กระบวนการพัฒนาระบบคลังหน่วยกิต (Credit bank System) ในรูปแบบ Web Application

         ในปี พ.ศ. 2565 ประเทศไทยได้ตระหนักถึงความสำคัญและการจัดการศึกษาเพื่อพัฒนาบุคคลให้เป็น ผู้เรียนรู้ได้ตลอดชีวิต (Lifelong Learning) ระบบการเชื่อมโยงการศึกษาในรูปแบบต่างๆ เพื่อให้เกิดฐานข้อมูล ขนาดใหม่ (Big Data) ผ่านคลังหน่วยกิตแห่งชาติ (National Credit Bank System : NCBS) ที่เชื่อมโยงระหว่าง ข้อมูลกระทรวงและสถานบันการศึกษา ดังนั้น กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) ตามกฎกระทรวงมาตรฐานหลักสูตรการศึกษาระดับอุดมศึกษา พ.ศ. 2565 ลงวันที่ 10 มีนาคม พ.ศ. 2565 พร้อม ทั้งออกประกาศฉบับใหม่เกี่ยวกับคลังหน่วยกิต เพื่อให้ทันต่อสถานการณ์สังคมโลกที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว  และเทียบเท่าระดับนานาชาติ  

          มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา ได้ให้ความสำคัญกับนโยบายของกระทรวง อว. ส่งเสริมการจัดการเรียนรู้ ในรูปแบบการเรียนรู้ตลอดชีวิต (Lifelong Learning) จึงด าเนินการออก ระเบียบมหาวิทยาลัย ว่าด้วยการศึกษา ระบบคลังหน่วยกิต พ.ศ. 2565 และต้องด าเนินการผ่านระบบคลังหน่วยกิต (Credit Bank System) ของมหาวิทยาลัย โดยสอดคล้องกับแผนการดำเนินงานโครงการพัฒนาระบบสารสนเทศการบริหารองค์กร ซึ่งการจัดการศึกษาระบบคลังหน่วยกิตเป็นบริหารจัดการโดยมีระบบคลังหน่วยกิตเป็นจุดศูนย์กลาง และดำเนินการผ่านหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้การออกแบบระบบคลังหน่วยกิต เป็นไปตามระเบียบและนโยบายของมหาวิทยาลัย  ซึ่งในปีงบประมาณ 2566 กลุ่มความรู้ กลุ่มบริการการศึกษา ได้จัดกิจกรรมการจัดการความรู้และได้องค์ความรู้ เรื่อง การออกแบบกระบวนการคลังหน่วยกิต (CREDIT BANK) มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา จึงทำให้ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 กลุ่มความรู้กลุ่มบริการการศึกษา จึงได้ต่อยอดองค์ความรู้เดิมคือ กระบวนการคลังหน่วยกิต (CREDIT BANK) ที่ผ่านการออกแบบไว้จากกระบวนการจัดการความรู้ โดยนำกระบวนการคลังหน่วยกิต (CREDIT BANK) มาพัฒนาระบบคลังหน่วยกิต (Credit bank System)
ในรูปแบบ Web Application