กลุ่มการพัฒนางานสร้างสรรค์สู่งานวิจัย

      มหาวิทยาลัยได้กำหนดนโยบายให้ทุกหน่วยงานดำเนินการจัดการความรู้เพื่อเป็นเครื่องมือในการ
พัฒนาบุคลากรและยกระดับมหาวิทยาลัยสู่องค์กรแห่งการเรียนรู้ โดยทุกหน่วยงานได้ดำเนินการจัดการ
ความรู้ตามแนวทางที่มหาวิทยาลัยกำหนด กลุ่มความรู้การพัฒนางานสร้างสรรค์สู่งานวิจัย เกิดจากการ
รวมตัวของคณาจารย์ที่สนใจจะแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในเรื่อง การพัฒนางานสร้างสรรค์สู่งานวิจัย ซึ่งตอบสนอง
ตามยุทธศาสตร์ที่ 2 สร้างผลงานวิชาการสู่การยกระดับภูมิปัญญาท้องถิ่นอย่างยั่งยืน สมาชิกกลุ่ม
ประกอบด้วย คณาจารย์คณะศิลปกรรมศาสตร์ศาสตร์ ทั้ง 6 สาขาวิชา ประกอบด้วย 1) สาขาวิชา
ศิลปะการแสดง(นาฏศิลป์ไทย ,ศิลปะการละคร) 2) สาขาวิชาการออกแบบนิเทศศิลป์ 3) สาขาวิชาการ
ออกแบบเครื่องแต่งกาย 4) สาขาวิชาการออกแบบผลิตภัณฑ์สร้างสรรค์ 5) สาขาวิชาจิตรกรรม 6) สาขาวิชา
ดนตรี โดยกลุ่มการพัฒนางานสร้างสรรค์สู่งานวิจัยได้ดำเนินการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ตามแนวทางที่
มหาวิทยาลัยกำหนดโดยกลุ่มความรู้การพัฒนางานสร้างสรรค์สู่งานวิจัยจึงจัดทำรายงานสรุปผลการ
ดำเนินงานการจัดการความรู้ เรื่อง การพัฒนางานสร้างสรรค์สู่งานวิจัย เพื่อจัดเก็บองค์ความรู้ให้เป็นลาย
ลักษณ์อักษร และเป็นแนวทางให้บุคลากรสายวิชาการที่สนใจนำไปใช้เป็นแนวทางในการเขียนบทความ ต่อไป

กลุ่มความรู้ได้ดำเนินการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ตามกระบวนการการ KM 6 ขั้นตอน ประกอบด้วย 1) การกำหนดองค์ความรู้หลักที่จำเป็นหรือสำคัญต่องานหรือกิจกรรมของหน่วยงาน และกำหนดเป้าหมายของการจัดการความรู้ 2) การเสาะแสวงหาความรู้ที่ต้องการ 3) การปรับปรุง ดัดแปลง ความรู้บางส่วนให้เหมาะสมต่อการดำเนินงานของหน่วยงาน 4) การนำความรู้ที่ได้จากการจัดการความรู้มาปรับใช้ในการปฏิบัติงานจริง 5) การนำประสบการณ์จากการทำงาน และการประยุกต์ใช้ความรู้มาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และสกัดออกมาเป็นขุมความรู้ 6) การรวบรวมความรู้และจัดเก็บอย่างเป็นระบบโดยเผยแพร่ออกมาเป็นลายลักษณ์อักษร

 องค์ความรู้ที่ได้จากการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ คือ การพัฒนางานสร้างสรรค์สู่งานวิจัย

รายละเอียดตามเอสารแนบ