การสร้างและแสวงหาความรู้ KM แผนที่ 4

การสร้างและแสวงหาความรู้ KM แผนที่ 4
วิทยาลัยนานาชาติ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
ประเด็นยุทธศาสตร์ พัฒนางานวิจัยและนวัตกรรมเพื่อเป็นฐานในการพัฒนาวิทยาลัยนานาชาติ ชุมชนและ                       ประเทศชาติ
องค์ความรู้ที่จำเป็น การพัฒนาความรู้และทักษะในการทำชุดโครงการวิจัยและเขียนบทความวิจัยเป็น
                         ภาษาอังกฤษ
กระบวนการสร้างและแสวงหาความรู้
คณะกรรมการจัดการความรู้ได้พิจารณาหาแหล่งความรู้ทั้งภายในวิทยาลัยนานาชาติและภายนอกวิทยาลัยนานาชาติ เพื่อจัดทำเนื้อหาให้ตรงกับความต้องการดังนี้
ความรู้ที่ฝังอยู่ในตัวคน(Tacit Knowledge)
          (1) ระบบพี่เลี้ยง (Mentoring System) ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.กรองทอง ไคริรี ซึ่งเป็นคุณเอื้อของชุมชนนักปฏิบัติและเป็นผู้บริหารสูงสุดของวิทยาลัยนานาชาติได้มอบหมายให้สมาชิกชุมชนนักปฏิบัติทำงานวิจัยให้สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ของมหาวิทยาลัย และให้ขอคำปรึกษาจากผู้มีประสบการณ์ในการทำวิจัยในวิทยาลัยนานาชาติเป็นพี่เลี้ยงเพื่อให้คำแนะนำก่อนเสนอขอรับทุน 
          (2) การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ (Knowledge Forum) สมาชิกชุมชนนักปฏิบัติได้รับการสนับสนุนจากวิทยาลัยในการเข้าร่วมอบรมการทำวิจัยกับสถาบันวิจัยและพัฒนาของมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทาในฐานะนักวิจัยรุ่นใหม่ รวมทั้งการเข้าร่วมนำเสนอผลงานวิจัยในประเทศและต่างประเทศ เพื่อให้มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และรวบรวมความรู้ของผู้มีประสบการณ์ให้เป็นตัวอย่างประกอบการทำวิจัย
          ความรู้ที่ชัดแจ้ง(Explicit Knowledge)
          (1) การสืบค้นเอกสารที่เกี่ยวข้องที่มีการรวบรวมอยู่ในวิทยาลัยนานาชาติ ดังนี้
-   นโยบายและยุทธศาสตร์การวิจัยของชาติ ฉบับที่ 8 (พ.ศ.2555 – 2559)
-  เอกสารประกอบการบรรยายเรื่อง Higher Education Research Promotion : HERP           ของ รองศาสตราจารย์ฉวีวรรณ แก้วไทรฮะ
                   - Guideline for Funding Research Proposal
          (2) การสืบค้นจากเว็ปไซต์และสื่ออิเล็กทรอนิกส์
                   - ตัวอย่างชุดโครงงานวิจัย เรื่อง การทำแห้งและการสกัดสารแอนทราควิโนนจากต้นยอ ของ
                        นักศึกษา ภาควิชาวิศวกรรมอาหาร คณะอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
                   - ตัวอย่างผลงานวิจัย เรื่อง Enhancing Students’ Understanding Statistics with
                       TinkerPlots:Problem-Based Learning Approach ของ Krongthong Khairiree &
                        Piromya Kurusatian
                   - ตัวอย่างผลงานวิจัย เรื่อง Case Study in Understanding Concurrencies Related
                       to Ceva’s Theorem Using the Geometer’s Sketchpad ของ Chaweewan                         Kaewsaiha
                   - ตัวอย่างงานวิจัยต่างประเทศเกี่ยวกับการท่องเที่ยวและที่พัก
                             (1) Factors Influencing Visitors’ Revisit Behavioral Intentions: A Case
                                     Study of Sabah, Malaysia
                             (2) Patient-Centeredness Communication Strategy for the Medical
                                    Tourism Industry
                             (3) A Model for Evaluating Knowledge Sharing Using Fuzzy Inference
                                     System (Case Study: Tehran Municipality ICT Organization)