เทคนิคการเรียนการสอนแบบ Blended Learning (Project Base Learning)
1. กลุ่มวิชาการ(อาจารย์)
วิธีการแลกเปลี่ยน
การประชุมกลุ่มชุมชนผู้ปฏิบัติ CoP (Community of Practices)
Knowledge café: สภากาแฟ จัดมุมสังสรรค์ให้กลุ่มผู้ทำงานมาพูดคุย แลกเปลี่ยนเรียนรู้ ระดมความคิด ทำงาน โดยบรรยากาศที่ไม่เป็นทางการ
lesson Learned: ถอดบทเรียน ถอดความรู้และวิธีการทำงานจากการผลิตสื่อภาคเรียนที่ผ่านมาPeer assist: เพื่อนช่วยเพื่อน กลุ่มปฏิบัติงานเริ่มต้นทำงานใหม่และขอคำปรึกษาจากกลุ่มที่เคยทำงานนั้นมาแล้ว
Mentoring: คู่คิด การประกบคู่ระหว่างผู้ที่ทำเป็น/หรือเป็นผู้วางระบบ เพื่อให้ผู้อื่นได้เรียนรู้และสร้างสรรงานภายใต้การให้คำปรึกษาและการช่วยเหลือจากผู้ชำนาญการ
Training: โดยจัดให้มีกิจกรรมการฝึกอบรม จากผู้รู้ ผู้ชำนาญการ ในกลุ่มงาน
การนำความรู้ไปใช้
นำองความรู้ทั้งหมดมาใช้ปฏิบัติจริงสำหรับการเรียนการสอนรายวิชาการศึกษาทั่วไปในภาคเรียนที่ 1/2555
องค์ความรู้ 1 รูปแบบ Website สนับสนุน การบริหารจัดการการเรียนการสอน ของรายวิชาการศึกษาทั่วไป จากระบบเดิมเป็นระบบใหม่ เพิ่มช่องทางการสื่อสาร ระบบรับ-ส่ง Home Work และ Project ระบบตรวจสอบผลการเรียน และการแจ้งข่าวสาร
องค์ความรู้ 2 ระบบ e –learning มีระบบบริการสื่อนวัตกรรมออนไลน์ การเรียนการสอน ได้แก่เอกสาร ตำรา กิจกรรม VDO รายคาบเป็นระบบการติดตามการเรียนย้อนหลัง
การจัดการเรียนรู้หัวข้อ เว็บไซต์รายวิชาการเรียนการสอนหมวดวิชาศึกษาทั่วไป
การจัดทำเว็บไซต์รายวิชานี้เพื่อช่วยในการจัดการเรียนการสอนแบบออนไลน์ ให้มีประสิทธิภาพมากยึ่งขึ้นโดยอาศัยการเรียนที่ควบคู่กับการเรียนแบบกลุ่มใหญ่ สามารถให้นักศึกษาเข้าไปศึกษาเพื่มเติ่มในส่วนเนื้อหา หรือหน่วยการเรียนที่นักศึกษามีข้อสงสัย ซึ่งในส่วนสำคัญของเว็บไซต์รายวิชานี้ จะมีเนื้อหา เอกสารของแต่ละหน่วย แบบทดสอบประจำแต่ละหน่วย และยังรวมไปถึงวีดีโอการสอนประจำหน่วยที่นักศึกษาสามารถเข้าไปดูย้อนหลังได้อีกด้วย เพื่อให้ก้าวไปสู่การศึกษาที่ไร้พรหมแดน อยู่ที่ไหนก็สามารถเรียนรู้ด้วยตัวเองได้ ดังนั้นทางสำนัก ฯ จึงได้นำระบบการเรียนรู้ผ่านเว็บไซต์มามีส่วนในการเรียนการสอนให้มีผลดียิ่งขึ้น สำหรับระบบการจัดทำเว็บไซต์ได้ใช้ระบบ Moodle 9.1.4+ ที่มีรูปแบบในการจัดการเว็บไซต์ที่มีความทันสมัย และระบบมีความสามารถสูงต่อการใช้ในการเรียนการสอน
1.1 แสดงรูปภาพเว็บไซต์รายวิชาเดิม
ปีการศึกษา 1/2555 จึงได้มีการปรับเปลี่ยนเว็บไซต์ให้มีความน่าสนใจมากยิ่งขึ้น ซึ่งองค์ประกอบหลักของระบบนี้มีการประชุมวางแผนร่วมกัน และเสนอการออกแบบให้เว็บไซต์ให้มีความสนใจ มีมุมมองและรูปแบบที่ทันสมัย จึงได้ข้อข้อสรุปดังนี้
1.การออกแบบในส่วน banner กำหนดให้ใช้เป็นรูปภาพขนาด 670 x 260 (อยู่ด้านบนสุดของเว็บไซต์)
2.ส่วนตรงกลางเพจจะประกอบด้วย ข่าวประกาศและข่าวประชาสัมพันธ์/ แบบทดสอบ (รายวิชาที่มีอยู่)
3.ส่วนคู่มือและเนื้อหา / การติดต่ออาจารย์ผู้สอน / การให้บริการนักศึกษา/ กระดานสนทนา จะอยู่ด้านซ้าย
4.ส่วนเมนูเข้าสู่ระบบ / ปฏิทิน / กิจกรรมของนักศึกษา / เว็บไซต์ที่เกี่ยวข้อง / ผู้ที่เข้าใช้ในระบบล่าสุด
จะอยู่ด้านขวา
5.ส่วนภายในจะประกอบด้วย เนื้อหาการเรียนทั้ง 8 หน่วยการเรียน แต่ละหน่วยจะประกอบด้วย
5.1.1 ผลลัพธ์การเรียนรู้
5.1.2 เนื้อหาประจำหน่วยการเรียน
5.1.3 แบบทดสอบประจำหน่วยการเรียน
1.2 แสดงรูปภาพเว็บไซต์รายวิชาปัจจุบัน
การแลกเปลี่ยนความรู้ภายในกลุ่มงานกัน มีการให้คำปรึกษาของผู้รู้ในเรื่องต่าง ๆ เช่น การเพิ่มแบบทดสอบ การประกาศข่าว การนำวีดีโอขึ้นระบบ และการนำข้อมูลและคะแนนของนักศึกษา ออกจากระบบ เป็นต้น
1.3 แสดงรูปภาพการแลกเปลี่ยนให้ความรู้ในกลุ่มงานเดียวกัน
1. ระยะเวลาในการทำโครงงานแต่ละรายวิชามีไม่เท่ากัน
2. แบบฟอร์มของการเสนอโครงงานมีความแตกต่างกัน
3. รูปแบบของรายงายมีความแตกต่างกัน
4. เมื่อส่งงานแล้วไม่ทราบว่างานได้รับการอนุมัติหรือไม่
จากปัญหาดังกล่าวทางสำนักฯ จึงจัดให้มีการประชุมวางแผนในการจัดการเรียนการสอนในภาคการศึกษาต่อไป ดังนั้นจากการประชุมแก้ไขปัญหาในเรื่องของโครงงาน โดยมีข้อสรุปของรายละเอียดของโครงงานในภาคการศึกษาที่ ๑/๒๕๕๕ ดังนี้
1. ให้ทุกรายวิชากำหนดระยะเวลาในการเสนอและส่งโครงงานเป็นระยะเวลาเดียวกัน
2. ให้ทุกรายวิชาแก้ไขแบบฟอร์มเสนอโครงงานเป็นแบบหน้าเดียวเหมือนกันทุกรายวิชา
3. ให้ทุกรายวิชากำหนดรูปเล่มรายงานแบบเดียวกัน
4. นักศึกษาสามารถตรวจสอบรายชื่อและผลการอนุมัติโครงงานผ่านเว๊ปไซด์รายวิชา
สำนักวิชาการศึกษาทั่วไปและนวัตรกรรมการเรียนรู้อิเล็กทรอนิกส์มีพันธกิจหลักในการจัดการเรียนการสอนในรายวิชาการศึกษาทั่วไป ทั้งนี้เนื่องจากทางสำนักฯจะต้องรับผิดชอบในการจัดกิจกรรมการเรียนให้กับนักศึกษาที่มีจำนวนมากในทุกๆภาคการศึกษา ทางสำนักฯจึงมีความพยายามที่จะแสวงหารูปแบบในการจัดการเรียนการสอนที่จะสามารถตอบสนองความต้องการและให้เกิดประโยชน์แก่นักศึกษาให้มากที่สุด ด้วยเหตุนี้ทางสำนักฯ จึงเล็งเห็นความสำคัญของการการสอนแบบโครงงานเพราะเป็นการเปิดโอกาสให้ผู้เรียน เรียนรู้เรื่องใดเรื่องหนึ่งตามความสนใจของผู้เรียนอย่างลุ่มลึก โดยผ่านกระบวนการหลักคือ กระบวนการแก้ปัญหา ผู้เรียนจะเป็นผู้ลงมือปฏิบัติเพื่อค้นหาคำตอบด้วยตนเอง จึงเป็นการเรียนรู้จากการได้มีประสบการณ์ตรงจากแหล่งเรียนรู้ ซึ่งในช่วงปีแรกของการจัดตั้งสำนักฯอย่างเป็นทางการนั้นรูปแบบโครงงานในรายวิชาการศึกษาทั่วไปในแต่ละรายวิชายังไม่ค่อยมีความเป็นเอกภาพเท่าใดนัก เพราะขึ้นอยู่กับทีมอาจารย์ผู้สอนในแต่ละรายวิชาว่าจะออกแบบให้โครงงานในวิชาของตนมีลักษณะเช่นไร
ตัวอย่างโครงงาน
1.http://www.youtube.com/watch?v=Ff9V5R8v66U&feature=youtu.be
2.http://www.youtube.com/watch?v=UMnXr7yTKrA&feature=youtu.be
สาเหตุปัญหา
1.ด้านการจัดหาเจ้าหน้าที่คุมสอบโดยการสอบแบบเดิมเป็นการใช้ห้องสอบของคณะภายในมหาวิทยาลัยห้องสอบมีจำนวนมากจึงจำเป็นต้องเจ้าหน้าคุมสอบเป็นจำนวนมากทำให้ยากต่อการจัดหาเจ้าหน้าที่ของคณะมาคุมสอบ
2.ด้านวินัยในการเข้าสอบของนักศึกษาจากสถิติการมาสอบของนักศึกษาพอว่าความพร้อมในการมาสอบของนักศึกษาขาดสอบเป็นจำนวนมากจากการมายื่นใบคำร้องขอสอบภายหลังของภาคเรียนที่ผ่านมา
3.ลดการใช้กระดาษ การสอบในแต่ละครั้งแบบเดิมใช้กระดาษเป็นจำนวนมากและจำเป็นต้องใช้ระยะเวลาในการผลิตข้อสอบมาก
4.ลดเวลาในการตรวจข้อสอบ
จากปัญหาในการแก้ไขปัญหา
1.ประชุมกำหนดการสอบให้ข้อเสนอแนะ เช่น ตารางระยะเวลา ,วันที่ใช้สอบ, จำนวนห้องสอบ, กำหนดขั้นตอนในการสอบโดยจะแบ่งออกเป็น 3 ระบบ
ระบบคลังข้อสอบ
ระบบจองเวลาสอบสอบ
ระบบสอบ
องค์ความรู้ที่ 5.1 : ระบบคลังข้อสอบ
การจัดทำระบบคลังข้อสอบ ใช้โปรแกรม Modle ในการบริหารจัดการคลังข้อสอบ โดยการร่วบรวมข้อสอบในแต่ละรายวิชาจำนวน 12 รายวิชา เจ้าหน้าที่สำนักจะนำข้อสอบเข้าระบบเป็นบทเรียน และใช้ระบบรักษาความปลอดภัยของมหาวิทยาลัยเพื่อป้องกันการเข้าที่มีประสิทธิ์ภาพ
องค์ความรู้ที่ 5.2 : ระบบจองเวลาสอบ
1.สำนักได้สร้างระบบจองเวลาสอบเพื่อให้นักศึกาสามารถจองเวลาสอบด้วยตนเองผ่านระบบอินเตอร์เน็ตโดยที่ระบบจะสามารถเลือก วิชาที่ตนเองต้องการสอบ ช่วงเวลา และวันที่ตนเองสะดวก ระบบจะให้นักศึกษากรอกข้อมูลส่วนตัว เช่น รหัสนักศึกษา ชื่อ นามสกุล คณะ สาขาที่เรียน ให้ครบ เมื่อกรอกข้อมูลเรียบร้อยแล้วระบบจะให้นักศึกษาพิมพ์เอกสารเพื่อยืนยันการสอบหากมีปัญหาwww.ie.ssru.ac.th/register
องค์ความรู้ที่ 5.3 : ระบบสอบ
ระบบการสอบจะใช้ Modle ในการบริหารการสอบโดยในการสอบแต่ละครั้งจะมีการกำหนด รหัสผ่านในการเข้าสอบจะแบ่งเป็นรอบการสอบรอบละ 180 คนในการสอบครั้งที่ผ่านมาเมื่อนักศึกษาเข้าระบบเรียบร้อยแล้วนักศึกษาจะได้ข้อสอบจำนวน 60-80 ข้อ โดยข้อสอบที่นักศึกษาได้นั้นจะได้ข้อสอบที่ไม่เหมือนระบบจะทำการสุ่มข้อสอบจากระบบคลังข้อสอบ ระบบสามารถกำหนดเวลาในการทำข้อสอบหากนักศึกษาทำข้อสอบเกินเวลาจะระบบจะตัดการสอบทันที จากนั้นเมื่อนักศึกษาทำข้อสอบเส็ดระบบจะแสดงคะแนนที่นักศึกษาทันทีที่ส่งคำตอบ เว็บไซต์ www.exams2.ssru.ac.th
บรรยากาศในห้องสอบonline
องค์ความรู้ 6 ระบบเครือข่ายการเรียนรู้
ปีการศึกษา 2553
ในปีการศึกษา 2553 สำนักวิชาการศึกษาทั่วไปและนวัตกรรมการเรียนรู้อิเล็กทรอนิกส์ ได้จัดทำ
ตำราเรียน ประกอบด้วยหน่วยการเรียนรู้จำนวน 8 หน่วย
คู่มือการเรียนวิชาศึกษาทั่วไป ประกอบวิธีการต่าง ๆ ที่จะช่วยให้ผู้เรียนศึกษาด้วยตนเองง่ายขึ้น ไม่ว่าจะเป็น วิธีการทำความเข้าใจเกี่ยวกับการเรียนวิชาศึกษาทั่วไป / ผู้เรียนต้องปฏิบัติตนอย่างไร / กฎ กติกา มารยาท / ใช้คอมพิวเตอร์ที่ไหน / ถ้ามีปัญหาจะทำอย่างไร / ความสำคัญของรหัสผ่าน (Password) / การขอรหัสผ่าน (Password) / ข้อปฏิบัติสาหรับการยกเลิกรายวิชา / ข้อปฏิบัติสาหรับการเตรียมตัวสอบกลางภาค และปลายภาค / การขาดสอบและการขอสอบภายหลัง /วิธีการเรียนรู้ด้วยระบบ E-Learning / ส่วนประกอบของรายวิชา / ปฏิทินการจัดการเรียนหลักสูตรรายวิชาศึกษาทั่วไป / ตารางช่วงเวลาการเข้าเรียนหมวดรายวิชาศึกษาทั่วไป / คำแนะนำก่อนศึกษาบทเรียน
ปีการศึกษา 2554
ภาคเรียนที่ 1
ภาคเรียนที่ 2
มีการนำ KM เข้ามาใช้ในหน่วยงาน เกิดการแลกเปลี่ยนความรู้ซึ่งการและกัน นำไปสู่ปรับวิธีการจัดการเรียนการสอน โดยพัฒนามาเป็นเอกสารอิเล็กทรอนิกส์ประกอบการเรียนรายวิชาศึกษาทั่วไป (CD)
และในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2554 สำนักวิชาการศึกษาทั่วไปและนวัตกรรมการเรียนรู้อิเล็กทรอนิกส์ ได้จัดทำสมุดบันทึกรายวิชาศึกษาทั่วไปขึ้น รวมถึงการบันทึกข้อมูลเกี่ยวกับการจัดการเรียนการสอนลงในสื่อการเรียนรู้อิเล็กทรอนิกส์ (CD)
ปีการศึกษา 2555
มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง ทั้งแบบเป็นทางการ และแบบไม่เป็นทางการ มีการจัดโครงการประกวดการพัฒนาสื่อนวัตกรรมการเรียนการสอนรายวิชาศึกษาทั่วไปเพื่อส่งเสริมให้บุคลากรได้มีการพัฒนาศักยภาพในการทำงาน เป็นการสร้างขวัญและกำลังใจในการทำงาน เกิดสื่อนวัตกรรมที่มีคุณภาพสนับสนุนการเรียนด้วยตนเอง (เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ)
1. สภาพปัญหาหลังจากการเก็บรวบรวมข้อมูลและทำความข้าใจถึงวิธีการดำเนินงานของระบบสนับสนุนการเรียนการสอนในปัจจุบัน พบสาเหตุของปัญหาที่ทำให้การดำเนินงานไม่มีประสิทธิภาพ ดังสาเหตุต่อไปนี้
v ขั้นตอนการดำเนินงาน
§ ขาดระบบสารสนเทศในการสนับสนุนการดำเนินงาน
§ วิธีการดำเนินการแบบเก่ามีความล่าช้า
vการจัดเก็บข้อมูล
§ วิธีการเข้าถึงข้อมูลมีขั้นตอนที่ยุ่งยากใช้เวลาในการเข้าถึงค่อนข้างสูง
§ ไม่มีการเก็บข้อมูลแบบรวมศูนย์
§ เข้าถึงข้อมูลยาก
v ช่องทางในการติดต่อสื่อสาร
§ ผู้ช่วยอาจารย์ไม่มีเครื่องมือในการกระจายข่าวสารให้กับนักศึกษา
นักศึกษาขาดช่องทางในการเข้าถึงข้อมูลอย่างสะดวก
1. 2. หลังจากได้ใช้กระบวนการเกิดการแลกเปลี่ยนความรู้ซึ่งการและกัน (KM) วิเคราะห์สภาพปัญหาจึงได้สร้างระบบฐานข้อมูลจัดการเรียน ระบบสารสนเทศในปัจจุบันมีความจำเป็นอย่างมากในทุกกิจกรรมของการดำเนินการใดๆ การที่หน่วยงานที่มีการนำเอาระบบสารสนเทศมาใช้ดำเนินการจะสะท้อนถึงผลลัพธ์ที่ได้ในลักษณะต่างๆ เช่น ประสิทธิภาพในการดำเนินการ การลดขั้นตอนการดำเนินการ การลดต้นทุนค่าใช้จ่าย นำมาซึ่งผลตอบแทนที่เป็นที่พึงพอใจของหน่วยงาน
วัตถุประสงค์
1. เพื่อปรับปรุงกระบวนการในการดำเนินงานสนับสนุนการเรียนการสอนให้เป็นอัตโนมัติโดยใช้ระบบสารสนเทศเข้ามาสนับสนุนการทำงาน
2. เพื่อพัฒนาบุคลากรที่เกี่ยวข้องกับระบบให้สามารถใช้งานระบบสนับสนุนการเรียนการสอนได้อย่างมีประสิทธิภาพ