต้องบันทึกลงในคู่มือฝึกปฏิบัติการพยาบาลอนามัยชุมชน ซึ่งประกอบด้วย
· Course syllabus
· Rotation plan
· Requirement
· Clinical teaching
· Evaluation
คำอธิบายผลการดำเนินงาน
- สุนทรียสนทนา (Dialogue) และ Story Telling ภายในกลุ่ม เพื่อสกัดความรู้ฝังลึก (Tacit Knowledge) ที่อยู่ภายในตัวสมาชิกแต่ละคน ว่าข้อมูลสำคัญใดบ้างที่ถูกบันทึกไว้ในคู่มือฝึกปฏิบัติการพยาบาลอนามัยชุมชน และควรเลือกข้อมูลส่วนใดมาบูรณาการเพื่อเตรียมพร้อมการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน
- สุนทรียสนทนา (Dialogue) และ Story Telling ภายในกลุ่ม เพื่อสกัดความรู้ฝังลึก (Tacit Knowledge) ที่อยู่ภายในตัวสมาชิกแต่ละคน ว่าจากประสบการณ์การฝึกปฏิบัติการพยาบาลอนามัยชุมชนที่ผ่านมา สมาชิกแต่ละคน ประสบกับปัญหาในการสื่อสารกับชาวต่างชาติที่อาศัยอยู่ในชุมชนชาติใดมากที่สุด เมื่อเรียบเรียงออกมาได้เป็นความรู้เชิงประจักษ์ (Explicit Knowledge) แล้ว จึงนำมาสร้างเป็นร่างคู่มือซักประวัติภาษาอาเซียน ได้แก่
· คู่มือซักประวัติภาษาอังกฤษ
· คู่มือซักประวัติภาษาพม่า
· คู่มือซักประวัติภาษากัมพูชา
1.2 เอกสารหลักฐานอ้างอิง
- ร่างข้อมูลสำคัญที่ต้องบันทึกลงในคู่มือฝึกปฏิบัติการพยาบาลอนามัยชุมชน
- รายงานการประชุมกลุ่มความรู้ ครั้งที่ 1,2
- ร่างคู่มือฝึกปฏิบัติการพยาบาลอนามัยชุมชน
- ภาพการประชุมกลุ่มความรู้
3. การจัดความรู้ให้เป็นระบบ
1.1 รายละเอียดการดำเนินงาน (อธิบายวิธีการในการจัดระบบความรู้ที่ได้จากการสร้างและแสวงหา โดยระบุถึงความรู้ที่ได้มาจะเก็บอย่างไร และจะแบ่งประเภทหัวข้อของความรู้อย่างไร)
เป้าหมาย
- ได้ร่างคู่มือฝึกปฏิบัติการพยาบาลอนามัยชุมชนฉบับเตรียมความพร้อมเข้าสู่ประชาคมอาเซียน ประกอบด้วย
· ร่างคู่มือซักประวัติภาษาอังกฤษ1 เล่ม
· ร่างคู่มือซักประวัติภาษาพม่า1 เล่ม
· ร่างคู่มือซักประวัติภาษากัมพูชา1 เล่ม
ตัวชี้วัด
- ได้ข้อมูลสำคัญที่ต้องบันทึกลงในคู่มือซักประวัติภาษาอาเซียนซึ่งประกอบด้วย
· การถามประวัติเจ็บป่วยโดยทั่วไป (MEDICAL & FAMILY HISTORY)
· การถามประวัติด้านการผ่าตัด(SURGERY)
· การถามเกี่ยวกับอุปนิสัยโดยทั่วไป(SOCIAL HABITS)
· การถามเกี่ยวกับสารเสพติด (ILLEGAL DRUGS)
· การถามเกี่ยวกับประวัติครอบครัว(FAMILY HISTORY)
· ศัพท์ที่ควรทราบเกี่ยวกับเครือญาติ
· ประวัติเกี่ยวกับการใช้ยารักษาโรค (MEDICATION HISTORY)
· การตรวจร่างกายโดยทั่วไป (PHYSICAL EXAMINATION AND GENERAL COMMANDS)
· ประวัติเกี่ยวกับการเจ็บป่วย (SYMPTOM OF THE PATIENT)
· ประวัติเกี่ยวกับอาการปวด (PAIN)
คำอธิบายผลการดำเนินงาน
- สุนทรียสนทนา (Dialogue) และ Story Telling ภายในกลุ่ม เพื่อสกัดความรู้ฝังลึก (Tacit Knowledge) ที่อยู่ภายในตัวสมาชิกถึงข้อมูลสำคัญที่นักศึกษาจำเป็นต้องทราบเพื่อประเมินภาวะสุขภาพของผู้รับบริการในชุมชน เมื่อเรียบเรียงออกมาได้เป็นความรู้เชิงประจักษ์ (Explicit Knowledge)แล้ว จึงนำมาสร้างเป็นร่างข้อมูลสำคัญที่ต้องบันทึกลงในคู่มือซักประวัติภาษาอาเซียน
- สุนทรียสนทนา (Dialogue)ภายในกลุ่มเพื่อกำหนดหัวข้อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในการดำเนินงานครั้งนี้ ดังนี้
· คู่มือซักประวัติภาษาอาเซียน
· บทบาทอาจารย์และนักศึกษาในภาคปฏิบัติ
· บทบาทอาจารย์และนักศึกษาในเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้
· เวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้
· การถอดบทเรียน
· เทคนิคการสร้างคู่มือและการนำไปใช้
1.2 เอกสารหลักฐานอ้างอิง
- รายงานการประชุมกลุ่มความรู้ ครั้งที่ 2, 3, 4
- ร่างคู่มือซักประวัติภาษาอาเซียน ประกอบด้วย
· ร่างคู่มือซักประวัติภาษาอังกฤษ1 เล่ม
· ร่างคู่มือซักประวัติภาษาพม่า1 เล่ม
· ร่างคู่มือซักประวัติภาษากัมพูชา1 เล่ม
- ภาพการประชุมกลุ่มความรู้
4. การประมวลและกลั่นกรองความรู้
1.1 รายละเอียดการดำเนินงาน (อธิบายวิธีการในการประมวลและกลั่นกรองความรู้ที่ได้ โดยระบุถึงรูปแบบของความรู้ ที่จะทำให้เข้าใจได้ง่ายและสมบูรณ์)
เป้าหมาย
- ได้คู่มือฝึกปฏิบัติการพยาบาลอนามัยชุมชนฉบับเตรียมรองรับประชาคมอาเซียนฉบับสมบูรณ์ประกอบด้วย
· คู่มือซักประวัติภาษาอังกฤษ1 เล่ม
· คู่มือซักประวัติภาษาพม่า1 เล่ม
· คู่มือซักประวัติภาษากัมพูชา1 เล่ม
ตัวชี้วัด
- คู่มือฝึกปฏิบัติการพยาบาลอนามัยชุมชนฉบับเตรียมรองรับประชาคมอาเซียนที่ผ่านการตรวจสอบจากผู้เชี่ยวชาญด้านภาษา (Peers Review)ประกอบด้วย
· คู่มือซักประวัติภาษาอังกฤษ1 เล่ม
· คู่มือซักประวัติภาษาพม่า1 เล่ม
· คู่มือซักประวัติภาษากัมพูชา1 เล่ม
- การนำคู่มือไปทดลองใช้ประกอบการฝึกปฏิบัติการพยาบาลอนามัยชุมชนโดยนักศึกษาและอาจารย์นิเทศ
-รายงานการถอดบทเรียนAfter Action Review (AAR)หลังใช้คู่มือซักประวัติภาษาอาเซียน
คำอธิบายผลการดำเนินงาน
- นำร่างคู่มือเสนอต่อผู้เชี่ยวชาญด้านภาษา (Peers Review) ซึ่งได้แก่
· ร่างคู่มือซักประวัติภาษาอังกฤษ1 เล่ม
· ร่างคู่มือซักประวัติภาษาพม่า1 เล่ม
· ร่างคู่มือซักประวัติภาษากัมพูชา1 เล่ม
- นำร่างคู่มือที่ผ่านการตรวจสอบโดยผู้เชี่ยวชาญด้านภาษา (Peers Review) ไปทดลองใช้จริงในการฝึกปฏิบัติการพยาบาลอนามัยชุมชน
- ถอดบทเรียน After Action Review (AAR)หลังทดลองใช้ร่างคู่มือ
- นำผลการทดลองใช้และผลการถอดบทเรียนมาเป็นแนวทางปรับปรุงแก้ไขร่างคู่มือ และนำเสนอต่อผู้เชี่ยวชาญด้านภาษา (Peers Review) เพื่อปรับปรุงให้คู่มือมีความสมบูรณ์พร้อมแก่การนำไปใช้จริงมากที่สุด
1.2 เอกสารหลักฐานอ้างอิง
- คู่มือฝึกปฏิบัติการพยาบาลอนามัยชุมชนฉบับเตรียมรองรับประชาคมอาเซียนฉบับสมบูรณ์ประกอบด้วย
· คู่มือซักประวัติภาษาอังกฤษ1 เล่ม
· คู่มือซักประวัติภาษาพม่า1 เล่ม
· คู่มือซักประวัติภาษากัมพูชา1 เล่ม
- รายงานการถอดบทเรียนหลังใช้คู่มือซักประวัติภาษาอาเซียน
- กำหนดการเตรียมความพร้อมฝึกปฏิบัติการพยาบาลอนามัยชุมชน วันที่ 14, 15 พฤษภาคม 2556
- รายงานการประชุมกลุ่มความรู้ ครั้งที่ 4, 5
5. การเข้าถึงความรู้
1.1 รายละเอียดการดำเนินงาน (อธิบายวิธีการในการทำให้ความรู้ใช้งานได้ง่ายและเข้าถึงได้ง่าย)
เป้าหมาย
- จัดทำสรุปรายงานการจัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้หลังฝึกปฏิบัติงาน
- จัดทำรายงานการถอดบทเรียนระหว่างและหลังการดำเนินการจัดการความรู้
- จัดทำรายงานผลการดำเนินงานความรู้กลุ่มครูสีฟ้า
- จัดทำคู่มือซักประวัติภาษาอาเซียน ได้แก่
· คู่มือซักประวัติภาษาอังกฤษ1 เล่ม
· คู่มือซักประวัติภาษาพม่า1 เล่ม
· คู่มือซักประวัติภาษากัมพูชา1 เล่ม
- จัดทำเวทีย่อยเพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในหน่วยงาน (Forum)
ตัวชี้วัด
- การจัดทำสรุปรายงานเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้หลังฝึกปฏิบัติงาน (Knowledge sharing)
- การจัดเวทีย่อยแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในหน่วยงาน (Forum)
-การจัดบอร์ดเกี่ยวกับกระบวนการดำเนินงานของกลุ่มจัดการความรู้ครูสีฟ้า
-การเผยแพร่ข้อมูลและผลการดำเนินงานของกลุ่มความรู้ทาง www.km.ssru.ac.th
-แฟ้มการดำเนินงานกลุ่มความรู้ครูสีฟ้า
คำอธิบายผลการดำเนินงาน
- จัดทำคู่มือซักประวัติภาษาอาเซียนและแจกจ่ายให้อาจารย์นิเทศและนักศึกษานำไปใช้ในการฝึกปฏิบัติงานอนามัยชุมชน ได้แก่
· คู่มือซักประวัติภาษาอังกฤษ1 เล่ม
· คู่มือซักประวัติภาษาพม่า1 เล่ม
· คู่มือซักประวัติภาษากัมพูชา1 เล่ม
- จัดทำรายงานผลการดำเนินงานความรู้กลุ่มครูสีฟ้าเพื่อให้สมาชิกในกลุ่มและผู้สนใจได้ศึกษาขั้นตอนการดำเนินงาน
- เผยแพร่ผลการดำเนินงานของกลุ่มความรู้ผ่านทาง www.km.ssru.ac.th กลุ่มความรู้ครูสีฟ้าเพื่อให้สมาชิกในกลุ่มและผู้สนใจได้ศึกษาขั้นตอนการดำเนินงานผ่านทางเว็บไซด์
- จัดทำสรุปรายงานเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้หลังการฝึกปฏิบัติ (Knowledge Sharing)จำนวน 2 ครั้ง วันที่ 10 กรกฎาคม และ 18 กันยายน 2556 8.00-12.30 น.ณ ลานเอนกประสงค์ชั้น 1 ตึก 37
- เข้าร่วมการจัดเวทีย่อยแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในหน่วยงาน (Forum)ของวิทยาลัยพยาบาลและสุขภาพ เมื่อวันที่ 9 สิงหาคม 25569.00-12.00 น. ณ ห้อง Self Studyชั้น 3 เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ขั้นตอนการดำเนินงานระหว่างกลุ่มความรู้
1.2 เอกสารหลักฐานอ้างอิง
- คู่มือซักประวัติภาษาอาเซียนได้แก่
· คู่มือซักประวัติภาษาอังกฤษ1 เล่ม
· คู่มือซักประวัติภาษาพม่า1 เล่ม
· คู่มือซักประวัติภาษากัมพูชา1 เล่ม
- สรุปรายงานการจัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้หลังการฝึกปฏิบัติ จำนวน 2 ครั้ง วันที่ 10 กรกฎาคม และ 18 กันยายน 2556 8.00-12.30 น.
- รายงานการถอดบทเรียนหลังจัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้หลังการฝึกปฏิบัติAfter Action Review (AAR)
- ภาพกิจกรรมการจัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้หลังการฝึกปฏิบัติ การถอดบทเรียนหลังจัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้หลังการฝึกปฏิบัติ การเข้าร่วมการจัดเวทีย่อยแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในหน่วยงาน
- แฟ้มการดำเนินงานกลุ่มความรู้ครูสีฟ้า
- รายงานการประชุมกลุ่มความรู้ ครั้งที่ 6, 7
6. การแบ่งปันแลกเปลี่ยนความรู้
1.1 รายละเอียดการดำเนินงาน (อธิบายวิธีการในการถ่ายทอดความรู้ทั้งที่เป็นความรู้ชัดแจ้งและความรู้ฝังลึก)
เป้าหมาย
- จัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้หลังฝึกปฏิบัติงาน (Knowledge Sharing)
- จัดทำรายงานการถอดบทเรียนระหว่างและหลังการดำเนินการจัดการความรู้ (After Action Reviews)
- จัดทำรายงานผลการดำเนินงานความรู้กลุ่มครูสีฟ้า
- แจกจ่ายคู่มือซักประวัติภาษาอาเซียนเพื่อให้อาจารย์นิเทศและนักศึกษานำไปใช้ประกอบการฝึกปฏิบัติการพยาบาลอนามัยชุมชน ได้แก่
· คู่มือซักประวัติภาษาอังกฤษ1 เล่ม
· คู่มือซักประวัติภาษาพม่า1 เล่ม
· คู่มือซักประวัติภาษากัมพูชา1 เล่ม
- จัดทำเวทีย่อยเพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในหน่วยงาน (Forum)
ตัวชี้วัด
- การจัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้หลังฝึกปฏิบัติงาน (Knowledge sharing)
- รายงานการถอดบทเรียนระหว่างและหลังการดำเนินการจัดการความรู้ (After Action Reviews)
- สรุปรายงานการดำเนินงานกลุ่มความรู้ครูสีฟ้า
- การจัดเวทีย่อยแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในหน่วยงาน (Forum)
- การแจกจ่ายคู่มือซักประวัติภาษาอาเซียนฉบับสมบูรณ์แก่อาจารย์นิเทศและนักศึกษานำไปใช้ประกอบการฝึกปฏิบัติการพยาบาลอนามัยชุมชน ซึ่งประกอบด้วย
· คู่มือซักประวัติภาษาอังกฤษ1 เล่ม
· คู่มือซักประวัติภาษาพม่า1 เล่ม
· คู่มือซักประวัติภาษากัมพูชา1 เล่ม
-การจัดบอร์ดเกี่ยวกับกระบวนการดำเนินงานของกลุ่มจัดการความรู้ครูสีฟ้า
-การเผยแพร่ข้อมูลและผลการดำเนินงานของกลุ่มความรู้ทาง www.km.ssru.ac.th
คำอธิบายผลการดำเนินงาน
- จัดทำคู่มือซักประวัติภาษาอาเซียน(Explicit Knowledge)และแจกจ่ายให้อาจารย์นิเทศและนักศึกษานำไปใช้ในการฝึกปฏิบัติงานอนามัยชุมชน ได้แก่
· คู่มือซักประวัติภาษาอังกฤษ1 เล่ม
· คู่มือซักประวัติภาษาพม่า1 เล่ม
· คู่มือซักประวัติภาษากัมพูชา1 เล่ม
- จัดทำรายงานผลการดำเนินงานความรู้กลุ่มครูสีฟ้า(Explicit Knowledge) เพื่อให้สมาชิกในกลุ่มและผู้สนใจได้ศึกษาขั้นตอนการดำเนินงาน
- เผยแพร่ผลการดำเนินงานของกลุ่มความรู้ผ่านทาง www.km.ssru.ac.th กลุ่มความรู้ครูสีฟ้าเพื่อให้สมาชิกในกลุ่มและผู้สนใจได้ศึกษาขั้นตอนการดำเนินงานผ่านทางเว็บไซด์
- จัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้หลังการฝึกปฏิบัติ (Knowledge Sharing)เพื่อสกัด Tacit Knowledge จากการฝึกปฏิบัติงาน ออกมาเป็น Explicit Knowledge ที่สามารถแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างกลุ่มได้ จำนวน 2 ครั้ง วันที่ 10 กรกฎาคม และ 18 กันยายน 2556 8.00-12.30 น.ณ ลานเอนกประสงค์ชั้น 1 ตึก 37
- เข้าร่วมการจัดเวทีย่อยแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในหน่วยงาน (Forum)ของวิทยาลัยพยาบาลและสุขภาพ เมื่อวันที่ 9 สิงหาคม 25569.00-12.00 น. ณ ห้อง Self Studyชั้น 3
1.2 เอกสารหลักฐานอ้างอิง
- กำหนดการจัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้หลังการฝึกปฏิบัติ จำนวน 2 ครั้ง วันที่ 10 กรกฎาคม และ 18 กันยายน 2556 8.00-12.30 น.
- รายงานการถอดบทเรียนหลังจัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้หลังการฝึกปฏิบัติAfter Action Review (AAR)
- ภาพกิจกรรมการจัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้หลังการฝึกปฏิบัติ การถอดบทเรียนหลังจัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้หลังการฝึกปฏิบัติและการเข้าร่วมการจัดเวทีย่อยแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในหน่วยงาน
- รายงานการประชุมกลุ่มความรู้ ครั้งที่ 7, 8
7. การเรียนรู้
1.1 รายละเอียดการดำเนินงาน (อธิบายวิธีการในการนำความรู้ไปใช้ประโยชน์ และทำให้เกิดการแก้ปัญหาหรือพัฒนาหน่วยงานอย่างไร)
เป้าหมาย
- จัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้หลังฝึกปฏิบัติงาน (Knowledge Sharing)และเปิดโอกาสให้ผู้ที่สนใจเข้าชมเพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ด้านสุขภาพ และด้านการบูรณาการความรู้ เพื่อนำรูปแบบการดำเนินงานไปประยุกต์ใช้ในหน่วยงานอื่นๆ
- จัดทำรายงานการถอดบทเรียนระหว่างและหลังการดำเนินการจัดการความรู้ (After Action Reviews)เพื่อให้สมาชิกและผู้สนใจสามารถศึกษาขั้นตอนการดำเนินงาน เพื่อเป็นแนวทางในการดำเนินงานของหน่วยงานอื่นๆ
- จัดทำรายงานผลการดำเนินงานความรู้กลุ่มครูสีฟ้าเพื่อให้สมาชิกและผู้สนใจสามารถศึกษาขั้นตอนการดำเนินงาน และเป็นแนวทางในการดำเนินงานของหน่วยงานอื่นๆ
- แจกจ่ายคู่มือซักประวัติภาษาอาเซียนเพื่อให้อาจารย์นิเทศและนักศึกษานำไปใช้ประกอบการฝึกปฏิบัติการพยาบาลอนามัยชุมชน เพื่อแก้ไขปัญหาการดูแลสุขภาพของชาวต่างชาติที่มีอุปสรรคจากการสื่อสารด้านภาษาได้แก่
· คู่มือซักประวัติภาษาอังกฤษ1 เล่ม
· คู่มือซักประวัติภาษาพม่า1 เล่ม
· คู่มือซักประวัติภาษากัมพูชา1 เล่ม
- จัดทำเวทีย่อยเพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในหน่วยงาน (Forum)เพื่อให้กลุ่มความรู้และสมาชิกทุกท่านมีความรู้ความเข้าใจในการดำเนินงานการจัดการความรู้อย่างทั่วถึง
ตัวชี้วัด
- การจัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้หลังฝึกปฏิบัติงาน (Knowledge sharing)
- รายงานการถอดบทเรียนระหว่างและหลังการดำเนินการจัดการความรู้ (After Action Reviews)
- สรุปรายงานการดำเนินงานกลุ่มความรู้ครูสีฟ้า
- การจัดเวทีย่อยแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในหน่วยงาน (Forum)
- การแจกจ่ายคู่มือซักประวัติภาษาอาเซียนฉบับสมบูรณ์แก่อาจารย์นิเทศและนักศึกษานำไปใช้ประกอบการฝึกปฏิบัติการพยาบาลอนามัยชุมชน ซึ่งประกอบด้วย
· คู่มือซักประวัติภาษาอังกฤษ1 เล่ม
· คู่มือซักประวัติภาษาพม่า1 เล่ม
· คู่มือซักประวัติภาษากัมพูชา1 เล่ม
-การจัดบอร์ดเกี่ยวกับกระบวนการดำเนินงานของกลุ่มจัดการความรู้ครูสีฟ้า
-การเผยแพร่ข้อมูลและผลการดำเนินงานของกลุ่มความรู้ทาง www.km.ssru.ac.th
คำอธิบายผลการดำเนินงาน
- จัดทำคู่มือซักประวัติภาษาอาเซียน (Explicit Knowledge) และแจกจ่ายให้อาจารย์นิเทศและนักศึกษานำไปใช้ในการฝึกปฏิบัติงานอนามัยชุมชน ได้แก่
· คู่มือซักประวัติภาษาอังกฤษ1 เล่ม
· คู่มือซักประวัติภาษาพม่า1 เล่ม
· คู่มือซักประวัติภาษากัมพูชา1 เล่ม
- จัดทำรายงานผลการดำเนินงานความรู้กลุ่มครูสีฟ้า(Explicit Knowledge) เพื่อให้สมาชิกในกลุ่มและผู้สนใจได้ศึกษาขั้นตอนการดำเนินงานเพื่อเป็นแบบอย่างในการจัดการความรู้ในหน่วยงานอื่นๆ
- เผยแพร่ผลการดำเนินงานของกลุ่มความรู้ผ่านทาง www.km.ssru.ac.th กลุ่มความรู้ครูสีฟ้าเพื่อให้สมาชิกในกลุ่มและผู้สนใจได้ศึกษาขั้นตอนการดำเนินงานผ่านทางเว็บไซด์
- จัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้หลังการฝึกปฏิบัติ (Knowledge Sharing) เพื่อสกัด Tacit Knowledge จากการฝึกปฏิบัติงาน ออกมาเป็น Explicit Knowledge ที่สามารถแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างกลุ่มได้ จำนวน 2 ครั้ง วันที่ 10 กรกฎาคม และ 18 กันยายน 2556 8.00-12.30 น.ณ ลานเอนกประสงค์ชั้น 1 ตึก 37และเปิดโอกาสให้ผู้ที่สนใจสามารถเข้าชม เพื่อศึกษารูปแบบการดำเนินงานเพื่อเป็นแบบอย่างในการปฏิบัติในหน่วยงานอื่นๆ
- เข้าร่วมการจัดเวทีย่อยแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในหน่วยงาน (Forum)ของวิทยาลัยพยาบาลและสุขภาพ เมื่อวันที่ 9 สิงหาคม 25569.00-12.00 น. ณ ห้อง Self Studyชั้น 3เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ขั้นตอนการดำเนินงานของแต่ละกลุ่ม และนำข้อมูลที่ได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้ ไปแก้ไขปรับปรุงการดำเนินงานในหน่วยงานอื่นๆ
- ตรวจสอบความสมบูรณ์ของเล่มรายงานของนักศึกษาหลังนำคู่มือฝึกปฏิบัติการพยาบาลอนามัยชุมชนฉบับเตรียมรองรับประชาคมอาเซียนไปใช้ประกอบการทำรายงาน
- ถอดบทเรียนหลังสิ้นสุดการดำเนินงานของกลุ่มความรู้ครูสีฟ้าเพื่อเก็บไว้เป็นฐานข้อมูลการดำเนินงานจัดการความรู้ในปีถัดไป
- ติดตามคะแนนประเมินนักศึกษาหลังฝึกปฏิบัติการพยาบาลอนามัยชุมชนว่ามีคะแนนสะสมมากกว่า 60 คะแนน หรือไม่
1.2 เอกสารหลักฐานอ้างอิง
- กำหนดการจัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้หลังการฝึกปฏิบัติ จำนวน 2 ครั้ง วันที่ 10 กรกฎาคม และ 18 กันยายน 2556 8.00-12.30 น.
- รายงานการถอดบทเรียนหลังจัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้หลังการฝึกปฏิบัติAfter Action Review (AAR)
- ภาพกิจกรรมการจัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้หลังการฝึกปฏิบัติ การถอดบทเรียนหลังจัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้หลังการฝึกปฏิบัติ และการเข้าร่วมการจัดเวทีย่อยแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในหน่วยงาน
- รายงานการศึกษาชุมชนและกรณีตัวอย่าง (Case study) ของนักศึกษา
- คะแนนประเมินนักศึกษาหลังฝึกปฏิบัติการพยาบาลอนามัยชุมชน
- รายงานการประชุมกลุ่มความรู้ ครั้งที่ 7, 8