บันทึกการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ครั้งที่ 1

 

บันทึกการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ครั้งที่ 1
ผู้เข้าร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ :
1.                             คุณกฤษณา อยู่พวง
2.             คุณจริยพร มูลทา
3.             คุณสิริพร ป้อมจัตุรัส
4.             คุณชนาธินาถ ไชยภู
5.             คุณธนะฉัตร เอกฉัตร
6.             คุณสุภาพร วงษา
7.             คุณน้อย อรุณศรี
8.             คุณรัชนก ทองขาวขำ
9.             คุณพีรพล   แก้วอำไพ
10.      คุณวีรวรรณ ศรีสวัสดิ์
11.      คุณจุฑารัตน์ โสธรจิตต์
12.      คุณสุภาภรณ์ ใจสุข
13.      คุณชลดา เอกสกุล
14.      ว่าที่ร.ต.หญิงนิธิมา แก้วมณี
 
วิธีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ : ประชุมกลุ่ม เล่าเรื่อง อภิปราย สอบถามและสนทนาแลกเปลี่ยนความรู้ที่ได้มาให้กับสมาชิกในกลุ่ม
ความรู้ที่ได้ :
                ศูนย์วิทยบริการมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา เริ่มมีพัฒนาการมาจากห้องสมุดโรงเรียนสวนสุนันทาวิทยาลัย ได้จัดตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 17 พฤษภาคม 2480 ณ อุโมงค์ใต้เนินพระนางฯ ต่อมาได้ย้ายไปอยู่ที่อาคารสายสุทธานพดล พ.ศ. 2500 ได้ย้ายไปอยู่ที่อาคาร 1 (อาคารกรรณาภรณ์พิพัฒน์) ระยะนี้ห้องสมุดเริ่มปฏิบัติงานทุกอย่างที่เป็นระบบสากลนิยม
พ.ศ. 2517 วิทยาลัยครูสวนสุนันทาได้รับงบประมาณสร้างอาคาร หอสมุด 2 ชั้น เป็นอาคารเอกเทศ และได้รับการเปลี่ยนฐานะจากห้องสมุดมาเป็นหอสมุดวิทยาลัยครูสวนสุนันทา ภายใต้การบริหารงานของคณะกรรมการอำนวยการหอสมุด ทั้งนี้เพื่อให้การดำเนินงานหอสมุดเป็นไปตามหลักวิชาบรรณารักษศาสตร์อย่างแท้จริง ตาม พ.ร.บ. วิทยาลัยครู พ.ศ. 2518
พ.ศ. 2528 ได้มีการปรับปรุงพระราชบัญญัติวิทยาลัยครู (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2527 ซึ่งกำหนดให้แผนกห้องสมุดมีฐานะเป็นฝ่ายหอสมุด ขึ้นอยู่กับสำนักส่งเสริมวิชาการซึ่งขึ้นตรงต่อรองอธิการบดีฝ่ายวิชาการ
พ.ศ. 2535 วิทยาลัยครูได้รับพระราชทานนามจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพล อดุลยเดช เป็น "สถาบันราชภัฏ" ส่วนในงานของฝ่ายหอสมุดได้มีการนำเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์มาใช้ดำเนินงาน โดยใช้โปรแกรม Mini Micro CDS / ISIS
พ.ศ. 2538 วิทยาลัยครูได้เปลี่ยนเป็น "สถาบันราชภัฏ" และตามการแบ่งส่วนราชการในสถาบันราชภัฏ ได้กำหนดให้ฝ่ายหอสมุดมีฐานะเปลี่ยนไป เป็น "สำนักวิทยบริการ" และสถาบันราชภัฏสวนสุนันทา ได้รับงบประมาณเพื่อจัดสร้างอาคารสำนักวิทยบริการ 4 ชั้น หลังจากนั้นได้ทำทางเดินเชื่อมอาคารหอสมุดเก่ากับอาคารหลังใหม่ ต่อมาได้รับพระราชทานนามว่า "อาคารเฉลิมพระเกียรติพระชนมพรรษา 6 รอบ"
พ.ศ. 2542 นำระบบห้องสมุดอัตโนมัติโปรแกรม Alice for Windows  ต่อมาปี พ.ศ. 2543 ได้มีการต่อเติมอาคารเฉลิมพระเกียรติฯ ชั้น 5 เพิ่มเติมเพื่อขยายการให้บริการตำราวิชาการ งานวิจัยสำหรับบัณฑิตศึกษารวมทั้งตำราวิชาการในโครงการตำราราชภัฏเฉลิมพระเกียรติฯ ห้องสมุดศูนย์พุทธศาสนาเพื่อสันติภาพ
พ.ศ  2547  พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช  มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ  ประกาศใช้พระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยราชภัฏ พุทธศักราช  2547  เพื่อให้เป็นสถาบันอุดมศึกษาเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น
พุทธศักราช  2548  มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทาได้ดำเนินการปรับเปลี่ยนโครงสร้างใหม่  และสำนักวิทยบริการ  ได้เปลี่ยนฐานะเป็นศูนย์วิทยบริการ  ขึ้นอยู่กับสำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ  ซึ่งขึ้นตรงต่อรองอธิการบดีฝ่ายวิจัยและบริการวิชาการ
พ.ศ 2549 มหาวิทยาลัยฯ รื้อถอนอาคารหอสมุด เพื่อสร้างอาคารอาคารใหม่ แล้วเสร็จกลางปี พ.ศ 2552 ใช้ชื่ออาคารสำนักงานอธิการบดีและศูนย์วิทยบริการ โดยศูนย์วิทยบริการได้พื้นที่บริเวณชั้นลอยของอาคารเป็นจุดบริการยืม-คืน บริการสิ่งพิมพ์ต่อเนื่อง และพื้นที่ชั้น 2 สำหรับให้บริการอินเตอร์เน็ต และมีทางเดินจากชั้นลอยไปยังชั้น 2 ของอาคารเฉลิมพระเกียรติ
ผู้ให้ความรู้
                1. ว่าที่ร.ต.หญิงนิธิมา แก้วมณี
                2. คุณรัชนก ทองขาวขำ
                3. คุณววีรวรรณ ศรีสวัสดิ์
ผู้รับความรู้
1.             คุณกฤษณา อยู่พวง
2.             คุณจริยพร มูลทา
3.             คุณสิริพร ป้อมจัตุรัส
4.             คุณชนาธินาถ ไชยภู
5.             คุณธนะฉัตร เอกฉัตร
6.             คุณสุภาพร วงษา
7.             คุณน้อย อรุณศรี
8.             คุณพีรพล   แก้วอำไพ
9.             คุณจุฑารัตน์ โสธรจิตต์
10.      คุณสุภาภรณ์ ใจสุข
11.      คุณชลดา เอกสกุล