บันทึกการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ครั้งที่ 2

ผู้เข้าร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ : พลตำรวจโท ดร.ณรงค์ กุลนิเทศ, ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อาณัติ ต๊ะปินตา, ดร.โกมล ไพศาล, ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.กฤษดา กรุดทอง, ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ธนสุวิทย์ ทับหิรัญรักษ์, ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.บัณฑิต ผังนิรันดร์, ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ปรุงศักดิ์ อัตพุฒ, ดร.ทัศนาวลัย อุฑารสกุล, รองศาสตราจารย์ ดร.ชมนาด กิจขันธ์, ศาสตราจารย์ ดร.วรเดช จันทรศร, ดร.รัตนา ปานเรียนแสน, รองศาสตราจารย์ ทิพาพันธ์ สังฆะพงษ์, รองศาสตราจารย์ ดร.ฤๅเดช เกิดวิชัย, ดร.โสพิศ สว่างจิต, ดร.ณรงค์ สังฆะณที, นางสาวณัฐกฤตา ทองขัด, นางสาวสุภาพร เท่าบุรี, นางวิศิษฐา เทพวิจิตร์, นางสาวเกสอน ชื่นหญ้าปลอก, นางสาวชลดา เพชรปานกัน, ว่าที่ ร.ต.หญิง บุญญาดา พาหาสิงห์, นางสาวปวีณา ศรีบุญเรือง, นายเปรม ธนไตรภพ, รองศาสตราจารย์ ธีระดา ภิญโญ, นางสาวเกษรา ตรีไพชยนต์ศักดิ์, นางสาววิรงรอง ทำโย

วิธีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ : สัมภาษณ์ผู้รู้ ผู้เชี่ยวชาญ

ความรู้ที่ได้ :

 

ผู้ให้ความรู้           อาจารย์เวชยันต์ เฮงสุวนิช (วช.)

            การกำหนดโจทย์หรือประเด็นการวิจัย สิ่งที่ควรคำนึงถึง ได้แก่ 1) ยุทธศาสตร์การพัฒนาประเทศตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่11 (..2555 – 2559) 2) นโยบายและยุทธศาสตร์การวิจัยของชาติ(..2555-2559) 3) นโยบายรัฐบาล 4) ยุทธศาสตร์การวิจัยและภารกิจหลักของหน่วยงาน

การเขียนข้อเสนอการวิจัย [ แผนงานวิจัย (ชุดโครงการวิจัย) และโครงการวิจัย ]

(มีตัวอย่างแบบฟอร์มดังแนบ)

แนวทางการประเมินผลข้อเสนอการวิจัย

- การประเมินประโยชน์ของข้อเสนอการวิจัย ได้แก่ ประโยชน์เชิงวิชาการ ประโยชน์เชิงนโยบาย ประโยชน์เชิงพาณิชย์ และประโยชน์ต่อชุมชน/สังคม

- การประเมินคุณภาพข้อเสนอการวิจัย มีคะแนนเต็ม 100 คะแนน ตามแบบ นท-1ช

 

 ผู้ให้ความรู้          ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.บัญชร แก้วส่อง

แนวการนำเสนอ    -   การวิจัยเพื่อท้องถิ่นคืออะไร ชุมชนท้องถิ่นเป็นอย่างไร สร้างโครงการวิจัยเป็นชุดได้อย่างไร จะวางระบบการจัดการชุดโครงการอย่างไร

คุณลักษณะสำคัญของการวิจัยเพื่อท้องถิ่น

- ปัญหาการวิจัยมาจากท้องถิ่น

- มีปฏิบัติการเพื่อให้ได้คำตอบของปัญหา (การสร้างความรู้และการเลือกใช้ความรู้โดยประชาชน)

- คนในท้องถิ่นเป็นนักวิจัยหรือมีส่วนร่วมในการวิจัย

เป้าหมายสำคัญของการวิจัยเพื่อท้องถิ่น

- การสร้างความรู้: สถานการณ์ รากเหง้า เป้าหมาย และวิธีการสู่เป้าหมาย

- การสร้างคน: ผู้ตื่น ผู้รู้ ผู้เบิกบาน

- การสร้างการเปลี่ยนแปลง: กลุ่ม/องค์กร  ระบบนิเวศน์ เศรษฐกิจ สังคม การเมือง

สู่

 

   ความเข้มแข็งของชุมชนท้องถิ่น

 กระบวนการสำคัญ: อริยสัจ 4 ประการ

ทุกข์: การศึกษาความทุกข์ให้ชัด     สมุทัย: การวิเคราะห์เหตุแห่งทุกข์เพื่อวางแผนปฏิบัติการให้พ้นทุกข์

นิโรธ: การกำหนดเป้าหมายสู่การดับทุกข์    มรรค: การลงมือปฏิบัติการเพื่อการดับทุกข์


จะสร้างชุดโครงการเชิงบูรณาการได้อย่างไร

            - การบูรณาการโดยใช้ชุมชนท้องถิ่นเป็นตัวตั้ง ได้แก่ มีวิถีการผลิต: ปากท้อง มีความสัมพันธ์กับชุมชน และมีระบบคิด คุณค่า

            - การบูรณาการบนฐานประเด็น/ระบบปฏิบัติการ ได้แก่ 1.การสร้างโอกาสให้คนขายขอบ 2. การทำงานเชิงยุทธศาสตร์ 3. การขับเคลื่อนสู่หน่วยงาน/อปท. 4. การทำงานร่วมสถาบันวิชาการ 5. การบูรณาการงานข้ามฝ่าย 6. การยกระดับและบูรณาการเชิงวิชาการ 7. การรุกสู่ประชาคมอาเซียน

             ตัวอย่างชุดโครงการ

ผู้ให้ความรู้

1. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.บัญชร แก้วส่อง

2. อาจารย์เวชยันต์ เฮงสุวนิช

วิดีโอบันทึกการแลกเปลี่ยนเรียนรู้

การออกแบบเทคนิคชุดโครงการวิจัยท้องถิ่นเชิงบูรณาการ 1/5 http://www.youtube.com/watch?v=UoZSMBlFwbs

การออกแบบเทคนิคชุดโครงการวิจัยท้องถิ่นเชิงบูรณาการ 2/5 https://vimeo.com/47496704

การออกแบบเทคนิคชุดโครงการวิจัยท้องถิ่นเชิงบูรณาการ 3/5 https://vimeo.com/47500980

การออกแบบเทคนิคชุดโครงการวิจัยท้องถิ่นเชิงบูรณาการ 4/5

การออกแบบเทคนิคชุดโครงการวิจัยท้องถิ่นเชิงบูรณาการ 5/5 http://www.youtube.com/watch?v=dEIOr7f51JU&feature=player_embedded