ผลการดำเนินงานการจัดการความรู้:1.การบ่งชี้ความรู้ ระยะการสำรวจ:1.6 การเขียนแผนการจัดการความรู้ที่มีประสิทธิภาพ : กลุ่มดอกปีป วิทยาลัยพยาบาลและสุขภาพ

1.6 การเขียนแผนการจัดการความรู้ที่มีประสิทธิภาพ

   องค์ความรู้ที่ได้จากการถอดบทเรียน ในการดำเนินงาน ของการเขียนแผนการจัดการความรู้ที่มีประสิทธิภาพ  มีดังนี้ คือ 

1.แผนการดำเนินงานตามยุทธศาสตร์และการจัดการความรู้ จะต้องเป็นแผนที่สามารถปรับเปลี่ยนได้ตามสถานการณ์จริง

2.จำเป็นต้องบูรณาการการเขียนแผนทุกแผนรวมเป็นหนึ่งเดียวหรือเป็นชุดโครงการ ได้แก่ แผนการดำเนินงาน แผนการจัดการความรู้   แผนการทำวิจัย “รูปแบบบูรณาการ การวิจัย การเรียนการสอน และ การบริการวิชาการ” แผนการบริการวิชาการ และ อื่นๆ จะต้องดำเนินการแบบบูรณาการ และ พิจารณาควบคู่ ร่วมกันไป

3. ต้องมีแผนการนำเอาองค์ความรู้ที่ได้จากการถอดบทเรียน มาประยุกต์ใช้ประโยชน์ในการปรับแผน ทั้งนี้ ตลอดทุกระยะของการดำเนินการมีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้กันหลากหลายรูปแบบทั้งในรูปแบบของการประชุมกลุ่มใหญ่ กลุ่มย่อย และ การแลกเปลี่ยนเรียนรู้กันใน Social Media คือใน Facebook กลุ่มดอกปีป

ดังรายละเอียดของประสบการณ์ในการดำเนินงาน ดังนี้

1.ในการเขียนแผนการจัดการความรู้อย่างมีประสิทธิภาพนั้น ต้องคำนึงถึงปัจจัยต่างๆที่อาจจะมีผลกระทบต่อการดำเนินงาน  ฉะนั้น แผนการดำเนินงานตามยุทธศาสตร์และการจัดการความรู้ที่เขียนไว้นั้น จะต้องเป็นแผนที่สามารถปรับเปลี่ยนแผนการดำเนินงานได้ตามสถานการณ์จริง กล่าวคือ จากประสบการณ์การทำงาน​ของกลุ่มดอกปีป ในเบื้องต้นของการประชุมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ครั้งแรก สมาชิกได้เห็นพ้องต้องกันว่า กลุ่มเป้าหมาย ที่จะทำการวิจัย คือกลุ่มเด็กก่อนวัยเรียน   รอบเกาะกรุงรัตนโกสินทร์ โดยทำวิจัย 2 เรื่อง ได้แก่ 1.รูปแบบการบูรณาการ การวิจัย การเรียนการสอน และการบริการวิชาการ เพื่อพัฒนาสุขภาวะของเด็กก่อนวัยเรียน รอบเกาะกรุงรัตนโกสินทร์ และ 2.การอบรมเลี้ยงดูเด็ก (จากที่ประชุมวันศุกร์ที่ 8 มีนาคม 2556 เวลา13.00น) แต่ภายหลังจากการสำรวจข้อมูลในสถานการณ์จริง  พบว่ามีข้อจำกัดเรื่อง งบประมาณในการสนับสนุนการทำวิจัย จึงทำให้มีความจำเป็นต้องปรับเปลี่ยนแผนการดำเนินงาน โดยการปรับเปลี่ยนสถานที่การทำวิจัย ย้ายไปที่ จังหวัดสมุทรสงครามแทน เพื่อให้ได้รับการสนับสนุนงบประมาณการทำวิจัย

2.เนื่องจากเป็นช่วงเวลาที่เด็กปิดเทอม จึงต้องเปลี่ยนกลุ่มเป้าหมายจากเด็กก่อนวัยเรียน เป็นผู้ใหญ่วัยกลางคน

3.สุดท้ายด้วยข้อจำกัดของระยะเวลา และ ทุนสนับสนุนการดำเนินการ จึงเหลือการทำวิจัยเพียงเรื่องเดียว รวมทั้งกลุ่มเป้าหมายก็จำเป็นที่จะต้องระบุให้เฉพาะเจาะจง จึงได้ปรับเปลี่ยนกลุ่มเป้าหมายเป็น กลุ่มอสม.แทนตามที่กำหนดไว้เดิมว่าเป็นผู้ใหญ่

4.โดยสรุป ถึงแม้ว่าจะมีข้อจำกัดหลายประการตามที่กล่าวข้างต้น แต่การทำงานของ กลุ่มดอกปีป ก็สามารถดำเนินไปได้เป็นอย่างดี ทั้งที่มีสิ่งรบกวนจากภายนอกที่ยากต่อการควบคุม ทั้งนี้ เพราะตลอดระยะเวลาของการทำงาน ได้มีการจัดการความรู้และมีการประชุมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ พร้อมกับนำเอาองค์ความรู้ที่ได้จากการถอดบทเรียน มาประยุกต์ใช้ประโยชน์ในการทำงาน ตลอดทุกระยะของการดำเนินการ มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้กันทั้งจากการประชุมกลุ่มใหญ่ กลุ่มย่อย และ การแลกเปลี่ยนเรียนรู้กันใน Social Media คือ Facebook กลุ่มดอกปีป ซึ่งเป็นกลุ่มลับเฉพาะที่สร้างขึ้นมา เพื่อใช้เป็นเครื่องมือในการทำงานของกลุ่ม มีเฉพาะสมชิกกลุ่มเท่านั้นที่จะเข้าไปใช้งานได้

 5.นอกจากนี้ประเด็นสำคัญอีกเรื่องหนึ่ง คือ ทั้งการเขียน แผนการดำเนินงาน แผนการจัดการความรู้ และ การเขียนแผนการทำวิจัย รูปแบบบูรณาการ การวิจัย การเรียนการสอน และ การบริการวิชาการ นั้น จะต้องดำเนินการควบคู่ และ พิจารณาร่วมกันไป ซึ่งกลุ่มดอกปีบ ได้ดำเนินการควบคู่กันไปได้อย่างมีประสิทธิภาพ อ้างอิงตามรูปภาพที่ 6ขั้นตอนการดำเนินการ การเสนอโครงการวิจัย และโครงการบริการวิชาการ