1. ความเป็นมาและเหตุผล/สภาพปัญหาและอุปสรรค (สรุปโดยย่อ)
จากผลการสำรวจการพัฒนาตนเองในคณาจารย์ทุกสาขาวิชาในวิทยาลัยนานาชาติพบว่าทักษะที่ต้องการพัฒนามากเป็นอันดับแรกคือการเขียนบทความวิจัยและจากผลการสำรวจการพัฒนาตนเองในนักศึกษาในวิทยาลัยนานาชาติพบว่าทักษะที่ต้องการพัฒนามากเป็นอันดับแรกคือการเรียนรู้การทำวิจัยและการนำเสนอต่อที่ชุมชนโดยเป็นภาษาอังกฤษ ดังนั้นกลุ่มความรู้ การเขียนบทความเพื่อตีพิมพ์ในวารสารระดับชาติหรือระดับนานาชาติ จึงจัดประชุมสมาชิกกลุ่มและช่วยกันคิดหาวิธีที่จะนำไปสู่การพัฒนาทักษะการเขียนบทความวิจัยและการนำเสนอต่อที่ชุมชนเป็นภาษาอังกฤษโดยผ่านกระบวนการอบรมการออกแบบความคิดเพื่อใช้ในการเขียนบทความวิจัยและกิจกรรมการประกวดคัดเลือกบทความวิจัย
2. วัตถุประสงค์
กลุ่มความรู้ การเขียนบทความเพื่อตีพิมพ์ในวารสารระดับชาติหรือระดับนานาชาติ จัดประชุมสมาชิกทั้งหมดเพื่อดำเนินการชี้แจงวัตถุประสงค์ของกิจกรรม KM ที่กลุ่มความรู้จะต้องดำเนินงาน แผนการจัดการความรู้ที่ 2 ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 2
สร้างผลงานวิชาการสู่การยกระดับภูมิปัญญาท้องถิ่นอย่างยั่งยืน ซึ่งศักยภาพงานวิจัยคือสิ่งสำคัญในการพัฒนาคนเองในอาจารย์และนำไปสุ่การยกระดับคุณภาพบัณฑิตตามอัตลักษณ์ของมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทาซึ่งก็คือเป็นนักปฏิบัติ ถนัดวิชาการ เชี่ยวชาญการสื่อสาร ชำนาญการคิดมีจิตสาธารณะรวมถึงการจัดกิจกรรมให้สอดคล้องกับอัตลักษณ์ของวิทยาลัยนานาชาติ ซึ่งก็คือ สื่อสารภาษาอังกฤษสู่สากลโดยมีตัวชี้วัดตามแผนปฏิบัติราชการ (KPI) คือจำนวนอาจารย์ได้มีผลงานวิจัยหรือบทความตีพิมพ์ในวารสารระดับชาติหรือระดับนานาชาติและจำนวนนักศึกษาที่ได้รับประกาศนียบัตรจากการเขียนบทความวิจัย
3. ลักษณะงานที่ปฏิบัติ
3.1 สภาพการปฏิบัติงานเดิม
3.2 สภาพการปฏิบัติงานใหม่
กระบวนการเดิม |
กระบวนการใหม่ |
สิ่งที่ปรับปรุง |
อบรมในห้องเรียน |
บันทึกภาพและเสียงเพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในแต่ละหัวข้อ ใช้สื่อวิดีทัศน์ ออนไลน์ระบบ zoom google meet |
ทุกคนมีโอกาสลงมือทำ ได้เตรียมตัวมากขึ้น มีโอกาสดูซ้ำเพื่อทบทวน |
บรรยาย |
เล่าเรื่องจากประสบการณ์ |
ความสนุกในการอบรม |
บรรยาย |
ยกตัวอย่างประกอบ กรณีศึกษา |
ความน่าสนใจในเนื้อหา |
บรรยาย |
บทบาทสมมติ |
ได้ลงมือทำ |
สอบในห้องเรียน |
ประกวดคัดเลือกบทความ |
มีรางวัลเป็นแรงบันดาลใจ |
4. แนวคิด/ขั้นตอน/วิธีการ (สรุป)
£ การลดขั้นตอน/ระยะเวลาการดำเนินงาน
£ ลดต้นทุนค่าใช้จ่ายในการดำเนินงาน
£ พัฒนาคุณภาพชีวิตในการทำงาน
£ สร้างประโยชน์และความพึงพอใจแก่ผู้รับบริการ
5. ข้อควรระวัง (ถ้ามี)
6. เคล็ดลับ/เทคนิคพิเศษ (Tips and Tricks) (สรุปโดยย่อ)
นักศึกษาที่เข้าอบรมการออกแบบความคิด พัฒนาศักยภาพการเขียนบทความวิจัย เป็นภาษาอังกฤษและนำเสนอบทความวิจัยสามารถสร้างโอกาสทางสายอาชีพในธุรกิจการบินได้ เนื่องจากประสบการณ์การทำวิจัยและประกาศนียบัตรการนำเสนอบทความจะส่งเสริมความน่าเชื่อถือในสายอาชีพและทักษะความรู้ของนักศึกษา นอกจากนี้ การจัดทำคู่มือ การออกแบบความคิด ยังเป็นการสร้างโอกาสในการพัฒนาตำแหน่งทางวิชาการของอาจารย์ได้อีกทางหนึ่ง
7. ผลของการดำเนินงาน (Output) (สรุปโดยย่อ)
ตัวชี้วัด (KPI) ตามแผนการจัดการความรู้ |
ค่าเป้าหมาย |
ผล |
- จำนวนนักศึกษาที่ได้รับรางวัลในการนำเสนอบทความวิจัย |
6 รางวัล |
ผ่าน นักศึกษาได้รับเงินรางวัลจากผลงานวิจัยดีเด่น และรางวัลการนำเสนอดีเด่น |
จำนวนอาจารย์ที่ได้รบรางวัลในการตีพิมพ์บทความวิจัยระดับนานาชาติ |
14 รางวัล |
ผ่าน อาจารย์ได้รับเงินรางวัลจากการตีพิมพ์บทความวารสารระดับนานาชาติฐานข้อมูล Scopus |
8. ผลลัพธ์ของการดำเนินงาน (Outcome) (สรุปโดยย่อ)
1 นักศึกษามีความมั่นใจ
2 นักศึกษาเรียนรู้ผ่านการทำกิจกรรมในแต่ละหัวข้อทำให้นักศึกษามีความกระตือรือร้นในการทำวิจัย
3 องค์ความรู้การออกแบบความคิดสามารถเสริมบุคลิกภาพในการนำเสนอบทความวิจัยให้กับนักศึกษาได้ โดยนักศึกษาสามารถเข้าใจเนื้อหาและรู้จักการคัดเลือก จัดลำดับความสำคัญเนื้อหาได้ รวมถึงการเปิดและปิดการนำเสนอ
4 นักศึกษามีการมองโลกในแง่ดี คือ ทัศนคติที่ดีเกี่ยวกับการทำวิจัย
5 อาจารย์มีความชำนาญที่หลากหลาย Diversoty
6. การต่อยอดสู่นวัตกรรมการศึกษาและนวัตกรรมการเกษตร
9. ประโยชน์ที่ได้รับ (สรุปโดยย่อ)
1 อาจารย์นำองค์ความรู้การออกแบบความคิดประยุกต์ใช้ในความชำนาญความรู้ที่ได้มาสอนให้นักศึกษา
2 การนำความรู้ที่ได้มาประยุกต์ใช้ร่วมกับองค์กรออื่นๆ
3 การสร้างโอกาสให้กับนักศึกษาและอาจารย์
4 การพัฒนาบุคลิกภาพผ่านกระบวนการอบรม
5 การพัฒนาทัศนคติที่ดีต่องานวิจัย
10. ปัจจัยแห่งความสำเร็จ (สรุปโดยย่อ)
1 การทำงานเป็นทีม
การร่วมแรงร่วมใจของสมาชิกกลุ่มความรู้ การเขียนบทความเพื่อตีพิมพ์ในวารสารระดับชาติหรือระดับนานาชาติ ถือเป็นปัจจัยแห่งความสำเร็จหลักของการทำกิจกรรมนี้ เนื่องจากสมาชิกของกลุ่มความรู้ทุกท่านเป็นอาจารย์ของวิทยาลัยนานาชาติและมีภาระทางด้านงานสอน งานวิจัย งานบริการวิชาการเป็นจำนวนมาก แต่ทุกครั้งที่มีการเชิญให้สมาชิกเข้าร่วมประชุมกิจกรรม KM ทางกลุ่มความรู้ก็ได้รับความร่วมมือจากสมาชิกทุกท่านด้วยดีตลอดมา พร้อมกันนี้สมาชิกกลุ่มความรู้ทุกท่านยังร่วมกันระดมความคิดดีๆ จนนำมาสู่ความสำเร็จของกิจกรรม KM
คำชี้แนะและการสนันสนุนจาก Assistant Professor Dr. Denis S. Ushakov ผู้เชี่ยวชาญทางด้านการเขียนบทความวิจัยประสานงานกับผู้ทรงคุณวุฒิจากต่างประเทศก่อให้เกิดการประกวดงานวิจัย (ISCAMR Conference )ระดับนานาชาติเป็น ครั้งแรก และผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. กรรณภัทร กันแก้ว รอง คณบดีฝ่ายวิจัยวิทยาลัยอุตสาหกรรมการบริการ `ผู้เชี่ยวชาญทางด้านการเขียนบทความวิจัย และประสบการณ์กรรมการคัดเลือกบทความวิจัย ทำให้กิจกรรมของกลุ่มความรู้ การเขียนบทความเพื่อตีพิมพ์ในวารสารระดับชาติหรือระดับนานาชาติ นั้นมีความโดดเด่นและชัดเจน ทำให้อาจารย์มีผลงานทางวิชาการและสามารถสร้างนักศึกษาเป็นนักวิจัยรุ่นใหม่สอดคล้องกับอัตลักษณ์ของมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทาได้
3 ความร่วมมือจากนักศึกษา
ความกระตือรือร้นและความใฝ่เรียนรู้ของนักศึกษาที่เข้าร่วมอบรมซึ่งจัดขึ้นโดยกลุ่มความรู้ การเขียนบทความเพื่อตีพิมพ์ในวารสารระดับชาติหรือระดับนานาชาติ คือพลังที่ทำให้สมาชิกของกลุ่มทุกคนมีกำลังใจในการทำกิจกรรมฝึกอบรม
ความเป็นผู้ให้ของสมาชิกกลุ่มความรู้ การเขียนบทความเพื่อตีพิมพ์ในวารสารระดับชาติหรือระดับนานาชาติ ทุกคน 4. ความเป็นผู้ให้ของสมาชิกกลุ่มความรู้ การเขียนบทความเพื่อตีพิมพ์ในวารสารระดับชาติหรือระดับนานาชาติ ทุกคน ความสำเร็จของการอบรม เกิดจากการเสียสละทั้งแรงกายและแรงใจของสมาชิกทุกคน การปลีกเวลาจากภาระหน้าที่อื่นๆ ของอาจารย์ทุกท่านเพื่อมาช่วยกันพัฒนาให้นักศึกษามีอัตลักษณ์ของมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา แสดงให้เห็นถึงความเป็นผู้ให้ความรู้และความรักต่อศิษย์ทุกคนอย่างแท้จริง
11. แนวทางการพัฒนาในอนาคต (สรุปโดยย่อ)
เนื่องจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด 19 ทำให้มีการปรับรูปแบบการทำกิจกรรมผสมผสานคือจัดอบรมมีพร้อมทั้งออนไลน์ และในห้องเรียน ทำให้สมาชิกของกลุ่มทุกคนต้องระดมความคิดและร่วมแรงร่วมใจกันอย่างจริงจังในการผลักดันให้กิจกรรมนี้ประสบผลสำเร็จเป็นรูปธรรม กลุ่มความรู้ การเขียนบทความเพื่อตีพิมพ์ในวารสารระดับชาติหรือระดับนานาชาติจึงมีการปรับรูปแบบการประกวดบทความการประกวดThe 1st International Students Conference on Academic Multidisciplinary Research 2021 (ISCAMR) ในรูปแบบออนไลน์การใช้ zoom และ Google meet