กลุ่มความรู้ได้เชิญวิทยากรจากสถาบันวิจัยและพัฒนามาให้ความรู้ในเรื่องแบบเสนอโครงการวิจัยเพื่อขอรับทุน และสมาชิกได้เสนอโครงการวิจัยเพื่อขอรับทุน รายละเอียด ดังนี้
แบบเสนอโครงการวิจัย (Research project)
ประกอบการเสนอของบประมาณ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2554 ตามมติคณะรัฐมนตรี
------------------------------------
ชื่อโครงการวิจัย (ภาษาไทย) การพัฒนาระบบสารสนเทศการประกันคุณภาพและการบริหารงาน มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
(ภาษาอังกฤษ) INFORMATION SYSTEM DEVELOPMENT FOR QUALITY ASSURANCE IN EDUCATION AND ADMINISTRATION : SUAN SUNUNDHA RAJABHAT UNIVERSITY
ชื่อแผนงานวิจัย (ภาษาไทย) (กรณีเป็นโครงการวิจัยภายใต้แผนงานวิจัย) .......................-......................
(ภาษาอังกฤษ) .................................................-...............................................................
ส่วน ก. : ลักษณะโครงการวิจัย
√ โครงการวิจัยใหม่
I ระบุความสอดคล้องของโครงการวิจัยกับยุทธศาสตร์การพัฒนาประเทศตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 10 (พ.ศ. 2550-2554) (กรุณาระบุความสอดคล้องเพียง 1 ยุทธศาสตร์ ที่มีความสอดคล้องมากที่สุด โดยโปรดดูรายละเอียดในผนวก 2)
โครงการวิจัยนี้มีความสอดคล้องกับยุทธศาสตร์ที่ 1. ยุทธศาสตร์การพัฒนา คุณภาพคนและสังคมไทยสู่สังคมแห่งภูมิปัญญาและการเรียนรู้
- ระบุความสำคัญกับเรื่องที่สอดคล้องมากที่สุดในยุทธศาสตร์นั้น ๆ (โปรดดูรายละเอียดในผนวก 2)
โครงการนี้มีความสอดคล้องมากที่สุดกับเรื่อง1.1 การพัฒนาคนให้มีคุณธรรมนำความรู้ เกิดภูมิคุ้มกัน
II ระบุความสอดคล้องของโครงการวิจัยกับนโยบายและยุทธศาสตร์การวิจัยของชาติ (พ.ศ. 2551-2554)
(กรุณาระบุความสอดคล้องเพียง 1 ยุทธศาสตร์ 1 กลยุทธ์ และ 1 แผนงานวิจัยที่มีความสอดคล้องมากที่สุด โดยโปรดดูรายละเอียดในผนวก 3)
โครงการนี้สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ กลยุทธ์และและแผนงานวิจัย ดังต่อไปนี้
- ยุทธศาสตร์การวิจัยที่ 2 การสร้างศักยภาพและความสามารถเพื่อการพัฒนาทางสังคม
- กลยุทธ์การวิจัยที่ 1 ปฏิรูปการศึกษา กระบวนการเรียนการสอน ทั้งในและนอกระบบ ตลอดจนการพัฒนาระบบการเรียนรู้ด้วยตนเอง ระบบสนับสนุนการเรียนรู้ตลอดชีวิต ที่ สอดคล้องกับวิถีชีวิตในแต่ละท้องถิ่น
- แผนงานวิจัยที่
1.1 การวิจัยเกี่ยวกับการปฏิรูปการศึกษา
1.2 การวิจัยเกี่ยวกับการพัฒนาคุณภาพการศึกษาที่เหมาะสมกับท้องถิ่น
1.3 การวิจัยเกี่ยวกับการพัฒนาระบบการเรียนรู้ด้วยตนเอง
III ระบุความสอดคล้องของโครงการวิจัยกับกลุ่มเรื่องที่ควรวิจัยเร่งด่วนตามนโยบาย และยุทธศาสตร์การวิจัยของชาติ (พ.ศ. 2551-2554) (โปรดดูรายละเอียดในผนวก 3)
- โครงการนี้สอดคล้องกับ กลุ่มเรื่อง 3. การปฏิรูปการศึกษา
IV ระบุความสอดคล้องของโครงการวิจัยกับนโยบายรัฐบาล (กรุณาระบุความสอดคล้องเพียง 1 หัวข้อที่มีความสอดคล้องมากที่สุด โดยโปรดดูรายละเอียดในผนวก 4)
นโยบายเร่งด่วนที่จะเริ่มดำเนินการในปีแรก :
โครงการนี้สอดคล้องกับ เรื่อง 1.1.7 เร่งลงทุนเพื่อการพัฒนาประเทศ โดยให้ความสำคัญแก่โครงการลงทุนที่มีความ คุ้มค่ามากที่สุด เพื่อเสริมสร้างบรรยากาศการลงทุน ยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชน และ เพิ่มความสามารถในการแข่งขันของประเทศ โดยเฉพาะการลงทุนเพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษาทั้งระบบ
- นโยบายระยะการบริหารราชการ 3 ปี ของรัฐบาล :
โครงการนี้สอดคล้องกับ นโยบาย 2.2 นโยบายสังคมและคุณภาพชีวิตและ 2.2.1 นโยบายการศึกษา
ส่วน ข : องค์ประกอบในการจัดทำโครงการวิจัย
1. ผู้รับผิดชอบนายพิบูลย์ พูม่วงนักวิเคราะห์นโยบายและแผน มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา เลขที่ 1 ถนน อู่ทองนอก เขตดุสิต กรุงเทพฯ โทรศัพท์084-160-7165อีเมล์phibool_009@hotmail.com
2. ประเภทการวิจัยวิจัยเชิงปริมาณ
3. สาขาวิชาการและกลุ่มวิชาที่ทำการวิจัยวิจัยสถาบัน
4. คำสำคัญ (key words) ของโครงการวิจัย
ระบบสารสนเทศ การประกันคุณภาพ การบริหารงาน ฐานข้อมูล คลังข้อมูล
Information System Quality Assurance in Education Administration
Database Data Warehouse
5. ความสำคัญและที่มาของปัญหาที่ทำการวิจัย
ปัจจุบันนี้เป็นยุคแห่งข้อมูลข่าวสาร เป็นที่ทราบกันดีว่าสารสนเทศ เป็นหัวใจหลักของการดำเนินงานของแต่ละหน่วยงานทั้งในภาครัฐและเอกชนที่สนับสนุนการตัดสินใจของผู้บริหาร ซึ่งถือว่าเป็นอาวุธสำคัญที่จะช่วยเพิ่มความสามารถในการแข่งขันกับองค์กรต่าง ๆ และในช่วงสองทศวรรษที่ผ่านมา ปริมาณการจัดเก็บข้อมูลหรือสารสนเทศในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ได้เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะในการบริหารการศึกษา มีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องให้มีประสิทธิภาพ ทันสมัยหรือทันต่อความเจริญก้าวหน้าทางเทคโนโลยี โดยเฉพาะทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ ซึ่งจะเห็นว่าหน่วยงานทางการศึกษาตั้งแต่ระดับกระทรวง ทบวง กรม ได้มีการนำมาใช้ในการดำเนินงานเกือบทุกด้านและมีโครงการนำเทคโนโลยีมาใช้เพื่อการบริหารและการจัดการศึกษาในมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา ไม่ว่าจะเป็นงานด้านทะเบียนและวัดผล งานด้านสารบรรณ งานห้องสมุด งานจัดการเรียนการสอน เป็นต้น
ระบบงานประกันคุณภาพการศึกษา นับว่าเป็นระบบหนึ่งที่มีความสำคัญยิ่ง ซึ่งให้เป็นไปตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 ที่ได้กำหนดให้การจัดการศึกษายึดหลักให้มีมาตรฐานและการประกันคุณภาพการศึกษา ซึ่งตั้งแต่ปี พ.ศ. 2542 เป็นต้นมา สถาบันอุดมศึกษาได้นำระบบการประกันคุณภาพเข้ามาใช้เป็นเครื่องมือในการกำกับการบริหารมหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทาเป็นหนึ่งในสถาบันอุดมศึกษาที่ต้องมีการปรับระบบบริหารให้เข้าสู่ระบบ การบริหารจัดการคุณภาพทั้งภายใต้หลักเกณฑ์ของ สกอ. สมศ. กพร. และ PMQA ปัญหาใหญ่ที่สำคัญที่สุดของมหาวิทยาลัยคือการจัดการข้อมูลที่เป็นจริงและเป็นปัจจุบัน เพื่อใช้เป็นฐานในการวางแผนการบริหารเชิงกลยุทธ์ ข้อมูลในระดับหน่วยงานจัดการศึกษา และหน่วยงานสนับสนุนการจัดการศึกษา เมื่อรวมกันมักจะไม่สอดคล้องกับข้อมูลของมหาวิทยาลัย และผู้ที่ต้องการค้นหาข้อมูลด้านงานประกันคุณภาพการศึกษามักจะประสบปัญหาในการสืบค้นข้อมูลที่ต้องการ
จากปัญหาและอุปสรรคข้างต้นประกอบกับได้มีการยกฐานะขึ้นมาเป็นมหาวิทาลัยผู้วิจัยจึงคิดทำการพัฒนาระบบสารสนเทศการประกันคุณภาพและการบริหารงาน มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา โดยการนำลักษณะการจัดเก็บข้อมูลในรูปแบบฐานข้อมูล(Database) และรูปแบบคลังข้อมูล (Data Warehouse) มาใช้ในงานวิจัย เพื่อรวบรวมข้อมูลพื้นฐานโดยใช้คอมพิวเตอร์ และเพื่อให้กระบวนการรวบรวม จัดเก็บ การวิเคราะห์ การประมวลผลและบริหารข้อมูลที่มีประสิทธิภาพ และตอบโจทย์ตามตัวบ่งชี้ของทุกหน่วยประเมิน เป็นไปในทิศทางเดียวกันและเชื่อมโยงกันได้เป็นระบบ นำไปสู่การผลิตสารสนเทศแบบต่าง ๆ และสามารถเรียกค้นได้โดยง่ายผ่านเครือข่ายอินเตอร์เน็ต ซึ่งจะช่วยสนับสนุนให้การใช้งานเป็นไปอย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
6. วัตถุประสงค์ของโครงการวิจัย
6.1 เพื่อศึกษาและนำเทคโนโลยีสารสนเทศการจัดเก็บข้อมูลในรูปแบบฐานข้อมูล (Database) และรูปแบบคลังข้อมูล (Data Warehouse) มาใช้ในการประกันคุณภาพการศึกษา ของมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
6.2 เพื่อพัฒนาระบบการนำเข้าข้อมูลสารสนเทศด้านการประกันคุณภาพการศึกษา ของมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
6.3 เพื่อให้ผู้ใช้งานระบบนี้สามารถเรียกดูและนำสารสนเทศที่ได้ผ่านทางระบบนี้ไปใช้ประโยชน์ได้อย่างสะดวกและรวดเร็ว
7. ขอบเขตของโครงการวิจัย
7.1 ศึกษาข้อมูลด้านการประกันคุณภาพการศึกษาของมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
7.2 ออกแบบและพัฒนาระบบสารสนเทศด้านการประกันคุณภาพการศึกษา เพื่อเป็นระบบกลางในการให้บริการสารสนเทศด้านการประกันคุณภาพการศึกษาของมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา โดยครอบคลุมการใช้งานของบุคลากรดังต่อไปนี้
ประชากร -
กลุ่มตัวอย่าง
7.2.1 บุคลากรด้านงานประกันคุณภาพของแต่ละหน่วยงานสามารถใช้งานระบบสารสนเทศด้านการประกันคุณภาพการศึกษา
7.2.2 ผู้บริหาร อาจารย์ เจ้าหน้าที่และผู้ใช้งานทั่วไป สามารถเรียกดูและค้นหาข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับสารสนเทศด้านการประกันคุณภาพการศึกษา ของมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
เนื้อหาของเครื่องมือ
รายละเอียดของเครื่องมือในการประเมินเพื่อหาประสิทธิภาพของระบบ (แบบประเมิน) แบ่งออกเป็น 4 ด้าน ดังนี้
- แบบประเมินระบบความสามารถตรงความต้องการ (Functional Requirement Evaluation)
- แบบประเมินระบบด้านหน้าที่ของระบบ (Functional Evaluation)
- แบบประเมินระบบด้านการใช้งานของระบบ (Usability Evaluation)
- แบบประเมินระบบด้านความปลอดภัยของระบบ (Security Evaluation)
8. ทฤษฎี สมมุติฐาน (ถ้ามี) และกรอบแนวความคิดของโครงการวิจัย
สมมุติฐานของโครงการวิจัยครั้งนี้ คือ หลังการฝึกอบรมการใช้ระบบสารสนเทศการประกันคุณภาพและการบริหารงาน มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา สำหรับผู้ดูแลระบบและผู้ใช้งานระบบมีความรับรู้และเข้าใจระบบสารสนเทศการประกันคุณภาพและการบริหารงานที่ดีขึ้น และมีข้อผิดพลาดน้อยลงในการนำข้อมูลเข้าสู่ระบบ
10. การทบทวนวรรณกรรม/สารสนเทศ (information) ที่เกี่ยวข้อง
a. ข้อมูลเบื้องต้นเกี่ยวกับงานประกันคุณภาพการศึกษา
b. แนวคิดและทฤษฎี ที่เกี่ยวกับ คลังข้อมูล (Data Warehouse)
c. งานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับคลังข้อมูล
11. เอกสารอ้างอิงของโครงการวิจัย
หนังสือ
สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา.คู่มือการประกันคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษา ระดับอุดมศึกษา พ.ศ. 2553 กรุงเทพฯ: ห้างหุ้นส่วนจำกัด ภาพพิมพ์
สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (องค์การมหาชน). คู่มือการประเมินคุณภาพภายนอกรอบสาม (พ.ศ.2554-2558) ระดับอุดมศึกษา ฉบับสถานศึกษา พ.ศ. 2554.
มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา. คู่มือการประกันคุณภาพการศึกษาภายในและภายนอก ประจำปีการศึกษา 2553.
โอภาส เอี่ยมสิริวงศ์. การออกแบบและจัดการฐานข้อมูล (Database Design and Management) : ซีเอ็ดยูเคชั่น จำกัด , 2546
งานวิจัย
นางสาวภรัณยา อำมฤครัตน์. “การพัฒนาระบบสารสนเทศด้านการประกันคุณภาพการศึกษา กรณีศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม” สารนิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร , 2549
12. ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ คือ
11.1 ได้ระบบสารสนเทศสำหรับการจัดเก็บ รวบรวม ประมวลข้อมูล งานด้านการประกันคุณภาพการศึกษา ของมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
11.2 ได้ระบบสารสนเทศที่ช่วยลดเวลา และแรงงานในการปฏิบัติงาน
11.3 สามารถนำมาใช้ในงานบริหาร
11.3.1 ผู้บริหารสามารถเรียกค้นได้ด้วยตนเองโดยตรงผ่าน ระบบเครือข่ายมหาวิทยาลัย
11.3.2 ผู้บริหารสามารถติดตามข้อมูลได้อย่างต่อเนื่อง สืบค้นสารสนเทศได้อย่างสะดวก รวดเร็ว
13. แผนการถ่ายทอดเทคโนโลยีหรือผลการวิจัยสู่กลุ่มเป้าหมาย
ในการการพัฒนาระบบสารสนเทศการประกันคุณภาพและการบริหารงาน มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทานี้ ผู้วิจัยได้มีแผนการจัดฝึกอบรมให้ผู้ดูแลระบบและผู้ใช้งานระบบพร้อมกับเตรียมจัดทำคู่มือการใช้งานระบบเพื่อให้ผู้ดูแลระบบและผู้ใช้งานระบบใช้งานได้ง่ายยิ่งขึ้น
14. วิธีการดำเนินการวิจัย และสถานที่ทำการทดลอง/เก็บข้อมูล
a. ศึกษาข้อมูลเบื้องต้นเกี่ยวกับการประกันคุณภาพการศึกษาของมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทาและการทำงานของการจัดเก็บข้อมูลแบบฐานข้อมูล (Database) และคลังข้อมูล (Data Warehouse)
b. ออกแบบฐานระบบสารสนเทศการประกันคุณภาพและการบริหารงาน มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
c. สร้างและพัฒนาระบบสารสนเทศการประกันคุณภาพและการบริหารงาน มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา โดยใช้ระบบจัดการฐานข้อมูล My SQL และโปรแกรม ภาษา PHP
d. ทดสอบและปรับปรุงระบบสารสนเทศการประกันคุณภาพและการบริหารงาน มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
e. การวิเคราะห์และประเมินผลระบบสารสนเทศการประกันคุณภาพและการบริหารงาน มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
15. ระยะเวลาทำการวิจัย และแผนการดำเนินงานตลอดโครงการวิจัย (ให้ระบุขั้นตอนอย่างละเอียด)
ช่วงเวลา
|
กิจกรรมการดำเนินงาน
|
หมายเหตุ
|
เมษายน 2554
|
ผู้วิจัยศึกษาข้อมูลเบื้องต้นเกี่ยวกับการประกันคุณภาพการศึกษาของมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทาและการทำงานของการจัดเก็บข้อมูลแบบฐานข้อมูล (Database) และคลังข้อมูล (Data Warehouse)
|
|
พฤษภาคม 2554
|
ผู้วิจัยออกแบบฐานระบบสารสนเทศการประกันคุณภาพและการบริหารงาน
|
|
พฤษภาคม 2554
|
การสร้างและพัฒนาระบบ โดยใช้ระบบจัดการฐานข้อมูล My SQL และโปรแกรม ภาษา PHP
|
|
มิถุนายน 2554
|
การวางแผนการทดสอบระบบ
|
|
กรกฎาคม 2554
|
การจัดเตรียมข้อมูลเพื่อนำเข้าระบบใหม่
|
|
กรกฎาคม 2554
|
การนำข้อมูลเข้าสู่ระบบ
|
|
สิงหาคม 2554
|
ตรวจสอบระบบ
|
|
สิงหาคม 2554
|
การจัดฝึกอบรมผู้ดูแลระบบ
|
|
สิงหาคม 2554
|
การจัดฝึกอบรมผู้ใช้งานระบบ
|
|
กันยายน 2554
|
แก้ไขข้อบกพร่องในการทำงานของระบบ
|
|
กันยายน 2554
|
ผู้วิจัยวิเคราะห์และประเมินผลระบบ
|
|
16. ปัจจัยที่เอื้อต่อการวิจัย (อุปกรณ์การวิจัย, โครงสร้างพื้นฐาน ฯลฯ) ระบุเฉพาะปัจจัยที่ต้องการเพิ่มเติม -
17. งบประมาณของโครงการวิจัย
16.1 รายละเอียดงบประมาณการวิจัย จำแนกตามงบประเภทต่าง ๆ [ปีงบประมาณที่เสนอขอ (ผนวก 6)]
รายการ
|
จำนวนเงิน
|
1. งบดำเนินงาน
1.1 ค่าตอบแทน
1.2 ค่าใช้สอย
- ค่าวิเคราะห์เอกสาร
- ค่าพิมพ์เอกสาร
1.3 ค่าวัสดุ
- ค่ากระดาษ A4
- ค่าถ่ายเอกสาร
|
-
3,000.00
1,000.00
500.00
500.00
|
2. ค่าสาธารณูปโภค
|
-
|
รวมงบประมาณที่เสนอขอ
|
5,000.00
|
18. ผลสำเร็จและความคุ้มค่าของการวิจัยที่คาดว่าจะได้รับ
หากงานวิจัยครั้งนี้ประสบความสำเร็จ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทาจะมีระบบการจัดเก็บรวบรวม การวิเคราะห์ การประมวลผลและบริหารข้อมูลที่มีประสิทธิภาพ และตอบโจทย์ตามตัวบ่งชี้ของทุกหน่วยประเมิน เป็นไปในทิศทางเดียวกันและเชื่อมโยงกันได้เป็นระบบ นำไปสู่การผลิตสารสนเทศแบบต่าง ๆ และบุคลากรสามารถเรียกค้นได้โดยง่ายผ่านเครือข่ายอินเตอร์เน็ต ซึ่งจะช่วยสนับสนุนให้การใช้งานเป็นไปอย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นและจะเป็นแนวทางให้พัฒนางานวิจัยประเภทเดียวกันในระดับสูงขึ้นไปอีกด้วย
19. โครงการวิจัยต่อเนื่องปีที่ 2 ขึ้นไป -
20. คำชี้แจงอื่น ๆ (ถ้ามี) -
21. ลงลายมือชื่อ หัวหน้าโครงการวิจัย พร้อมวัน เดือน ปี
นายพิบูลย์ พูม่วง
หัวหน้าโครงการวิจัย
27 กรกฎาคม 2554
ส่วน ค : ประวัติคณะผู้วิจัย
1. ชื่อ - นามสกุล (ภาษาไทย) นายพิบูลย์ พูม่วง
ชื่อ - นามสกุล (ภาษาอังกฤษ) MR.PHIBOOL PHUMUANG
2. เลขหมายบัตรประจำตัวประชาชน 3-6106-00396-94-0
3. ตำแหน่งปัจจุบัน นักวิเคราะห์นโยบายและแผน
4. หน่วยงานและสถานที่อยู่ที่ติดต่อได้สะดวก พร้อมหมายเลขโทรศัพท์ โทรสาร และไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ (e-mail)
กองนโยบายและแผน สำนักงานอธิการบดี มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา เลขที่ 1 ถนนอู่ทองนอก แขวงดุสิต เขตดุสิต กรุงเทพฯ 10300
5. ประวัติการศึกษา
วุฒิ
|
สถานศึกษา
|
ปีที่สำเร็จ
|
ศศ.บ. (รัฐศาสตร์)
(เกียรตินิยมอันดับ 2) (บริหารรัฐกิจ)
|
มหาวิทยาลัยรามคำแหง
|
2546
|
ศศ.ม. (รัฐศาสตร์)
|
มหาวิทยาลัยรามคำแหง
|
2551
|
6. สาขาวิชาการที่มีความชำนาญพิเศษ (แตกต่างจากวุฒิการศึกษา) ระบุสาขาวิชาการ -
7. ประสบการณ์ที่เกี่ยวข้องกับการบริหารงานวิจัยทั้งภายในและภายนอกประเทศ โดยระบุสถานภาพในการทำการวิจัยว่าเป็นผู้วิจัยเคยทำวิจัยเฉพาะเพื่อการสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโท
หมายเหตุ: 1. กรณีที่หน่วยงานมิได้ทำการวิจัยเองแต่ใช้วิธีจัดจ้าง โปรดใช้ แบบ ว–1ด โดยระบุรายละเอียดตามแบบฟอร์มที่กำหนดไว้ให้มากที่สุด พร้อมทั้งแนบแบบข้อกำหนด (terms of reference-TOR) การจัดจ้างการทำวิจัยด้วย
2. กรณีเป็นโครงการวิจัยต่อเนื่องที่ได้รับการจัดสรรงบประมาณในปีงบประมาณที่ผ่านมา และนักวิจัยมีความประสงค์จะเสนอของบประมาณการวิจัยในปีงบประมาณต่อไป ต้องจัดทำโครงการวิจัยประกอบการเสนอของบประมาณด้วย
3. ระบุข้อมูลโดยละเอียดในแต่ละหัวข้ออย่างถูกต้องและครบถ้วนสมบูรณ์ เพื่อประโยชน์ในการประเมินผล
4. กรณีโครงการวิจัยที่มีการใช้สัตว์ ให้ปฏิบัติตามจรรยาบรรณการใช้สัตว์เพื่องานทาง วิทยาศาสตร์ สภาวิจัยแห่งชาติ (ผนวก 11) และจัดทำเอกสารแนบตามแบบฟอร์ม ใบรับรองในผนวก 12 จำนวน 1 ชุด