กลุ่มการเขียนข้อเสนอโครงการวิจัย

         มหาวิทยาลัยได้กาหนดนโยบายให้ทุกหน่วยงานดาเนินการจัดการความรู้เพื่อเป็นเครื่องมือในการพัฒนาบุคลากรและยกระดับมหาวิทยาลัยสู่องค์กรแห่งการเรียนรู้ โดยทุกหน่วยงานได้ดาเนินการจัดการความรู้ตามแนวทางที่มหาวิทยาลัยกาหนด กลุ่มความรู้การเขียนข้อเสนอโครงการวิจัยเกิดจากการรวมตัวของคณาจารย์ที่สนใจจะแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในเรื่อง การเขียนข้อเสนอโครงการวิจัย ซึ่ง
ตอบสนองตามยุทธศาสตร์ที่ 2 สร้างผลงานวิชาการ ตีพิมพ์ เผยแพร่ และสิทธิทางปัญญา สมาชิกกลุ่ม ประกอบด้วย คณาจารย์ที่สังกัดระดับปริญญาตรี 5 สาขาวิชา ปริญญาโท 2 สาขา และปริญญาเอก 2 สาขา ได้แก่ ระดับปริญญาตรี 1) สาขาวิชาการจัดการคุณภาพ 2) สาขาวิชาการจัดการทุนมนุษย์และองค์การ 3) สาขาวิชาการจัดการระบบสารสนเทศเพื่อธุรกิจ 4) สาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศและการ
สื่อสารเพื่อการตลาด และ 5) สาขาวิชารัฐศาสตร์ ระดับปริญญาโท 1) สาขาวิชานวัตกรรมการจัดการ และ 2) สาขาวิชารัฐศาสตร์มหาบัณฑิต และระดับปริญญาเอก 1) สาขาวิชานวัตกรรมการจัดการ และ 2) สาขาวิชารัฐศาสตร์ดุษฎีบัณฑิต โดยกลุ่มความรู้การเขียนข้อเสนอโครงการวิจัยได้ดาเนินการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ตามแนวทางที่มหาวิทยาลัยกาหนด
       กลุ่มความรู้การเขียนข้อเสนอโครงการวิจัยจึงจัดทาเล่มองค์ความรู้ เรื่อง “การเขียนข้อเสนอโครงการวิจัย” เพื่อจัดเก็บองค์ความรู้ให้เป็นลายลักษณ์อักษร และเป็นแนวทางให้บุคลากรสายวิชาการที่สนใจนาไปใช้เป็นแนวทางในการเขียนข้อเสนอโครงการวิจัย ต่อไป

       กลุ่มความรู้ได้ดำเนินการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ตามกระบวนการการ KM 6 ขั้นตอน ประกอบด้วย 1) การกำหนดองค์ความรู้หลักที่จำเป็นหรือสำคัญต่องานหรือกิจกรรมของหน่วยงาน และกำหนดเป้าหมายของการจัดการความรู้ 2) การเสาะแสวงหาความรู้ที่ต้องการ 3) การปรับปรุง ดัดแปลง ความรู้บางส่วนให้เหมาะสมต่อการดำเนินงานของหน่วยงาน 4) การนำความรู้ที่ได้จากการจัดการความรู้มาปรับใช้ในการปฏิบัติงานจริง 5) การนำประสบการณ์จากการทำงาน และการประยุกต์ใช้ความรู้มาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และสกัดออกมาเป็นขุมความรู้ 6) การรวบรวมความรู้และจัดเก็บอย่างเป็นระบบโดยเผยแพร่ออกมาเป็นลายลักษณ์อักษร

 องค์ความรู้ที่ได้จากการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ คือ การเขียนข้อเสนอโครงการวิจัย