การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ครั้งที่ 2

“Teach Less Learn More”


วันที่ 30 มิถุนายน 2554
ผศ.ชัยวัฒน์ ตัณฑรังษี ได้มาเล่าถึงที่มาและเล่าประสบการณ์เกี่ยวกับ “Teach less Learn more” ท่านได้ศึกษาว่าประเทศสิงคโปร์ได้นำกระบวนการนี้มาใช้กับนักศึกษาของเขา และผลที่ออกมาเด็กมีความสนใจและเรียนรู้ได้ดีกว่าการสอนแบบเดิมๆ เพราะการสอนเดิมๆตามตำรานั้น เด็กจะเบื่อ ไม่มีความสนใจและจำได้ไม่ดีเท่ากับการเรียนรู้ด้วยตนเองกับสิ่งที่เด็กสนใจ บรรยากาศการเรียนจะเปลี่ยนไป
Teach less ไม่ได้หมายความว่า ลดชั่วโมงสอนให้น้อยลง แต่หมายถึง ทำสิ่งเหล่านี้ให้น้อยลง คือ เรียนจากการจำให้น้อยลง ทำแบบฝึกหัดน้อยลง
Learn more หมายความว่า เพิ่มในส่วนของ
      1.ความท้าทายในการเรียน
      2.การมีส่วนร่วมของนักศึกษา อาจารย์ และสร้างสังคมการเรียนรู้
      3.การสอนแบบหลากหลาย มีการให้โอกาสแสดงออกทางความคิด การนำเสนอ การค้นคว้าด้วยตนเอง
      4.การเรียนที่มีความสัมพันธ์กับชีวิตการทำงาน เรียนรู้กับการทำงานจริง


ผศ.ชัยวัฒน์ ตัณฑรังษี ได้นำกระบวนการนี้ไปใช้แล้วพบว่า ดีขึ้นนักศึกษาให้ความสนใจ กล้าแสดงออกทางความคิดและการนำเสนอที่ดี และทำได้ดีในสิ่งที่ตนเองสนใจ ผศ.ชัยวัฒน์ ตัณฑรังษี ได้มองถึงการนำระบบICT ที่จะสามารถเข้ามามีบทบาทในการเรียนการสอนที่มากขึ้นเพราะ เด็กสมัยนี้จะเก่งและให้ความสนใจกับระบบ ICT มาก การเรียนรู้ที่กว้างขึ้น การสอนควรจะมีการนำ Social network เข้ามามีส่วนในการแลกเปลี่ยนมาขึ้น ท่านกล่าวว่ากระบวนการ Teach Less Learn More จริงๆแล้วควรผนวกเข้ากับ TQF ได้เป็นอย่างดีในการกำหนดวิธีการสอนของแต่ละสาขาวิชา และการนำกระบวนการ Teach less Learn more ไปใช้นั้นต้องสำรวจความพึงพอใจของนักศึกษาควบคู่ไปด้วยเพื่อจะนำมาปรับปรุงกระบวนการสอนต่อไป 


หลังจากนั้น อ.ชุติมา พัฒนพงศ์ ได้เปิดประเด็นว่าจากที่ฟัง ผศ.ชัยวัฒน์ ตัณฑรังษี แล้วอาจารย์ที่เข้าร่วมได้อะไรบ้างจากที่กระบวนการดังกล่าว และเราจะได้แลกเปลี่ยนประสบการณ์ในเรื่องนี้กัน


อ.อาทิตย์ ศรีจันทร์ ได้เล่าถึงประสบการณ์ของตัวเอง โดยมองว่าเห็นด้วยกับกระบวนการนี้ แต่มีข้อจำกัดตรงทรัพยากรการเรียนรู้ เช่น ห้องสมุดที่คณะควรจะมี


อ.ปิยะนุช สุดจิต ได้กล่าวถึงประเด็นอ.อาทิตย์ ว่าน่าจะใช้การสั่งซื้อผ่านศึกษาภัณฑ์และ อ.วรรณรัตน์ บรรจงเขียน เสนอเรื่องการจัดทำ E-Book โดยมอบให้สำนักหอสมุดดำเนินการในกรณีที่หนังสือหายาก ซึ่งสามารถทำได้ทันที


อ.สุพร ได้กล่าวถึง งบประมาณที่มีจำกัดของคณะกับการจัดห้องสมุด
เพื่อให้เกิดผลดีแก่การปฏิบัติ อ.ณัฐภัทร แก้วรัตนภัทร์ ได้นำเสนอวิธีการแลกเปลี่ยนผ่านช่องทาง Facebook พร้อมยกตัวอย่างให้อาจารย์มีความเข้าใจในการใช้ช่องทาง และอาจารย์ณัฐภัทร แก้วรัตนภัทร์ จะมีหน้าที่เป็นคุณวิศาสตร์ในการเผยแพร่ผ่านสื่อด้วย

หลังจากนั้นเมื่ออธิบายกระบวนการเสร็จ อ.วรรณรัตน์ บรรจงเขียน ได้ให้การอธิบายถึงเกณฑ์ 7 ขั้นตอน การทำ KM ของมหาวิทยาลัย และขอให้สาขาวิชาแต่ละสาขาแต่งตั้งบทบาทหน้าที่ของคนในสาขาว่าใครทำหน้าที่ใดและให้ส่งรายชื่อแต่ละท่านพร้อมบทบาทหน้าที่เพื่อเก็บรวบรวม โดยให้สาขาแต่ละสาขาไปแลกเปลี่ยนประสบการณ์ในเรื่องดังกล่าวและนำผลการแลกเปลี่ยนที่ได้มาประชุมแลกเปลี่ยนกันครั้งต่อไป โดยคณบดีขอเชิญประชุมครั้งต่อไป ในวันที่ 6 กรกฎาคม 2554 เวลา 14.00 น. และที่ประชุมรับทราบ


ชัยวัฒน์ รุ่งนิ่ม
ผู้สรุปการประชุม