R บุคคล ชื่อ - สกุล...นางสาวสุภาพร ประจงใจ.... ตำแหน่ง.......หัวหน้าฝ่ายพัสดุ...... หน่วยงาน......ฝ่ายพัสดุ กองคลัง....... |
|||||
R ชุมชนนักปฏิบัติ (Community of Practice : CoP) กลุ่มหลัก....การเงินและพัสดุ....... กลุ่มย่อย......กระบวนการจำหน่ายครุภัณฑ์ให้มีประสิทธิภาพ...... |
|||||
หัวข้อการจัดการความรู้ (KM) |
เพื่อใช้เป็นแนวทางในการปฏิบัติงาน ลดความเสี่ยง ด้วยความไม่เข้าใจหรือไม่ทราบแนวทางปฏิบัติ การจำหน่ายครุภัณฑ์หมดสภาพให้ถูกต้องตามระเบียบพัสดุ พ.ศ 2560 |
||||
องค์ความรู้ |
กระบวนการจำหน่ายครุภัณฑ์ให้มีประสิทธิภาพ |
เลขที่เอกสาร (ถ้ามี) |
|||
วันที่รายงาน |
|||||
ประเภท |
£ การจัดการเรียนการสอน £ การวิจัย R การพัฒนาการปฏิบัติงาน |
คณบดี/ผู้อำนวยการ |
หัวหน้าสำนักงาน/หัวหน้าฝ่าย |
จัดทำโดย |
|
1. ความเป็นมาและเหตุผล/สภาพปัญหาและอุปสรรค (สรุปโดยย่อ)
การจำหน่ายพัสดุ เป็นส่วนหนึ่งของการบริหารพัสดุของมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา ที่มีความสำคัญจะทำให้หน่วยงานเกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผลจากการใช้ประโยชน์ของพัสดุที่มีอยู่อย่างคุ้มค่าสูงสุด ดังนั้นการจำหน่ายพัสดุที่ไม่มีความจำเป็นต้องใช้ในราชการอีกต่อไป จึงถือเป็นหัวใจหลักสำคัญที่ต้องมีการดำเนินการภายใต้กฎระเบียบหลักเกณฑ์และข้อบังคับต่างๆ ที่กำหนด เพื่อเป็นการป้องกันความสูญเสียง และความเสียหายที่จะเกิดขึ้นกับมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา สามาชิกกลุ่มความรู้ จึงได้ศึกษาและรวบรวมข้อมูลต่าง ๆ ของกระบวนการจำหน่ายพัสดุด้วยวิธีการขาย โดยประกอบด้วยวิธีขายทอดตลาด และแบบเฉพาะเจาะจง ซึ่งถือเป็นวิธีการจำหน่ายครุภัณฑ์ที่มีการปฏิบัติงานในปัจจุบันของทางมหาวิทยาลัย เพื่อให้การปฏิบัติงานของทุกหน่วยงานเป็นไปด้วยความถูกต้อง และเป็นไปในทิศทางเดียวกัน
2. วัตถุประสงค์
2.1 เพื่อเป็นแนวทางในการปฏิบัติงานของกระบวนการจำหน่ายพัสดุ สำหรับบุคลากรที่เกี่ยวข้อง
2.2 เพื่อให้บุคลากรของมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทามีคู่มือการปฏิบัติงานที่ชัดเจนอย่างเป็นลายลักษณ์อักษรที่แสดงถึงรายละเอียดขั้นตอนการจําหน่ายพัสดุอย่างถูกต้องและถือปฏิบัติในแนวทางเดียวกัน
2.3 เพื่อสร้างมาตรฐานการปฏิบัติงานที่มุ่งไปสู่การบริหารคุณภาพของกระบวนการจำหน่ายพัสดุอย่างมีประสิทธิภาพเกิดผลงานเป็นไปตามเป้าหมายที่กฎระเบียบหลักเกณฑ์ข้อบังคับกำหนด
2.4 เพื่อแสดงวิธีการทำงาน สามารถถ่ายทอดให้กับผู้เข้ามาปฏิบัติงานใหม่ให้สามารถเข้าใจถึงวิธีปฏิบัติได้อย่างถูกต้องมาตรฐานเดียวกัน
3. ลักษณะงานที่ปฏิบัติ
3.1 สภาพการปฏิบัติงานเดิม
การจำหน่ายพัสดุในวิธีการเดิมจะต้องปรึกษาหน่วยงานต่างๆเพื่อทำความเข้าใจในการทำการจำหน่ายพัสดุก่อนดำเนินการ เพื่อให้เกิดความผิดพลาดในการปฏิบัติงานน้อยสุด
3.2 สภาพการปฏิบัติงานใหม่
มีการสกัดองค์ความรู้ และขั้นตอนการจำหน่ายพัสดุในกระบวนการแต่ละขั้นตอนออกมาเป็นเอกสารเผยแพร่ เพื่อให้สามารถทำความเข้าใจได้ง่ายและใช้งานได้จริง
4. แนวคิด/ขั้นตอน/วิธีการ (สรุป)
£ การลดขั้นตอน/ระยะเวลาการดำเนินงาน
£ ลดต้นทุนค่าใช้จ่ายในการดำเนินงาน
R พัฒนาคุณภาพชีวิตในการทำงาน
£ สร้างประโยชน์และความพึงพอใจแก่ผู้รับบริการ
5. ข้อควรระวัง (ถ้ามี)
-
6. เคล็ดลับ/เทคนิคพิเศษ (Tips and Tricks) (สรุปโดยย่อ)
ทำการศึกษากฎระเบียบหลักเกณฑ์และข้อบังคับต่างๆ เกี่ยวกับการทำการจำหน่ายครุภัณฑ์ และนำมาแลกเปลี่ยนเรียนรู้เพื่อสกัดองค์ความรู้ที่ตรงกับประเด็นในการศึกษาก่อนนำมาทดลองปฏิบัติงานเพื่อให้ได้คู่มือการจำหน่ายครุภัณฑ์ที่มีความถูกต้องตรงตามระเบียนหลักเกณฑ์และข้อบังคับต่างๆ ที่กำหนด
7. ผลของการดำเนินงาน (Output) (สรุปโดยย่อ)
การจัดการความรู้ของกลุ่มการเงินและพัสดุ การจำหน่ายครุภัณฑ์ให้มีประสิทธิภาพ มหาวิทยาลัยสามารถนำไปแนวทางการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ บุคลากรที่ทำงานด้านจัดซื้อจัดจ้างโดยตรงและเป็นคู่มือการปฏิบัติงานจริง ตรงตามระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ.2560 และพระราชบัญญัติการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ.2560
8. ผลลัพธ์ของการดำเนินงาน (Outcome) (สรุปโดยย่อ)
การศึกษาคู่มือการจำหน่ายพัสดุ โดยวิธีเฉพาะเจาะจงและวิธีขายทอดตลาด ทำให้สามารถการดำเนินการจำหน่ายครุภัณฑ์ได้สะดวกรวดเร็ว และมีประสิทธิภาพเพิ่มมากขึ้น เนื่องจาก เล่มคู่มือได้มีการรวบรวมองค์ความรู้ในด้านต่างๆและสกัดองค์ความรู้ที่มีความซับซ้อน ให้มีความชัดเจนของกระบวนการจำหน่ายมากขึ้น เมื่อนำมาปฏิบัติงานจริงส่งผลให้เกิดความรวดเร็วในการปฏิบัติงาน และลดความผิดพลาดในการปฏิบัติงานได้มากขึ้น
9. ประโยชน์ที่ได้รับ (สรุปโดยย่อ)
9.1 การจัดการความรู้ได้อย่างเป็นระบบ
9.2 ปรับปรุงกระบวนการจำหน่ายให้มีความชัดเจนมากขึ้น
9.3 มีความรู้ความเข้าใจนำความรู้ไปใช้เพื่อให้เกิดประโยชน์กับมหาวิทยาลัย
10. ปัจจัยแห่งความสำเร็จ (สรุปโดยย่อ)
เพื่อการจำหน่ายครุภัณฑ์ อย่างมีประสิทธิภาพ และเป็นมาตรฐานในการจำหน่ายครุภัณฑ์ภายในมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา เจ้าหน้าที่ผู้ดำเนินการจำหน่ายครุภัณฑ์ ควรศึกษาและทำความเข้าใจเกี่ยวกับระเบียบ ข้อบังคับ หนังสือเวียน และเอกสารอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องอย่างถี่ถ้วน เพื่อที่จะได้ดำเนินการจำหน่ายครุภัณฑ์ตรงตามระเบียบ ข้อบังคับ ตลอดจนเป็นการลดปัญหาความผิดพลาดและความล่าช้า ไม่โปร่งใสในการปฏิบัติงาน
11. แนวทางการพัฒนาในอนาคต (สรุปโดยย่อ)
เมื่อทำการศึกษากระบวนการจำหน่ายครุภัณฑ์อย่างมีประสิทธิภาพแล้ว สามารถนำผลการศึกษามาต่อยอดในการพัฒนากระบวนการจำหน่ายครุภัณฑ์โดยการเพิ่มประสิทธิภาพในการจำหน่ายโดยการลดระยะเวลาในการทำการจำหน่ายหรือเพิ่มความแม่นยำในการทำการจำหน่ายให้เพิ่มมากขึ้นในอนาคตได้