ความเป็นมาของชุมชนนักปฏิบัติ (กลุ่มกระบวนการปฏิบัติงานสนับสนุนวิชาการ)

              

               เนื่องจากมหาวิทยาลัยมีนโยบายสนับสนุนให้จัดกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างบุคคลกรภายใน และภายนอกในหลากหลายรูปแบบเกิดการต่อยอดองค์ความรู้ การพัฒนาบุคลากรพร้อมกับการพัฒนางานให้ดียิ่งขึ้นในปีงบประมาณ พ.ศ. 2552 เป็นการก่อตั้งชุมชนนักปฏิบัติเป็นครั้งแรกโดยใช้ชื่อกลุ่ม งานวิชาการ มีสมาชิกในกลุ่มจำนวน 5 คน โดยเชิญคณะ / วิทยาลัย / ศูนย์ให้การศึกษา กองบริการการศึกษา มาร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้เกี่ยวกับงานวิชาการ และได้เข้าร่วมสรรหา Best Practice ได้รับรางวัลการมีส่วนร่วม ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2553 ใช้ชื่อกลุ่ม การนำระบบ ISO มาใช้กับงานประจำ มีสมาชิกในกลุ่มจำนวน 37 คน และเข้าร่วมสรรหา Best Practice ได้รับรางวัลบอร์ดขวัญใจ และรางวัลการมีส่วนร่วม ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2554 ใช้ชื่อกลุ่ม K Sharing ESD มีสมาชิกในกลุ่มจำนวน 49 คน เป็นอีกครั้งที่กลุ่มได้เข้าร่วมการสรรหา Best Practice และถือเป็นปีที่ประสบผลสำเร็จตามที่หวังไว้ กลุ่มได้รับรางวัล Good Practice ในปีงบประมาณ 2555 กองบริการการศึกษาได้จัดตั้งชุมชนนักปฏิบัติ (COP) ชื่อกลุ่ม กระบวนการปฏิบัติงานสนับสนุน โดยเกิดจากการรวมตัวของบุคลากรกองบริการการศึกษา ร่วมกับทาง คณะ / วิทยาลัย / ศูนย์ให้การศึกษา ที่มีกระบวนการปฏิบัติงานที่เชื่อมโยงกัน มีหลายกระบวนการที่พบปัญหาในการติดต่อประสานงานระหว่างกองบริการการศึกษากับทาง คณะ / วิทยาลัย / ศูนย์ให้การศึกษา จึงได้จัดกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์การทำงาน ความรู้ความชำนาญ ของบุคลากรที่มีความรู้ความสามารถในด้านต่างๆ มาเป็นพี่เลี้ยงให้กับบุคลากรที่ยังขาดความรู้ความเข้าใจในงานวิชาการ สมาชิกในกลุ่มมีความพร้อมและเต็มใจที่จะเรียนรู้และแลกเปลี่ยนประสบการณ์ซึ่งกันและกัน

               กิจกรรมชุมชนนักปฏิบัติกองบริการการศึกษา นับเป็นกิจกรรมที่มีประโยชน์อย่างยิ่งต่อสมาชิกที่เข้ามาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ช่วยลดปัญหาที่เกิดขึ้นระหว่างหน่วยงาน เป็นการสร้างความสัมพันธ์อันดีระหว่างบุคลากรกองบริการการศึกษา และบุคลากรจากคณะ / วิทยาลัย / ศูนย์ให้การศึกษา นำไปสู่การถ่ายทอดประสบการณ์ การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ จากพี่สู่น้อง และเป็นการสร้างเครือข่ายระหว่างบุคลากรภายในมหาวิทยาลัย