แนวทางปฏิบัติการคำนวนเงินเดือน ในกรณี ขาด ลา มาสาย ของพนักงาน (เงินนอกงบประมาณ)

กลุ่มงานการเงินและพัสดุ กลุ่มย่อย “กระบวนการจัดทำเงินเดือน”  เกิดจากการรวมตัวของบุคลากรสายสนับสนุนวิชาการที่ปฏิบัติงานด้านการจัดทำเงินเดือนของหน่วยงาน  มีการกำหนดองค์ความรู้ที่จำเป็นในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ คือ กระบวนการจัดทำเงินเดือนซึ่งตอบสนองตามยุทธศาสตร์ที่ 1 พัฒนามหาวิทยาลัยให้เป็นเอตทัคคะอย่างยั่งยืน และเป้าประสงค์ในเรื่อง มหาวิทยาลัยมีการบริหารงานที่สอดคล้องตามหลักธรรมาภิบาล  เพื่อดำเนินงานจัดการความรู้ตามแนวทางที่มหาวิทยาลัยกำหนด มีการประชุมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ สกัดองค์ความรู้ และนำองค์ความรู้ที่ได้ไปใช้ในการจัดทำเงินเดือนให้เกิดข้อผิดพลาดหรือเกิดข้อผิดพลาดน้อยที่สุด

กลุ่มได้กำหนดองค์ความรู้ที่จำเป็นในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ คือ กระบวนการจัดทำเงินเดือน  ตอบสนองตามประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 1 พัฒนามหาวิทยาลัยให้เป็นเอตทัคคะอย่างยั่งยืน เป้าประสงค์เรื่องมหาวิทยาลัยมีการบริหารงานที่สอดคล้องตามหลักธรรมาภิบาล โดยมีการจัดตั้งกลุ่ม KM กลุ่มงานการเงินและพัสดุ กลุ่มย่อย  กระบวนการจัดทำเงินเดือน 

ซึ่งผลที่ได้จากการประชุมในครั้งนี้สมาชิกในกลุ่ม กระบวนการจัดทำเงินเดือน ได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้จนได้หัวข้อการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ของกลุ่ม คือ “แนวทางปฏิบัติการคำนวนเงินเดือน ในกรณี ขาด ลา มาสาย ของพนักงาน(เงินนอกงบประมาณ)” ซึ่งมีแผนการดำเนินงานของกลุ่มดังนี้

กิจกรรม

วิธีการสู่ความสำเร็จ

ผลลัพธ์ที่ได้

1. การกำหนดองค์ความรู้หลักที่จำเป็นหรือสำคัญต่องานหรือกิจกรรมของหน่วยงาน และกำหนดเป้าหมายของการจัดการความรู้

 1.ประชุมเพื่อ วิเคราะห์ข้อมูลและกำหนดองค์ความรู้ที่ต้องการใช้

2.กำหนดแผน ขอบเขตและเป้าหมายของการจัดการความรู้

-ได้ระเบียบ และแนวปฏิบัติที่จะนำไปใช้ในการจัดการความรู้ที่ชัดเจนและมีประสิทธิภาพความรู้ที่ชัดเจนและมีประสิทธิภาพ

2. การเสาะแสวงหาความรู้ที่ต้องการ

1.ประชุมหารือ เพื่อรวบรวมระเบียบ ข้อบังคับ และข้อมูลของแต่ละหน่วยงาน รวมถึงประสานงานติดต่อสอบถามผู้เชี่ยวชาญที่เกี่ยวข้อง

2.ประชุมกลุ่มเพื่อหาข้อสรุปเกี่ยวกับระเบียบและข้อบังคับ โดยการประชุมกลุ่ม และแลกเปลี่ยนข้อมูลทางไลน์กลุ่ม รวมถึงรวมรวมข้อมูลจากประสบการณ์ตรงจากผู้เชี่ยวชาญ

3.จัดทำคู่มือเกี่ยวกับปฏิบัติการคำนวณเงินเดือน ในกรณีขาด ลา มาสาย ของพนักงาน (เงินนอกงบประมาณ)

-ได้ข้อสรุปเกี่ยวกับระเบียบ ข้อบังคับ แนวทาง และหลักเกณฑ์ในการจัดการความรู้เกี่ยวกับการคำนวณเงินเดือน ในกรณีขาด ลา มาสาย ของพนักงาน (เงินนอกงบประมาณ)

3. การปรับปรุง ดัดแปลง ความรู้บางส่วนให้เหมาะสมต่อการดำเนินงานของหน่วยงาน

1. นำความรู้ที่ได้จากการเสาะแสวงหาความรู้หรือจากแนวทางปฏิบัติการการคำนวณเงินเดือน ในกรณีขาด ลา มาสาย ของพนักงาน (เงินนอกงบประมาณ) มาปรับปรุง แก้ไข เพื่อลดปัญหาในการจัดทำเงินเดือนของพนักงานที่ขาด ลา มาสาย (เงินนอกงบประมาณ)

-ลดปัญหาคำนวณเงินเดือน ในกรณีขาด ลา มาสาย ของพนักงาน (เงินนอกงบประมาณ)

- ได้วิธีการคำนวณเงินเดือน ในกรณีขาด ลา มาสาย ของพนักงาน (เงินนอกงบประมาณ) ที่ถูกต้องและชัดเจน

-(ร่าง) คู่มือแนวปฏิบัติการคำนวณเงินเดือน ในกรณีขาด ลา มาสาย ของพนักงาน (เงินนอกงบประมาณ)

4. การนำความรู้ที่ได้จากการจัดการความรู้มาปรับใช้ในการปฏิบัติงานจริง

1.ประชุมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ของแต่ละหน่วยงานผ่านสื่อออนไลน์เกี่ยวกับการนำองค์ความรู้ใหม่หรือแนวทางมาใช้ในการปฏิบัติ

2.สรุปผลการใช้แนวทางหรือองค์ความรู้ใหม่

-ประเด็นปัญหาที่เกิดขึ้นใหม่ (ถ้ามี) ปฏิบัติการคำนวณเงินเดือน ในกรณีขาด ลา มาสาย ของพนักงาน (เงินนอกงบประมาณ)

-ข้อสรุปแนวทางในการทำคู่มือ คู่มือแนวปฏิบัติการคำนวณเงินเดือน ในกรณีขาด ลา มาสาย ของพนักงาน (เงินนอกงบประมาณ)

5. การนำประสบการณ์จากการทำงาน และการประยุกต์ใช้ความรู้มาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และสกัดออกมาเป็นขุมความรู้

1.จัดทำคู่มือคู่มือแนวปฏิบัติการคำนวณเงินเดือน ในกรณีขาด ลา มาสาย ของพนักงาน (เงินนอกงบประมาณ)

-คู่มือแนวปฏิบัติการคำนวณเงินเดือน ในกรณีขาด ลา มาสาย ของพนักงาน (เงินนอกงบประมาณ)

6. การรวบรวมความรู้และจัดเก็บอย่างเป็นระบบโดยเผยแพร่ออกมาเป็นลายลักษณ์อักษร

1.จัดทำคู้มือ/คลังความรู้

2.เผยแพร่โดยจัดทำบันทึกเวียนกระบวนการจัดทำเงินเดือนของพนักงานที่ขาด ลา มาสาย (เงินนอกงบประมาณ) ให้บุคลากรของมหาวิทยาลัยฯ

3.เผยแพร่ในเว็บไซต์ของแต่ละหน่วยงาน

-มีช่องทางการเผยแพร่  คู่มือแนวปฏิบัติการคำนวณเงินเดือน ในกรณีขาด ลา มาสาย ของพนักงาน (เงินนอกงบประมาณ) ให้ผู้เกี่ยวข้องรับทราบเพิ่มขึ้น

การนำองค์ความรู้ไปใช้ประโยชน์

          กลุ่มกระบวนการเบิกจ่ายเงินเดือนพนักงานใหม่  ได้องค์ความรู้คือ คู่มือแนวทางปฏิบัติการคำนวนเงินเดือน ในกรณี ขาด ลา มาสาย ของพนักงาน(เงินนอกงบประมาณ) นำมาใช้ในการปฏิบัติงานการเบิกจ่ายเงินเดือน โดยได้มีการเผยแพร่ทาง e-office , Google Drive ,Line ,email

ผลที่เกิดขึ้นจากการนำองค์ความรู้ไปใช้

ความรู้ที่ได้จากการดำเนินการจัดการความรู้นั้นของกลุ่มกระบวนการเบิกจ่ายเงินเดือน “แนวทางปฏิบัติการคำนวนเงินเดือน ในกรณี ขาด ลา มาสาย ของพนักงาน(เงินนอกงบประมาณ)”

1. ทำให้ในกลุ่มมีความรู้ และเทคนิคการเบิกจ่ายของกระบวนการเบิกจ่ายเงินเดือนในการคำนวนเงินเดือน ในกรณี ขาด ลา มาสาย ของพนักงาน(เงินนอกงบประมาณ)”

2. ได้แลกเปลี่ยนปัญหากระบวนการเบิกจ่ายเงินเดือนที่เกิดขึ้นของแต่ละหน่วยงาน มาปรับใช้กับหน่วยงานตัวเองเพื่อให้การปฏิบัติงานมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

 3. นำปัญหาต่างๆมารวบรวมแล้วนำมาทำเป็นคู่มือ“แนวทางปฏิบัติการคำนวนเงินเดือน ในกรณี ขาด ลา มาสาย ของพนักงาน(เงินนอกงบประมาณ)” ทำให้เจ้าหน้าที่ที่ทำเงินเดือนเมื่อเกิดปัญหาก็สามารถนำคู่มือการทำเงินเดือนและจากความรู้ที่ได้พูดคุยแลกเปลี่ยนเรียนรู้ มาใช้ในการปฏิบัติงานการทำเงินเดือนได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น