เทคนิคการเขียนข้อเสนอโครงการวิจัยเพื่อขอรับทุนจากแหล่งทุนภายนอก : วิทยาลัยโลจิสติกส์และซัพพลายเชน

         รายงานการจัดการความรู้ฉบับนี้ เป็นรายงานการดาเนินการจัดการความรู้ (Knowledge Management : KM) ประจาปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๖ เรื่อง การเขียนข้อเสนอโครงการวิจัยเพื่อขอรับทุนจากแหล่งทุนภายนอก โดยคณะทางานของชุมชนนักปฏิบัติ (Community of Practice-CoP) กลุ่มความรู้ แผนที่ ๒ กลุ่มการเขียนข้อเสนอโครงการวิจัยเพื่อขอรับทุนจากแหล่งทุนภายนอก วิทยาลัยโลจิสติกส์และซัพพลายเชน มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา วิทยาเขตนครปฐม
          การจัดการความรู้ (Knowledge management: KM) เป็นกระบวนการรวบรวมองค์ความรู้ที่มีอยู่ในตัว บุคคลหรือในรูปแบบอื่น ๆ เช่น เอกสาร เป็นต้น นามาพัฒนาให้เป็นระบบเพื่อให้บุคลากรทุกคนในองค์กรเข้าถึง ความรู้ พัฒนาตนเองให้เป็นผู้รู้ และสามารถปฏิบัติงานของตนได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งความรู้ (Knowledge) ใน ที่นี้แบ่งออกได้เป็น ๒ ประเภทสาคัญ ได้แก่ ประเภทที่หนึ่ง คือ ความรู้ที่ฝังอยู่ในตัวบุคคล (Tacit knowledge) ซึ่งเป็นความรู้ที่อยู่ในตัวคนแต่ละคนอันเกิดจากการเรียนรู้ ประสบการณ์ หรือสัญชาติญาณของแต่ละคนในการทา ความเข้าใจสิ่งต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นกับตน ถือเป็นความรู้ที่ไม่สามารถถ่ายทอดออกมาเป็นคาพูดหรือลายลักษณ์อักษร หรือถ่ายถอดออกมาได้ยาก เช่น ทักษะในการทางาน กระบวนการคิด เป็นต้น และประเภทที่สอง คือ ความรู้ที่ชัดแจ้ง (Explicit knowledge) ซึ่งเป็นความรู้ที่เป็นเหตุเป็นผล ผ่านการวิเคราะห์และสังเคราะห์จนเป็นหลักทั่วไป สามารถรวบรวมและถ่ายทอดได้ผ่านวิธีการต่าง ๆ เช่น การบันทึก หนังสือ คู่มือ เป็นต้น
           กลุ่มความรู้การเขียนข้อเสนอโครงการวิจัยเพื่อขอรับทุนจากแหล่งทุนภายนอกให้ความสาคัญกับกระบวนการ จัดการความรู้ดังกล่าวข้างต้น และเป็นการ สอดคล้องกับนโยบายและทิศทางของแผนการจัดการความรู้ของมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา ได้จัดในประเด็นสาคัญที่สอดคล้องกับการประเมินความเสี่ยงของคณะทางด้านการได้รับทุนจากแหล่งทุนภายนอก คือ การเขียนข้อเสนอโครงการวิจัยเพื่อขอรับทุนจากแหล่งทุนภายนอก ซึ่งคาดหวังว่า โครงการนี้จะช่วยให้เกิดแนวปฏิบัติที่ดีด้านการวิจัยในประเด็นนี้ นาไปสู่การได้รับทุนจากแหล่งทุนภายนอกมหาวิทยาลัยมากขึ้นในปีต่อ ๆ ไปในอนาคต