การจัดการเรียนรู้โดยใช้ชุมชนเป็นฐาน เป็นกลยุทธ์หรือรูปแบบการจัดการเรียนรู้ที่บูรณาการเนื้อหาตามหลักสูตรให้เชื่อมโยงกับชุมชนโดยใช้การปฏิบัติงานเป็นฐาน ให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้จากการลงมือปฏิบัติงานจากสถานการณ์จริงในชุมชน ภายใต้การมีส่วนร่วมครูผู้เรียน และกลุ่มคนในชุมชน เช่นการไปศึกษาเรื่องประวัติศาสตร์วัฒนธรรม การทามาหากิน หัตถกรรม การศึกษาพยาบาลแบบพื้นบ้านจากบุคคล และองค์กรในชุมชนนอกเหนือไปจากการเรียนรู้ในห้องเรียน กระบวนการสาคัญของการเรียนรู้ใช้การสะท้อนคิดเชิงวิพากษ์ซึ่งจะช่วยให้เกิดความรู้ในเนื้อหาตามหลักสูตรและเข้าใจชุมชนมากขึ้น โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้และพัฒนาผู้เรียนด้านความรู้และทักษะอย่างหลากหลาย เช่น การคิดวิเคราะห์สังเคราะห์การคิดเชิงวิพากษ์ซึ่งเป็นทักษะที่จาเป็นในศตวรรษ 21 มีคุณธรรมจริยธรรม เจตคติที่พึงประสงค์ ตระหนักในความรับผิดชอบในฐานะเป็นส่วนหนึ่งของชุมชนรวมทั้งเพื่อตอบสนองความต้องการที่แท้จริงของชุมชน ชุมชนและผู้เรียนจะได้รับประโยชน์ร่วมกัน ทั้งโดยการบรรลุวัตถุประสงค์ของหลักสูตรและตามเป้าหมายที่กาหนดโดยชุมชน และสร้างการเปลี่ยนแปลงทางสังคมในเชิงบวก อันเป็นการเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชนอย่างยั่งยืน (วิจารณ์ พานิช, 2557; กล้า ทองขาว, 2561 : 3)
วิทยาลัยการจัดการอุตสาหกรรมบริการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา เป็นหน่วยงานจัดการศึกษาที่ดำเนินการตามหลักพันธกิจ 4 ด้าน คือ ให้การศึกษา วิจัย บริการวิชาการ และทานุบารุงศิลปวัฒนธรรม ดังนั้นวิทยาลัยการจัดการอุตสาหกรรมบริการ มีพันธกิจในการให้บริการวิชาการให้แก่ชุมชนต่าง ๆ ในพื้นที่ และมีการอบรมทักษะต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับสายงานในด้านการบริการและการท่องเที่ยว เพื่อให้ชุมชนมีความสามารถในการต่อยอดความรู้และทักษะที่สาคัญ ที่ได้จากการอบรมเพื่อใช้ในการประกอบอาชีพ ทั้งนี้จากการจัดดาเนินการบริการวิชาการให้แก่ชุมชนดังกล่าว ทางกลุ่มเห็นเป็นสิ่งที่สาคัญในการสร้างองค์ความรู้จากการให้เกิดการเรียนรู้ในสถานที่จริง และสถานการณ์จริง โดยให้กลุ่มผู้เรียนรู้ อาจารย์ และชุมชน สามารถแลกเปลี่ยนความคิดเห็น ประสบการณ์ด้วยการถ่ายทอดอย่างมีกระบวนการทางความคิด ทาให้เกิดการรียนรู้ รวมทั้งการวิเคราะห์ปัญหา จักการแก้ไขปัญหาจากสถานการณ์จริง
จากความสาคัญดังกล่าว วิทยาลัยการจัดการอุตสาหกรรมบริการ จึงได้กาหนดการจัดตั้งกลุ่มความรู้การจัดเรียนรู้โดยใช้ชุมชนเป็นฐาน (Community Based Learning : CBL) โดยกลุ่มองค์ความรู้ได้จัดทาเรื่อง กระบวนการถ่ายทอดความรู้จากการถอดบทเรียนของชุมชน เพื่อเป็นการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และถือเป็นแบ่งปันความรู้จากภายในองค์กรสู่ชุมชนนอกและใช้สถานการณ์จริงมาถอดบทเรียนเปลี่ยนเป็นกรณีศึกษาเพื่อแก้ไขปัญหา วิเคราะห์ร่วมกับกับกลุ่มผู้เรียน อาจารย์ และชุมชน จึงจะสามารถพัฒนาเป็นกระบวนการที่ใช้ถ่ายทอดองค์ความรู้ได้อย่างมีประสิทธิภาพต่อไปในอนาคต