£ บุคคล ชื่อ - สกุล...ผศ.ดร.ชลภัสสรณ์ สิทธิวรงค์ชัย... ตำแหน่ง..........คุณอำนวย........ หน่วยงาน.....วิทยาลัยนวัตกรรมและการจัดการ.... |
||||||||
£ ชุมชนนักปฏิบัติ (Community of Practice : CoP) กลุ่มหลัก..............กลุ่มล่าแสงเหนือ............ |
||||||||
หัวข้อการจัดการความรู้ (KM) |
||||||||
องค์ความรู้ |
..การเขียนบทความวิจัยเพื่อตีพิมพ์ในวารสารระดับชาติหรือระดับนานาชาติ.... |
เลขที่เอกสาร (ถ้ามี) |
- |
|||||
วันที่รายงาน |
22 กันยายน 2564 |
|||||||
ประเภท |
£ การจัดการเรียนการสอน R การวิจัย £ การพัฒนาการปฏิบัติงาน |
คณบดี/ผู้อำนวยการ |
หัวหน้าสำนักงาน/หัวหน้าฝ่าย |
จัดทำโดย |
||||
รศ.ดร.บัณฑิต ผังนิรันดร์ |
นางสาวน้ำทิพย์ กลีบบัวบาน |
ผศ.ดร.ชลภัสสรณ์ สิทธิวรงค์ชัย |
1. ความเป็นมาและเหตุผล/สภาพปัญหาและอุปสรรค (สรุปโดยย่อ)
การตีพิมพ์เผยแพร่ผลงานวิจัย มีบทบาทสำคัญต่อแวดวงการศึกษาอย่างมากในปัจจุบัน เนื่องจากเป็นวิธีการที่นำเสนอผลงานวิชาการออกสู่สาธารณะชนได้อย่างกว้างขวาง และถือเป็นเรื่องที่น่ายินดียิ่งหากบทความวิจัยของตนได้รับการยอมรับจากกองบรรณาธิการของวารสาร แต่ทว่า......ที่ผ่านมา อาจารย์และบุคลากรเคยตีพิมพ์บทความวิชาการ/วิจัย ลงในวารสาร ทั้งระดับชาติ และระดับนานาชาติผ่านมาหลายปีแล้วก็ยังคงไม่ได้มีผลการดำเนินการที่น่าพึงพอใจนัก จากการสะท้อนความคิดของปัญหาที่ผ่านมาหลายปี อาจารย์ส่วนหนึ่งยังไม่สามารถเข้าใจอย่างชัดเจนในเรื่องดังต่อไปนี้ เช่น สิ่งใดคือ 1) สิ่งที่ วารสารระดับนานาชาติ ต้องการ /มองหาในบทความวิจัยที่ดี มีคุณภาพ 2) สิ่งใด คือ ปัญหาและอุปสรรคสำคัญในการจะตีพิมพ์บทความลงใน วารสารระดับนานาชาติ 3) ขาดการวางแผนว่าจะต้องต้องใช้ระยะเวลานานสักเท่าใด ในการตีพิมพ์บทความ 1 เรื่ อง ใน วารสารระดับนานาชาติ 4) ปัญหาและอุปสรรคของการตีพิมพ์บทความ เช่น คุณภาพของบทความวิจัย ทักษะด้านภาษาอังกฤษเพื่อเขียนงานทางวิชาการ 5) การไม่ศึกษา อ่านระเบียบ/ประกาศ/คำสั่ง/คู่มือ ให้เข้าใจ 6) กองบรรณาธิการ / ผู้ทรงคุณวุฒิ ที่มีความคิด ในการพิจารณาไม่เป็นไปตามความคาดหวังของผู้ส่งบทความวิจัย ไม่มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับประเด็นที่ผู้ส่งบทความวิจัยนำเสนอเลย 7) ในปัจจุบันวารสารวิชาการมีจํานวนมากซึ่งมีคุณภาพและมาตรฐานแตกต่างกันไป (มีตั้งแต่ระดับง่ายจนถึงยากมาก และใช้เวลาในการพิจารณาหลายเดือนถึงเป็นปี 8) บนเว็บไซต์ของสำนักพิมพ์ ไม่ระบุสถานที่ตั้งของสำนักงานที่ชัดเจน ที่อยู่สำหรับการติดต่อไม่ครบถ้วน หมายเลขโทรศัพท์ติดต่อไม่ได้ บางแห่งแจ้งไว้เพียงอีเมลเท่านั้น มักเป็นสำนักพิมพ์เปิดใหม่ในลักษณะ online only บนอินเทอร์เน็ต เพิ่งเริ่มผลิตวารสารภายในระยะเวลาเพียง 1-2 ปี และส่วนใหญ่มาจากประเทศแถบตะวันออกกลาง แอฟริกา หรือเอเชียใต้ เช่น อินเดีย ปากีสถาน (อาจเนื่องมาจากค่าจ้างแรงงานต่ำกว่าในยุโรปและอเมริกา) อาจทำให้อาจารย์ผิดหวัง เสียเวลา และหมดกำลังใจ
ดังนั้น นักวิจัยจึงควรเพิ่มความระมัดระวังในการคัดเลือกสำนักพิมพ์วารสารที่ใช้ในการนำเสนอผลงาน ทั้งนี้เพื่อหลีกเลี่ยงความเสียหายที่จะเกิดขึ้นกับประวัติของตัวนักวิจัยเอง หากต้องนำผลงานตีพิมพ์ไปใช้ประโยชน์เพื่อความก้าวหน้าในชีวิตการทำงาน เช่น การประเมินผลงานทางวิชาการ การขอทุนวิจัย หรือขอรับรางวัล
2. วัตถุประสงค์
1. เพื่อค้นหาแนวปฏิบัติที่ดี (องค์ความรู้) จากที่อยู่ในตัวบุคคล และแหล่งเรียนรู้อื่นๆ ที่ครอบคลุมด้านการจัดการเรียนการสอนและการวิจัย พร้อมทั้งนำมาจัดเก็บอย่างเป็นระบบ และเผยแพร่ออกมาเป็นลายลักษณ์อักษร
2. เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนให้บุคลากรนำแนวปฏิบัติที่ดีมาปรับใช้ในการปฏิบัติงานจริง
3. ลักษณะงานที่ปฏิบัติ
สภาพการปฏิบัติงานใหม่
4. แนวคิด/ขั้นตอน/วิธีการ (สรุป)
R การลดขั้นตอน/ระยะเวลาการดำเนินงาน
R ลดต้นทุนค่าใช้จ่ายในการดำเนินงาน
£ พัฒนาคุณภาพชีวิตในการทำงาน
£ สร้างประโยชน์และความพึงพอใจแก่ผู้รับบริการ
5. ข้อควรระวัง (ถ้ามี)
สิ่งที่ไม่ควรทำในการเขียนบทความวิจัย
1) บทความที่ไม่มีประโยชน์ต่อสังคมและต่อแวดวงวิชาการ เช่น งานที่ศึกษาอยู่ในหน่วยงานของตนเอง บุคคลภายนอก และสาธารณชนไม่สามารถใช้ประโยชน์จากงานนั้นๆ ได้
2) เป็นบทความที่ผิดหลักวิชาการ เช่น งานที่ไม่มีการอ้างอิงที่ถูกต้อง ไม่มีการใช้วิธีการวิจัยที่เหมาะสมไม่มีเหตุมีผลในงานชิ้นนั้นๆ
3) ไม่ตรงกับหัวข้อ คืองานที่มีหัวข้ออย่างหนึ่งแต่นำเสนอเนื้อหาอีกอย่างหนึ่งนั่นเอง
4) โครงสร้างในการเขียนไม่ดี คืองานที่มีลำดับการเล่าเรื่องที่ผิดพลาด อ่านแล้วไม่สามารถเข้าใจเรื่องราวได้ สื่อสารไม่ชัดเจน ไม่มีประเด็นหลักในการเขียน
5) มีข้อบกพร่องมากเกินไป บางครั้งบทความอาจถูกพิจารณาให้ตกเพราะการไม่จัดหน้ากระดาษให้ดี พิมพ์ผิดมากเกินไป จัดรูปแบบบทความไม่สมบูรณ์ เพราะผู้พิจารณาบทความจำไม่มาเสียเวลาในการพิสูจน์อักษรให้กับเรา ถ้าเรื่องแค่นี้ไม่สามารถทำได้ ก็ต้องตกไป
6) ไม่มีความเป็นตัวของตัวเอง คืองานที่อ้างอิงของคนอื่นมากจนเกินไป 10 หน้า เป็นการอ้างคนอื่นไป
8 หน้า มีเนื้อหาที่ผู้วิจัยตกผลึกเพียงน้อยนิด ซึ่งไม่ได้แสดงออกถึงองค์ความรู้ที่สร้างขึ้น
6. เคล็ดลับ/เทคนิคพิเศษ (Tips and Tricks) (สรุปโดยย่อ)
- องค์ความรู้ที่อยู่ภายในองค์กร ที่อยู่ภายในตัวบุคคล best practice คือ ดร.ชญานันท์ ที่มีความรู้เรื่องของการตีพิมพ์เผยแพร่งานวิจัยในฐาน Scopus อยู่
- จัดกิจกรรม Km โดยไปดึงผู้รู้ คือ ดร.ชญานันท์ เข้ามาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ แบ่งปันความรู้ให้กับอาจารย์ที่ยังไม่มีประสบการณ์ หรือมีประสบการณ์อยู่แล้วบางส่วน ทุกคนสรุปประเด็นของตัวเอง
- ได้องค์ความรู้ไปทดลองใช้ เมื่อทดลองใช้ แล้วก็ไปเรียนรู้จากภายนอกเพิ่มเติม
- นำความรู้ที่ได้มาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน อีกครั้ง โดยมี best practice มาค่อยนำ กำกับ และหลังจากที่ได้ความรู้จาก best practice และที่ได้หาความรู้เพิ่มเติม เราก็ถอดบทเรียนที่ ได้ และสรุปรูปแบบที่เหมาะสม และใช้ได้จริง และสรุปเป็น อินโฟกราฟฟิคที่ได้ ประกอบด้วย ความรู้ภายใน และภายนอก
- เนื่องจาก best practice เป็นบุคลากรในวิทยาลัยเอง ทำให้ช่องว่าง ความเกรงใจ ช่องว่างในการเข้าหาน้อย ซึ่งมีความเป็นกันเอง ทำให้อาจารย์สามารถเข้าปรึกษาได้ง่าย มีความเป็นมิตร เป็นกัลยาณมิตร
- เรียนรู้เพิ่มเติม แล้วกลับมาพูดตุยกันอีก เพราะต่างคนต่างได้รับประสบการณ์เพิ่มเติม
7. ผลของการดำเนินงาน (Output) (สรุปโดยย่อ)
กระบวนการการตีพิมพ์บทความวิชาการในวารสารระดับนานาชาติ ประกอบด้วย
1. การเตรียมบทความวิจัย
2. การคัดเลือกและตรวจสอบคุณภาพของวารสาร
3. ตรวจสอบคุณภาพบทความโดยผู้เชี่ยวชาญ
4. ส่งบทความไปตีพิมพ์ในวารสารที่มีคุณภาพ
5. ได้รับการตอบรับตีพิมพ์
8. ผลลัพธ์ของการดำเนินงาน (Outcome) (สรุปโดยย่อ)
กลุ่มล่าแสงเหนือได้ผลของการวิจัยมาต่อยอดเขียนเป็นบทความวิจัยจนได้รับการตีพิมพ์ ในวาร เพื่อให้ได้รับการพิจารณาตีพิมพ์ในวารสารวิชาการระดับนานาชาติ จำนวน 9 บทความ
9. ประโยชน์ที่ได้รับ (สรุปโดยย่อ)
กระบวนการการตีพิมพ์บทความวิชาการในวารสารระดับนานาชาติ ประกอบด้วย
1. การเตรียมบทความวิจัย
2. การคัดเลือกและตรวจสอบคุณภาพของวารสาร
3. ตรวจสอบคุณภาพบทความโดยผู้เชี่ยวชาญ
4. ส่งบทความไปตีพิมพ์ในวารสารที่มีคุณภาพ
5. ได้รับการตอบรับตีพิมพ์
10. ปัจจัยแห่งความสำเร็จ (สรุปโดยย่อ)
1. วิทยากร-ผู้ทรงภายในองค์กร มีความเชี่ยวชาญ และมีประสบการณ์ ได้รับเป็นวิทยากรของสถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา และเป็นวิทยากรภายนอก ให้กับคณะบัญชี มหาวิทยาลัยศรีปทุม
2. อาจารย์ของเราพัฒนาตนเองจากกิจกรรมกลุ่มการจัดการความรู้ และนำความรู้ที่ได้ไปแชร์ให้กับเพื่อนร่วมงาน จนสามารถพัฒนาบทความและส่งตีพิมพ์ในวารสารระดับนานาชาติได้
11. แนวทางการพัฒนาในอนาคต (สรุปโดยย่อ)
กลุ่มล่าแสงเหนือ มีแนวทางเพื่อนำไปปฏิบัติ ด้านนวัตกรรมที่ส่งผลต่อการปฏิบัติงานที่ดีขึ้น โดยเลือก TikTok แพลตฟอร์มวิดีโอสั้นมาแรงแห่งยุค เป็นพื้นที่สำหรับคอนเทนต์เพื่อความบันเทิงที่ได้สร้างความสุขให้กับผู้คน เพื่อเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายที่มีความหลากหลายมากขึ้น ผ่านแคมเปญ #TikTokUni