ปฏิเสธไม่ได้ว่า ความสาเร็จในทุกๆด้านมาจากการลงมือทา (Doing) การพัฒนาการศึกษาก็เช่นเดียวกัน ต้องมีกระบวนการเรียนการสอนที่ทันสมัยและเน้นการปฏิบัติมากขึ้น ดังนั้นการกิจกรรมในห้องเรียนถือเป็นเรื่องสาคัญมากในการสอนและการถ่ายทอดวิชาความรู้ทุกแขนง เนื่องจากผู้เรียนยุคใหม่ล้วนต้องการการถูกกระตุ้นด้วยวิธีการที่ทันสมัย เพื่อให้ผู้เรียนได้ใช้ความสามารถทุกด้านในการพัฒนาทักษะต่างๆของตนเอง ไม่ว่าจะเป็น การพูด การอธิบาย การวิเคราะห์ การนาเสนอ และการแสดงความคิดเห็น ดังนั้น ผู้สอนที่ต้องการจัดกิจกรรมในห้องเรียนหรือนากิจกรรมไปประยุกต์ใช้กับรายวิชาต่างๆจึงควรรู้เทคนิควิธีการที่จะสามารถสร้างผลลัพธ์ในชั้นเรียนได้จริง ดังนี้
1. ประเมินรายวิชาที่สอนและคัดเลือกประเด็นหรือเนื้อหามาประยุกต์ใช้ในรูปแบบของกิจกรรม การจัดกิจกรรมในห้องเรียนต้องคานึงถึงเนื้อหาที่สอนเป็นอันดับแรก เพื่อจะได้นาเนื้อหาที่จะสอนในแต่ละสัปดาห์มาจาแนกและประเมินว่าควรจะจัดกิจกรรมพัฒนานักศึกษาในรูปแบบไหนได้บ้าง ขึ้นแรกผู้สอนต้องวางจุดประสงค์ไว้ล่วงหน้าว่าต้องการให้นักศึกษาได้เรียนรู้ทักษะด้านไหน เช่น ต้องการให้นักศึกษาได้คิดหาคาตอบด้วยตัวเองแทนการรับฟังผู้สอนเพียงช่องทางเดียว เพื่อพัฒนาทักษะด้านการคิด ผู้สอนก็ต้องออกแบบกิจกรรมที่นักศึกษาต้องใช้ความคิด เช่น ในรายวิชา การเคลื่อนไหวในการแสดง(Movement in performance) ในครั้งแรกของการเรียนการสอน ผู้สอนต้องการวัดความเข้าใจนักศึกษาว่านักศึกษาทราบหรือไม่ว่าการเคลื่อนไหวร่างกาย (Movement) สาคัญอย่างไรกับการแสดง ผู้สอนก็จะเริ่มสร้างคาถามนาขึ้นมาก่อน เพื่อให้นักศึกษาทุกคนได้ลองตอบคาถาม ซึ่งการตอบคาถามเพียงอย่างเดียวไม่สามารถวัดความรู้ความเข้าใจได้ เพราะนักศึกษาอาจจะยังเข้าใจผิดอยู่ หรือไม่ก็ตอบตามเพื่อน ดังนั้นผู้สอนจึงเตรียมคิดรูปแบบกิจกรรมเพื่อทดสอบความเข้าใจนักศึกษา โดยวางกิจกรรมไว้ทีหลังการตอบคาถามของนักศึกษา เมื่อนักศึกษาทุกคนได้ตอบคาถามครบทุกคนแล้ว นักศึกษาจะได้ทดลองทากิจกรรมที่เกี่ยวกับคาถามข้างต้น โดยที่นักศึกษาต้องลองออกแบบการเคลื่อนไหวร่างกายที่ใช้กับการสื่อสารการแสดง เพื่อวัดผลความเข้าใจ และวัดว่าสิ่งที่ได้ทดลองทานั้นเป็นจริงอย่างคาตอบที่ได้ตอบมาหรือไม่ ในขั้นตอนการทดสอบนี้ นักศึกษาจะได้รับโจทย์ที่แตกต่างกัน ในโจทย์จะซ่อนความต้องการ (onjective) เอาไว้ หลังจากทุกคนทราบโจทย์ของตัวเอง ผู้สอนก็จะให้เวลานักศึกษาได้คิด ได้หาวิธีการนาเสนอ ในขั้นตอนนี้นักศึกษาแต่ละคนจะได้ฝึกฝนกระบวนการคิด ว่าจะแสดงออกอย่างไร จะใช้การเคลื่อนไหวร่างกายส่วนไหนในการสื่อสารให้เป็นไปตามโจทย์ที่ได้รับ หลังจากทุกคนได้นาเสนอการแสดงของตนเอง คนที่เหลือก็จะได้เรียนรู้ทักษะ วิธีคิด วิธีการแสดงออกของเพื่อนในชั้นด้วย ดังนั้น การจัดกิจกรรมที่เน้นให้ผู้เรียนได้ลงมือทา(Doing) ได้ใช้ความคิด (Thinking) จึงเป็นการกระตุ้นให้ผู้เรียนได้สนใจในบทเรียนตลอดเวลา เพราะต้องมีสมาธิตลอดเวลา
2. การออกแบบกิจกรรม
การออกแบบกิจกรรมเป็นขั้นตอนที่ต้องให้ความสาคัญมากพอๆกับการคัดเลือกเนื้อหาที่จะนามาประยุกต์ใช้ ซึ่งสองส่วนนี้มีความสัมพันธ์กันอย่างปฏิเสธไม่ได้ เพราะเนื้อหาการสอนจะเป็นตัวกาหนดแนวทางให้ผู้สอนคิดค้นรูปแบบกิจกรรมให้เหมาะสมเพื่อให้ได้ประโยชน์ต่อผู้เรียนมากที่สุดการออกแบบกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนต้องคานึงถึงตัวผู้เรียนประกอบกันด้วย ผู้สอนต้องสังเกตและศึกษาพฤติกรรมของผู้เรียนก่อนว่า ผู้เรียนมีความพร้อมมากพอจะทากิจกรรมในชั้นเรียนที่ผู้สอนเตรียมมาหรือไม่ขั้นตอนถัดไปเมื่อคิดค้นกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนได้แล้ว ขั้นตอนการอธิบายก็มีความจำเป็นมาก ผู้สอนต้องชี้แจงให้นักศึกษาเห็นภาพและจุดประสงค์ที่จัดกิจกรรมในชั้นเรียนขึ้น ผู้เรียนจะได้
ทราบว่าตนจะได้ฝึกฝนทักษะใดและจะได้ประโยชน์จากกิจกรรมดังกล่าวนั้นอย่างไรบ้าง เมื่อผู้สอนและผู้เรียนมีความเข้าใจตรงกันแล้ว การจัดกิจกรรมก็จะเป็นไปตามทิศทางที่ผู้สอนได้เป้าหมายเอาไว้ในส่วนของอุปกรณ์และสื่อการสอน สามารถเป็นอะไรก็ได้ เช่น คลิป
วีดีโอ เพลง บทความ ข่าว หนังบทสัมภาษณ์ หนังสือ งานวิจัย เป็นต้น ขึ้นอยู่กับความต้องการของผู้สอนว่าจะนาคุณค่าจากสิ่งไหนมาสร้างสรรค์ให้สอดคล้องกับจุดประสงค์ที่ตั้งเอาไว้ในตอนต้น
3. ประเมินผลจากผู้เรียนทุกครั้งหลังใช้กิจกรรมในชั้นเรียนขั้นสุดท้ายของการจัดกิจกรรมในชั้นเรียน ผู้สอนต้องประเมินผลลัพธ์ที่ได้จากกิจกรรมนั้นๆ ด้วย เพราะการประเมินผลเป็นวิธีเดียวที่จะรู้ว่านักศึกษาได้ประโยชน์จากกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนหรือไม่ ส่วนวิธีการประเมินผลสามารถเกิดขึ้นได้ทันทีหลังจากกิจกรรมสิ้นสุดลง โดยที่ผู้สอนต้องไม่ลืมที่จะสรุป กิจก รรมและอธิบายส่ วนสาคัญเพิ่มเติมใ นส่วนที่นัก ศึก ษาต้องการความเข้าใ จเพิ่มเติม หลังจากนั้นค่อยประเมินผลลัพธ์ผ่านการตั้งคาถามว่า นักศึกษาได้เรียนรู้อะไร ได้ฝึกฝนทักษะอะไร และรู้สึกได้เพิ่มพูนความรู้จริงหรือไม่หากคาตอบของนักศึกษาสอดคล้องกับจุดประสงค์หรือเป้าหมายที่ผู้สอนตั้งเอาไว้ ก็ถือว่ากิจกรรมพัฒนาผู้เรียนประสบผลสาเร็จ และเกิดประโยชน์กับผู้เรียนอย่างแท้จริง