การพัฒนาแนวปฏิบัติในการพัฒนาหลักสูตร มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา

£ บุคคล ชื่อ – สกุล  นางสาวรัตนาภรณ์ แสงวิลัย    ตำแหน่ง หัวหน้าฝ่ายงานหลักสูตรและการสอน

หน่วยงาน  กองบริการการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฎสวนสุนันทา

£ ชุมชนนักปฏิบัติ (Community of Practice : CoP) กลุ่มหลัก  กลุ่มบริการการศึกษา

กลุ่มย่อย  หลักสูตรและการสอน

หัวข้อการจัดการความรู้ (KM)

การพัฒนาแนวปฏิบัติในการพัฒนาหลักสูตร  มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา

องค์ความรู้

การพัฒนาแนวปฏิบัติในการพัฒนาหลักสูตร  มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา

เลขที่เอกสาร (ถ้ามี)

วันที่รายงาน

ประเภท

£ การจัดการเรียนการสอน

£ การวิจัย

£ การพัฒนาการปฏิบัติงาน

คณบดี/ผู้อำนวยการ

หัวหน้าสำนักงาน/หัวหน้าฝ่าย

จัดทำโดย

1. ความเป็นมาและเหตุผล/สภาพปัญหาและอุปสรรค (สรุปโดยย่อ)

          กลุ่มงานบริการการศึกษา ประกอบด้วย 7 ห้อง ดังนี้ 1) หลักสูตรและการสอน 2) รับเข้าศึกษา 3) ลงทะเบียนเรียน 4) การฝึกประสบการณ์วิชาชีพ 5) ผลการเรียน 6) ตรวจสอบผลสำเร็จการศึกษา 7) การให้บริการ One stop service สำนักวิชาการศึกษาทั่วไปฯ เกิดจากการรวมตัวของบุคลากรสายสนับสนุนวิชาการที่ปฏิบัติงานด้านงานบริการการศึกษา มีภารกิจหน้าที่ดูแล ประสานงานและให้บริการเกี่ยวกับข้อมูลการศึกษาของนักศึกษา แต่ละคณะ/วิทยาลัย/ศูนย์ให้การศึกษา ตั้งแต่แผนการเรียน หลักสูตรและการสอน การรับสมัครสอบคัดเลือกเข้าศึกษา การขึ้นทะเบียนเป็นนักศึกษา การลงทะเบียน การตรวจสอบผลการเรียนและออกเอกสารการศึกษา ตลอดจนการสำเร็จการศึกษา 

          ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 สมาชิกห้องหลักสูตรและการสอนได้ร่วมกันทบทวนกระบวนการพัฒนาหลักสูตรของมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา เพื่อนำมาปรับปรุงและต่อยอดองค์ความรู้ใหม่ในปีการศึกษา 2564 ซึ่งสมาชิกกลุ่มความรู้ได้ร่วมกันระดมสมองสรุปประเด็นปัญหาในการตรวจสอบหลักสูตรของมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา โดยใช้เครื่องมือถอดบทเรียน ระหว่างสมาชิกที่มีประสบการณ์ และความเชี่ยวชาญจนได้องค์ความรู้ที่จำเป็นในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ คือ กระบวนการพัฒนาหลักสูตรของมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา ให้มีประสิทธิภาพ ถือว่ามีความสำคัญ เป็นขั้นตอนหนึ่งในการทำให้สมาชิกในกลุ่ม รวมไปถึงอาจารย์ และบุคลากรในมหาวิทยาลัยสามารถจัดทำหลักสูตรได้รวดเร็วและผิดพลาดน้อยลง และส่งผลให้ส่วนกลางกับคณะสามารถเข้าใจตรงกันได้ง่ายขึ้น โดยการเก็บรวบรวมข้อมูลปัญหาที่พบจากการจัดทำเล่มหลักสูตรของคณะ/วิทยาลัย นำมาปรับปรุงและพัฒนาจนสามารถใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยมีสมาชิกกลุ่มประกอบไปด้วย บุคลากรสายสนับสนุนวิชาการจาก 9 หน่วยงาน ดังนี้ 1) กองบริการการศึกษา 2) คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ 3) คณะครุศาสตร์  4) คณะวิทยาการจัดการ    5) คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม 6) คณะศิลปกรรมศาสตร์  7) วิทยาลัยนวัตกรรมและการจัดการ     8) วิทยาลัยพยาบาลและสุขภาพ 9) สำนักวิชาการศึกษาทั่วไปฯ

2. วัตถุประสงค์

          เพื่อการพัฒนาแนวปฏิบัติในการพัฒนาหลักสูตร  มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา

3. ลักษณะงานที่ปฏิบัติ

          3.1 สภาพการปฏิบัติงานเดิม

จากการปฏิบัติงานในการพัฒนาหลักสูตร มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา จากปัญหาที่เกิดขึ้นในการดำเนินการทำให้การพัฒนาหลักสูตรหรือการปรับปรุงหลักสูตรมีความล่าช้าหรือไม่เป็นไปตามแผนการดำเนินงานที่กำหนด โดยปัญหาหลักสูตรที่เกิดขึ้นมาจาก 3 ส่วนคือ                    

1. บุคคลที่ดำเนินงานพัฒนาหลักสูตรไม่มีความรู้ ความเข้าใจในการพัฒนาหลักสูตรหรือปรับปรุงหลักสูตรอันเนื่องจากอาจเป็นบุคคลากรที่เข้ามาทำงานหรือทำหน้าที่ใหม่

2. เกณฑ์เกณฑ์มาตรฐานหลักสูตรระดับปริญญาตรี พ.ศ.2558 ซึ่งมีการเปลี่ยนแปลงแบบฟอร์มการพัฒนาหลักสูตรใหม่

3. ในบางสาขาวิชามี มคอ.1 กำกับดูแล

จากปัญหาดังกล่าวข้างต้นทำให้การพัฒนาหลักสูตรมีความล่าช้าหรือปรับปรุงหลักสูตรและไม่เป็นไปตามแผนการดำเนินงานตามที่กองบริการการศึกษากำหนดและเกิดความผิดพลาดในการจัดทำหลักสูตรใหม่และหลักสูตรปรับปรุง อันเนื่องมาจากเจ้าหน้าที่วิชาการของคณะ/ วิทยาลัย และอาจารย์ยังคงไม่มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับขึ้นตอน วิธีการจัดทำหลักสูตรใหม่และหลักสูตรปรับปรุง

          3.2 สภาพการปฏิบัติงานใหม่

      สมาชิกได้ร่วมกันจัดทำแนวปฏิบัติในการพัฒนาหลักสูตร มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา ขึ้นมาเพื่อใช้เป็นแนวทางในการพัฒนาหลักสูตร หรือปรับปรุงหลักสูตรแก่เจ้าหน้าที่และอาจารย์ของคณะ โดยกลุ่มสมาชิกได้ร่วมกันพัฒนาแบบ Check List ซึ่งจะเป็นส่วนหนึ่งอยู่ในคู่มือการพัฒนาแนวปฏิบัติในการพัฒนาหลักสูตร มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา  เพื่อให้ผู้ดำเนินงานพัฒนา/ปรับปรุงหลักสูตรใช้เป็นแนวทางในการดำเนินงาน และ ผลการใช้แบบ Check List ทำให้อาจารย์และเจ้าหน้าที่มีความรู้ความเข้าใจ และผลการตรวจสอบความถูกต้องของหลักสูตรของกองบริการการศึกษาเมื่อคณะฯส่งกลับมาครั้งที่ 2 ผลการดำเนินการการพัฒนาหลักสูตรหรือการปรับปรุงหลักสูตร มีความผิดพลาดน้อยลง  ผลงานดำเนินงานมีความรวดเร็วและดีขึ้น

4. แนวคิด/ขั้นตอน/วิธีการ (สรุป)

          £ การลดขั้นตอน/ระยะเวลาการดำเนินงาน

          £ ลดต้นทุนค่าใช้จ่ายในการดำเนินงาน

          £ พัฒนาคุณภาพชีวิตในการทำงาน

          £ สร้างประโยชน์และความพึงพอใจแก่ผู้รับบริการ

5. ข้อควรระวัง (ถ้ามี)

          1. รูปแบบของ มคอ. 2 มีความถูกต้องเป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐานที่กำหนด

          2. คุณวุฒิอาจารย์ประจำหลักสูตรจะต้องตรง และผลงานทางวิชาการเป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนด

          3. โครงสร้างหลักสูตร ชื่อวิชา รหัสวิชา จำนนวนหน่วยกิต ในแต่ละรายวิชาต้องตรงกันทุกจุด  คำอธิบายรายวิชาภาษาอังกฤษจะต้องไม่มีจุดและสอดคล้องกับภาษาไทย

6. เคล็ดลับ/เทคนิคพิเศษ (Tips and Tricks) (สรุปโดยย่อ)

          ผู้ดำเนินงานพัฒนา/ปรับปรุงหลักสูตรควรศึกษาและมีความรู้ ความเข้าใจในเกณฑ์มาตรฐานที่เกี่ยวข้อง

7. ผลของการดำเนินงาน (Output) (สรุปโดยย่อ)

          ผลของการดำเนินงานของสมาชิกก่อให้เกิด “แนวปฏิบัติในการพัฒนาหลักสูตรใหม่และปรับปรุงหลักสูตร มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา”

8. ผลลัพธ์ของการดำเนินงาน (Outcome) (สรุปโดยย่อ)

          ในการติดตามผลการใช้แนวปฏิบัติในการพัฒนาหลักสูตรใหม่และปรับปรุงหลักสูตร มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา พบว่าทำให้อาจารย์และเจ้าหน้าที่มีความรู้ความเข้าใจ และผลการตรวจสอบความถูกต้องของหลักสูตรของกองบริการการศึกษาเมื่อคณะฯส่งกลับมาครั้งที่ 2 ผลการดำเนินการการพัฒนาหลักสูตรหรือการปรับปรุงหลักสูตร มีความผิดพลาดน้อยลง  ผลงานดำเนินงานมีความรวดเร็วและดีขึ้น

9. ประโยชน์ที่ได้รับ (สรุปโดยย่อ)

          สมาชิกกลุ่มได้รับ แนวปฏิบัติในการพัฒนาหลักสูตรใหม่และปรับปรุงหลักสูตร มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา ทำให้สามารถพัฒนา/ปรับปรุงหลักสูตรได้อย่างถูกต้อง รวดเร็วและลดเวลาในการปฏิบัติงาน

10. ปัจจัยแห่งความสำเร็จ (สรุปโดยย่อ) 

     1. ผู้บริหารทุกระดับให้ความสำคัญและสนับสนุนการจัดการความรู้ทางด้านนี้อย่างจริงจังต่อเนื่อง และสนับสนุนงบประมาณอย่างเพียบพอ รวมทั้ง มีการสื่อสารตรงกันในเรื่อง KM ของมหาวิทยาลัย

     2. ภายในกลุ่มสมาชิก มีการมอบหมายงานที่ชัดเจน ทำให้สมาชิกเข้าใจวัตถุประสงค์ เป้าหมาย และยอมรับภารกิจหลักของกลุ่มความรู้

     3. สมาชิกในกลุ่มให้ความร่วมมือในการสร้างองค์ความรู้ใหม่ แบ่งปันความรู้ และนำความรู้ที่อยู่มาเป็นฐานในการต่อยอดความรู้ของสมาชิกใหม่ต่อไป

4. มีการติดตามประเมินผลการปฏิบัติงานเพื่อให้กลุ่มความรู้ดำเนินการจัดกิจกรรมอย่างต่อเนื่อง พร้อมทั้ง สร้างแรงจูงใจให้ทุกคนมีส่วนร่วมและเห็นประโยชน์ของการจัดการความรู้ในเรื่องกระบวนการปฏิบัติงาน

5. ความพร้อมด้านเทคโนโลยีที่ช่วยในการติดต่อสื่อสารระหว่างสมาชิก และเป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ไม่ว่าจะเป็น คอมพิวเตอร์, โทรศัพท์,ระบบอิเล็กทรอนิกส์ ฯลฯ

6. การสร้างบรรยากาศในการเรียนรู้ และเปิดโอกาสให้บุคลากรของหน่วยงานแสดงความคิดเห็นและมีส่วนร่วมในการดำเนินงานตามแผนการจัดการความรู้

          7. ประเมินผลการทำงานของทีม เป็นระยะในรูปแบบที่ไม่เป็นทางการและเป็นทางการ โดยสมาชิกทุกคนมีส่วนร่วมในการประเมินผลงาน ทำให้สมาชิกได้ทราบความก้าวหน้าของงาน ปัญหา อุปสรรคที่เกิดขึ้น รวมทั้งพัฒนากระบวนการทำงานหรือการปรับปรุงแก้ไข เพื่อให้งานบรรลุเป้าหมายและมีคุณภาพมากยิ่งขึ้น

11. แนวทางการพัฒนาในอนาคต (สรุปโดยย่อ)

การพัฒนาแนวปฏิบัติในการจัดทำหลักสูตรใหม่และปรับปรุงหลักสูตร มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา  เป็นแนวปฏิบัติที่ได้จากการแลกเปลี่ยนถอดบทเรียน สกัดความรู้จากสมาชิกหลักสูตรและการสอน เป็นการพัฒนากระบวนการปฏิบัติงาน ดังนั้น หลังจากมีการพัฒนาแนวปฏิบัติในการจัดทำหลักสูตรใหม่และปรับปรุงหลักสูตร มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา  ซึ่งเป็นนวัตกรรมใหม่ที่ได้พัฒนาขึ้น สมาชิกกลุ่มได้มีแนวคิดต่อยอดองค์ความรู้ที่ได้โดยการจัดทำ  “คู่มือแนวปฏิบัติในการพัฒนาหลักสูตรใหม่ ปรับปรุงหลักสูตร มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา” เพื่อให้ผู้ปฏิบัติงานด้านวิชาการได้ปฏิบัติงานได้อย่างถูกต้องและรวดเร็วมากขึ้น