การดำเนินงานจัดการความรู้ (7ขั้นตอน) : Part II

การดำเนินงานจัดการความรู้ (7ขั้นตอน) : Part II
3. การจัดความรู้ให้เป็นระบบ
รายละเอียดการดำเนินงาน
วิธีการในการจัดความรู้ให้เป็นระบบ ทั้งนี้เพื่อให้การบริการเกิดประสิทธิภาพ สะดวกและรวดเร็วในการให้บริการ จึงจำเป็นต้องการจัดหมวดหมู่ของหุ่น/อุปกรณ์ต่างๆให้ชัดเจน ทั้งนี้เพื่อให้ง่ายในการค้นหาและการจัดเก็บ เมื่อมีการใช้งาน โดยขะแบ่งวัสดุ/อุปกรณ์ตามกลุ่มวิชาทางรายวิชาทางการพยาบาลได้แก่
1. กลุ่มวิชาทักษะการพยาบาลพื้นฐาน
2. กลุ่มวิชาการพยาบาลผู้ใหญ่และผู้สูงอายุ
3. กลุ่มวิชาการพยาบาลเด็กและวัยรุ่น
4. กลุ่มวิชาการพยาบาลอนามัยชุมชน
5. กลุ่มวิชาการพยาบาลมารดา ทารก และการผดุงครรภ์
6. กลุ่มวิชาการพยาบาลสุขภาพจิตและจิตเวช

4. การประมวลและกลั่นกรองความรู้
รายละเอียดการดำเนินงาน
เพื่อให้การบริการมีประสิทธิภาพ จึงต้องมีการจัดทำ "คู่มือการใช้ห้องปฏิบัติการ" เป็นเอกสารที่ใช้เผยแพร่วิธีการใช้ห้องปฏิบัติการ โดยผ่านการตรวจสอบเบื้องต้นจากอาจารย์ผู้รับผิดชอบดูแลห้องปฏิบัติการพยาบาล (อาจารย์กันยา นภาพงษ์) และทดลองใช้โดยอาจารย์และนักศึกษาที่มีความประสงค์จะใช้บริการห้องปฏิบัติการพยาบาล โดยมีการสอบถามผู้ใช้บริการว่ามีข้อเสนอแนะอย่างไรบ้าง ระยะเวลาทดลองใช้ตั้งแต่ 15 มิถุนายน-15สิงหาคม 2556 หลังจากนั้นรวบรวมข้อมูล และปรับแก้ไขตามข้อเสนอแนะที่ได้รับ ได้แก่ การปรับขั้นตอนให้การใช้งานเป็นภาษาที่เข้าใจง่าย และมีความกระชับ ไม่เยิ่นเย้อ

5. การเข้าถึงความรู้
รายละเอียดการดำเนินงาน
มีการนำความรู้ของกลุ่มจิปาถะ เผยแพร่ในเว็บไซต์ www.km.ssru.ac.th ของมหาวิทยาลัย อีกทั้้งได้มีการเผยแพร่ (ร่าง)คู่มือการใช้ห้องปฏิบัติการ แก่อาจารย์และนักศึกษา โดยประชาสัมพันธ์ผ่านประกาศหน้าห้องปฏิบัติการพยาบาล และการพูดคุยแบบไม่เป็นทางการกับอาจารย์และนักศึกษา

 

6.การแบ่งปันแลกเปลี่ยนเรียนรู้
รายละเอียดการดำเนินงาน
มีการแบ่งปันความรู้กับบุคลากรภายในวิทยาลัยฯ ทั้งในที่ประชุมอาจารย์ และแจ้งให้นักศึกษาแต่ละชั้นปีทราบ นอกจากนี้วิทยาลัยฯยังมีการจัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เมื่อวันที่ 9 สิงหาคม 2556 ณ ห้อง 3736 วิทยาลัยพยาบาลและสุขภาพ ทั้งนี้เป็นการแลกเปลี่ยนข้อมูลของกลุ่ม CoP ของวิทยาลัยฯ

7.การเรียนรู้
รายละเอียดการดำเนินงาน
หลังจากการทดลองใช้ (ร่าง) คู่มือการใช้ห้องปฏิบัติการ แล้ว มีการนำไปปรับปรุงแก้ไขตามข้อเสนอแนะเรียบร้อยแล้วจึงนำไปใช้จริง โดยมีการประเมินร้อยละความพึงพอใจของผู้ใช้บริการร่วมกับผู้ให้บริการ เพื่อนำไปพัฒนาในโอกาสต่อไป หลังจากเริ่มมีการจัดการให้ห้องปฏิบัติการพยาบาล พบว่า เมื่อผู้รับบริการมีความต้องการใช้ห้องปฏิบัติการ จะมีการแจ้งให้ผู้ให้บริการทราบล่วงหน้า ทำให้เจ้าหน้าที่มีการเตรียมความพร้อมของห้องปฏิบัติการ และจัดเตรียมอุปกรณ์ที่ต้องการใช้ไว้ล่วงหน้า สามารถวางแผนการทำงานได้ดีขึ้น โดยไม่กระทบกับงานอืนๆ เนื่องจากเจ้าหน้าที่ทราบเวลาการใช้งานล่วงหน้าแล้ว เมื่อมีการจัดอุปกรณ์/หุ่นให้เป็นหมวดหมู่พบว่า ไม่ต้องเสียเวลาในการค้นหาอุปกรณ์ สามารถหยิบได้อย่างรวดเร็ว การตรวจนับ/เช็คจำนวนสามารถทำได้ง่ายยิ่งขึ้น ซึ่งผลการประเมินความพึงพอใจจากการทดลองใช้บริการ มีจำนวนการให้บริการรวม 35 ครั้ง คะแนนความพึงพอใจเฉลี่ยของผู้รับบริการอยู่ที่ 4.14 คะแนน (จาก5คะแนน) คิดเป็นร้อยละ 82.70 และคะแนนความพึงพอใจเฉลี่ยของผู้ให้บริการอยู่ที่ 4.56 คะแนน (จาก5คะแนน) คิดเป็นร้อยละ 91.20