3. การจัดความรู้ให้เป็นระบบ เป็นระยะจัดเก็บและสังเคราะห์
มีรายละเอียดการดำเนินงาน ดังต่อไปนี้ วิธีการในการจัดระบบความรู้ที่ได้จากการสร้างและแสวงหา นั้น จะเก็บและแบ่งประเภทหัวข้อของความรู้ โดยบันทึกเป็นลายลักษณ์อักษร และพิมพ์เย็บเล่ม และจะแบ่งประเภทหัวข้อของความรู้เป็น 3 ส่วน
ส่วนที่1 ความรู้ก่อนการทำวิจัย ส่วนที่ 2 ความรู้หลังการทำวิจัย และ ส่วนที่ 3 ความรู้จากการจัดการความรู้
องค์ความรู้ที่ได้จากการจัดความรู้ เรื่องรูปแบบการบูรณาการการวิจัย การเรียนการสอน และ การบริการวิชาการ มีดังนี้ คือ
ส่วนที่1 ความรู้ก่อนการทำวิจัย โดยมีที่มาตามรูปภาพที่ 12
ในขั้นตอนแรกของการเริ่มดำเนินการ การจัดความรู้ ในการทำวิจัยรูปแบบบูรณาการ การวิจัย การเรียนการสอน และการบริการวิชาการ และ กำหนดรูปแบบการบูรณาการ การวิจัย การเรียนการสอน และการบริการวิชาการ เพื่อพัฒนาสุขภาวะ 3 อ. กับการลดพุง ของประชาชนวัยผู้ใหญ่ ตำบลบางนางลี่ อำเภออัมพวา จังหวัดสมุทรสงคราม ที่มาขององค์ความรู้ ได้มาจากการแสวงหาความรู้จากตำรา เอกสารเว็ปไซด์ และนำวาวิเคราะห์ สังเคราะห์ สรุป เป็น เอกสารดังต่อไปนี้ คือ
1.จัดทำเอกสารความรู้เรื่องคุณค่าทางโภชนาการการออกกำลังกายและอารมณ์
2.จัดทำเอกสารความรู้เรื่องอาหารแลกเปลี่ยนจัดทำเอกสารข้อแนะนำสำหรับการ
บริโภคอาหารที่ถูกส่วน
3.จัดทำเอกสารเรื่องหลักในการควบคุมน้ำหนัก
ส่วนที่ 2 ความรู้หลังการทำวิจัย เป็นความรู้เกี่ยวกับการทำวิจัย กำลังอยู่ในระยะการประมวลผลข้อมูล
แบ่งออกเป็น 2 ลักษณะ ประกอบด้วย ความรู้ชัดแจ้ง และ ความรู้ฝังลึก
ลักษณะที่ 1 ความรู้ชัดแจ้ง เป็นความรู้ที่ได้จากผลของการทำวิจัย ที่สามารถนำไปประยุกต์ใช้ประโยชน์ในการสร้างเสริมสุขภาพ และ ประเด็นที่ควรทำวิจัยต่อไป ทั้งนี้ ความรู้ชัดแจ้งอัน เป็นผลงานวิจัย ที่ได้จากการทำวิจัย สรุปผล อภิปรายผล และข้อเสนอแนะ เพื่อนำเอาผลการวิจัยไปใช้ประโยชน์นั้น จะเตรียม Manuscript เพื่อนำไปสู่การเผยแพร่ ตีพิมพ์ ในวารสารวิชาการที่ได้รับการยอมรับ และมี Peer review ต่อไป
การดำเนินการวิจัยโดยสรุป มี ดังนี้
ครั้งที่1. สำรวจข้อมูลทั่วไป
ครั้งที่2. ให้ Intervention 1 ครั้ง (วันที่ 3-4 พฤษภาคม 2556) ประกอบด้วย การให้ความรู้แก่กลุ่มเป้าหมาย เรื่อง การรับประทานอาหาร การออกกำลังกาย การบริหารอารมณ์ วิธีการ คือ ชั่งน้ำหนัก วัดส่วนสูง วัดความดันโลหิต วัดรอบเอว เจาะเลือด ตรวจหาค่าน้ำตาลในเลือด
ครั้งที่3. วัดผลโดยการเก็บข้อมูลระยะเวลาห่างจากครั้งที่2 เท่ากับ 1 เดือนหลังจากให้ความรู้
หมายเหตุ ตามแผนการเดิมจะต้องเก็บข้อมูล 4 เดือนหลังจากให้ความรู้ และ ติดตามทุก 1 เดือน
แต่ด้วย ข้อจำกัดของงบประมาณ ที่จะต้องปิดโครงการวิจัยตามปีงบประมาณ จึงจำเป็นต้องปรับแผนการทดลอง เปลี่ยนเป็นการวัดผลหลังทำการทดลอง 1 เดือน ทั้งๆที่ตามทฤษฎีการวัดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม การบริโภคนิสัย จะต้องวัดภายหลังการทดลอง 4 เดือน
ลักษณะที่ 2 ความรู้ฝังลึก เป็นองค์ความรู้ ทีได้จากการถอดบทเรียน ในการดำเนินการวิจัยดังนี้ คือ
ในการทำงานวิจัย นั้นสาระสำคัญที่ได้รับจากประสบการณ์ตรง ประกอบด้วย
1. ต้องระบุกลุ่มเป้าหมายใ้แน่ชัด คือ ประชากร และตัวอย่างจะต้องเฉพาะเจาะจง เป็นผู้ที่มีปัญหาจริงๆ เช่น อ้วนลงพุง หรือ เป็นบุคคลที่มีปัญหาสุขภาพอื่นๆ เพื่อให้เกิดส่วนร่วมสูงสุดในการร่วมวิจัย
2. เจ้าหน้าที่ด้านสุขภาพในพื้นที่ควรมาร่วมเป็นทีมวิจัย โดยมาเรียนรู้ และวางแผนร่วมกัน คือ การนำเจ้าหน้าที่ของรพ.สต. มาร่วมเป็นทีมวิจัย เพื่อจะได้เป็นผู้ประสานงานในพื้นที่ สะดวกในการติดตามกลุ่มตัวอย่าง
3. วิธีการให้ความรู้ และระยะเวลา การปรับปรุงแผนการทดลอง เนื้อหา ควรนำไปทดสอบแผนการทดลอง (Try out) โดยทดลองใช้กับกลุ่มเป้าหมายที่มีลักษณะใกล้เคียงกับกลุ่มตัวอย่างที่ไม่ใช่กลุ่มตัวอย่าง
4. ในแผนการทดลองนั้น ครวรออกแบบให้ กลุ่มตัวอย่างได้เข้ามามีส่วนร่วมในการออกแบบการวิจัยนั้นๆตามความเหมาะสม แทนที่ผู้วิจัยจะมาคิดตามลำพัง ทั้งอาจจะเป็นการศึกษานำร่อง (Pilot Study)
ส่วนที่ 3 ความรู้จากการจัดการความรู้ โดยมีที่มาตามรูปภาพที่ 12
มีลักษณะเป็นความรู้ฝังลึก เป็นความรู้ที่ได้จากการจัดการความรู้ ซึ่งได้มาจากการถอดบทเรียน เป็นประเด็นความรู้ที่เกิดจากประสบการณ์การเรียนรู้ในระหว่างการดำเนินงานทุกขั้นตอนของการจัดการความรู้ การดำเนินการวิจัย รูปแบบบูรณาการ การวิจัย การเรียนการสอน และบริการวิชาการ เรื่องการสร้างเสริมสุขภาพ 3 อ. กับการลดพุง ของบุคคลวัยผู้ใหญ่ ตำบลบางนางลี่ อำเภออัมพวา จังหวัดสมุทรสงคราม ทั้งนี้ความรู้ฝังลึก เป็นความรู้ที่ได้มาจากการจัดการความรู้ ที่จะต้องอาศัยเครื่องมือ หลายชนิดร่วมกัน ที่สำคัญ สิ่งหนึ่งที่จะขาดไม่ได้ คือ สุนทรียสนทนาในการทำงานทุกครั้ง เพื่อให้บรรลุเป้าหมายตามแผนที่กำหนดไว้ และได้รวบรวมเอกสาร คือ จัดทำเอกสาร แนวทางการจัดการความรู้สู่รูปแบบการบูรณาการ การวิจัย การเรียนการสอน และการบริการวิชาการ