£ บุคคล ชื่อ - สกุล................................................ ตำแหน่ง.......................................... หน่วยงาน................................................. |
|||||
R ชุมชนนักปฏิบัติ (Community of Practice : CoP) กลุ่มหลัก......smile Rangers............... กลุ่มย่อย...................... |
|||||
หัวข้อการจัดการความรู้ (KM) |
การพัฒนาผลงานวิจัย นวัตกรรม หรืองานสร้างสรรค์สู่เชิงพาณิชย์ |
||||
องค์ความรู้ |
การพัฒนาผลงานวิจัย นวัตกรรม หรืองานสร้างสรรค์สู่เชิงพาณิชย์ |
เลขที่เอกสาร (ถ้ามี) |
|||
วันที่รายงาน |
|||||
ประเภท |
£ การจัดการเรียนการสอน R การวิจัย £ การพัฒนาการปฏิบัติงาน |
คณบดี/ผู้อำนวยการ |
หัวหน้าสำนักงาน/หัวหน้าฝ่าย |
จัดทำโดย |
|
รศ.ดร.รจนา จันทราสา |
นางสาวพรทิพย์ เรืองปราชญ์ |
กลุ่ม Smile Rangers |
|||
1. ความเป็นมาและเหตุผล/สภาพปัญหาและอุปสรรค (สรุปโดยย่อ)
สถาบันวิจัยและพัฒนา ในฐานะหน่วยงานของมหาวิทยาลัยที่มีพันธกิจหลักในการส่งเสริมและสนับสนุนให้คณาจารย์สร้างองค์ความรู้ด้วยกระบวนการวิจัย บริการวิชาการ เพื่อนำไปพัฒนาการเรียนการสอนและเผยแพร่ผลงานสู่การใช้ประโยชน์ รวมทั้งได้รับมอบหมายจากมหาวิทยาลัยในการกำกับดูแลการขับเคลื่อนและผลักดันผลงานวิจัย นวัตกรรมหรืองานสิทธิบัตรที่นำไปใช้ประโยชน์เชิงพาณิชย์ของคณาจารย์ในมหาวิทยาลัย
จากเหตุผลดังกล่าว สถาบันวิจัยและพัฒนา จึงได้จัดตั้งกลุ่ม Smile Rangers ขึ้น เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้องค์ความรู้เรื่อง พัฒนาผลงานวิจัย นวัตกรรม หรืองานสร้างสรรค์สู่เชิงพาณิชย์ และให้เป็นไปตามพันธกิจหลักของหน่วยงานและมหาวิทยาลัย ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อการดำเนินงานตามนโยบายของมหาวิทยาลัย อันจะนำไปสู่การพัฒนาวิจัยและนวัตกรรมในระดับประเทศต่อไ
2. วัตถุประสงค์
เพื่อศึกษาหากระบวนการปฏิบัติที่ดีในด้านการพัฒนาผลงานวิจัย นวัตกรรม หรืองานสร้างสรรค์สู่เชิงพาณิชย์
3. ลักษณะงานที่ปฏิบัติ
3.1 สภาพการปฏิบัติงานเดิม
ยังไม่มีขั้นตอนการดำเนินงานด้านการพัฒนาผลงานวิจัย นวัตกรรม หรืองานสร้างสรรค์สู่เชิงพาณิชย์ที่ชัดเจน เพื่อให้อาจารย์/นักวิจัยนำไปปรับใช้ในการทำงาน
3.2 สภาพการปฏิบัติงานใหม่
การดำเนินงานในด้านการพัฒนาผลงานวิจัย นวัตกรรม หรืองานสร้างสรรค์สู่เชิงพาณิชย์ มีขั้นตอนที่ชัดเจน สามารถนำไปปฏิบัติได้จริง
4. แนวคิด/ขั้นตอน/วิธีการ (สรุป)
£ การลดขั้นตอน/ระยะเวลาการดำเนินงาน
£ ลดต้นทุนค่าใช้จ่ายในการดำเนินงาน
£ พัฒนาคุณภาพชีวิตในการทำงาน
R สร้างประโยชน์และความพึงพอใจแก่ผู้รับบริการ
5. ข้อควรระวัง (ถ้ามี)
-ไม่มี-
6. เคล็ดลับ/เทคนิคพิเศษ (Tips and Tricks) (สรุปโดยย่อ)
สมาชิกกลุ่ม Smile Rangers ร่วมแรงร่วมใจกันในการดำเนินงานจัดการความรู้ตั้งแต่การกำหนดองค์ความรู้หลักที่จำเป็น และกำหนดเป้าหมายของการจัดการความรู้ มีการเสาะแสวงหาความรู้โดยการถอดบทเรียนจากอาจารย์/นักวิจัยที่ประสบความสำเร็จมีผลงานโดดเด่น และถอดบทเรียนจากผู้เชี่ยวชาญด้านการพัฒนาผลงานวิจัย นวัตกรรม หรืองานสร้างสรรค์สู่เชิงพาณิชย์ โดยใช้เครื่องมือตารางบันทึกผลสรุป Story Telling โดยสมาชิกกลุ่ม ได้รวบรวมและสกัดความรู้ที่ได้จากการถอดบทเรียน จากอาจารย์/นักวิจัย และจากผู้เชี่ยวชาญ มาวิเคราะห์ข้อมูลองค์ความรู้ที่ได้ เพื่อหาเทคนิคและวิธีการ นำไปการได้มาซึ่งองค์ความรู้และขั้นตอนการพัฒนาผลงานวิจัย นวัตกรรม หรืองานสร้างสรรค์สู่เชิงพาณิชย์ จำนวน 9 ขั้นตอนที่สามารถเพิ่มประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานได้จริง
7. ผลของการดำเนินงาน (Output) (สรุปโดยย่อ)
กลุ่ม Smile Rangers มีวิธีการได้มาขององค์ความรู้และองค์ความรู้ที่ได้จากการแลกเปลี่ยนรู้ โดยได้สกัดความรู้จากอาจารย์หรือนักวิจัย และวิทยากร นำมาสู่องค์ความรู้เรื่อง การพัฒนาผลงานวิจัย นวัตกรรม หรืองานสร้างสรรค์สู่เชิงพาณิชย์แล้วนั้น แล้วจึงได้ทำการวิเคราะห์ข้อมูลที่สกัดออกมา พบว่าการที่จะสามารถนำผลงานวิจัย นวัตกรรม หรืองานสร้างสรรค์สู่เชิงพาณิชย์ได้นั้น จะต้องมีขั้นตอนการดำเนินงานที่ชัดเจน สามารถให้อาจารย์หรือนักวิจัยดำเนินการตามขั้นตอนได้อย่างเหมาะสมต่อการนำไปปฏิบัติ
ดังนั้น กลุ่ม Smile Rangers จึงได้ระดมความคิดเพื่อจัดทำขั้นตอนการพัฒนาผลงานวิจัย นวัตกรรม หรืองานสร้างสรรค์สู่เชิงพาณิชย์ จำนวนทั้งหมด 9 ข้อ เพื่อเผยแพร่ให้กับอาจารย์ นักวิจัยและบุคลากรที่ปฏิบัติงานด้านการวิจัยของหน่วยงาน
8. ผลลัพธ์ของการดำเนินงาน (Outcome) (สรุปโดยย่อ)
สามารถนำขั้นตอนการพัฒนาผลงานวิจัย นวัตกรรม หรืองานสร้างสรรค์สู่เชิงพาณิชย์ มาเป็นองค์ความรู้/ แนวทางในการดำเนินงานวิจัย เนื่องจากเป็นการสรุป-สกัด สังเคราะห์องค์ความรู้จากอาจารย์ นักวิจัยที่มีผลงานวิจัยใช้ประโยชน์เชิงพาณิชย์จากหน่วยงานจัดการศึกษาภายในมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา และผู้เชี่ยวชาญจากหน่วยงานภายนอก แล้วได้ผลจริงเป็นที่ประจักษ์
9. ประโยชน์ที่ได้รับ (สรุปโดยย่อ)
1) อาจารย์ นักวิจัย มีผลงานวิจัย นวัตกรรม หรืองานสร้างสรรค์ ที่ตอบสนองความต้องการแหล่งทุนวิจัยภายนอก ตลอดจนมีผู้ประกอบการรายย่อยและรายใหญ่จะมาขอซื้อสิทธิ์เพื่อนำผลการศึกษาวิจัยไปใช้ต่อยอดในทางธุรกิจต่อไป ส่งผลทำให้มหาวิทยาลัยมีรายได้เพิ่มขึ้นจากงานวิจัยมากขึ้น
2) มหาวิทยาลัยมีงานวิจัยสู่นวัตกรรมและต้นแบบผลิภัณฑ์ที่ใช้ประโยชน์เชิงพาณิชย์ ช่วยเพิ่มศักยภาพให้มหาวิทยาลัยด้านการวิจัย เผยแพร่ผลงาน ทั้งงานตีพิมพ์ อนุสิทธิบัตร สิทธิบัตร และงานนวัตกรรม นักศึกษาได้รับทุนการศึกษาจากมหาวิทยาลัยชั้นนำเพื่อเข้าศึกษาต่อในระดับบัณฑิตศึกษา
10. ปัจจัยแห่งความสำเร็จ (สรุปโดยย่อ)
1. สมาชิกมีส่วนร่วมในกิจกรรมสำคัญของกลุ่ม โดยมีการแบ่งหน้าที่ในการดำเนินงาน ส่วนต่าง ๆ
2 สมาชิกทุกคนมีส่วนร่วมในการวางแผนเพื่อให้เกิดความเข้าใจและการยอมรับ และ ช่วยส่งเสริมให้มีการดำเนินการตามแผนได้อย่างราบรื่นและครบถ้วน
11. แนวทางการพัฒนาในอนาคต (สรุปโดยย่อ)
กลุ่ม Smile Rangers มีแนวทางที่จะศึกษาองค์ความรู้ เรื่อง การพัฒนาผลงานวิจัย นวัตกรรม หรืองานสร้างสรรค์สู่เชิงพาณิชย์ เพื่อเป็นการพัฒนาอาจารย์และนักวิจัยให้มีศักยภาพพัฒนาผลงานวิจัย นวัตกรรม หรืองานสร้างสรรค์สู่เชิงพาณิชย์ได้ และเป็นการพัฒนาผลงานด้านวิจัยและนวัตกรรมของมหาวิทยาลัย เพื่อให้สามารถตอบสนองตัวชี้วัดตามยุทธศาสตร์ชาติด้านการวิจัยของมหาวิทยาลัย รวมทั้งเป็นการผลิตงานวิจัย นวัตกรรมหรืองานสิทธิบัตรที่นำไปใช้ประโยชน์เชิงพาณิชย์ ให้เกิดการนำไปใช้ประโยชน์ต่อสังคมและชุมชนมากยิ่งขึ้น การสร้างผลิตภัณฑ์ใหม่ การบูรณาการงานวิจัยกับภาคเอกชนหรือภาคอุตสาหกรรมให้มีจำนวนมากยิ่งขึ้น