ส่วนที่ 2 การดำเนินงานจัดการความรู้ ขั้นตอนที่ 2 การเสาะแสวงหาความรู้ที่ต้องการ/ การปรับปรุง ดัดแปลง ความรู้บางส่วนให้เหมาะสมต่อการดำเนินงานของหน่วยงาน

กลุ่มความรู้ได้มีการแสวงหาความรู้ในเรื่อง การเขียนข้อเสนอโครงการวิจัย โดยประชุมแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับสมาชิกในกลุ่ม ดังนี้

1) การประชุมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ครั้งที่ 1 เมื่อวันที่ 3 พฤษภาคม 2560 ประเด็นการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ คือ เทคนิค/วิธีปฏิบัติในเรื่องการเขียนข้อเสนอโครงการวิจัยที่ท่านเคยปฏิบัติ โดยสมาชิกได้ร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้และถอดบทเรียน เทคนิค/วิธีปฏิบัติในเรื่องการเขียนข้อเสนอโครงการวิจัย โดยมีใบงานถอดบทเรียนการปฏิบัติงาน (รายบุคคล) ดังนี้

ใบงาน 1 ถอดบทเรียนการปฏิบัติงาน (รายบุคคล)

1. ชื่อ-นามสกุล ………………………………………………………………………………………สังกัด…………………………………………………

2. ชื่อกลุ่มชุมชนนักปฏิบัติ(Community of Practice : CoP).......................เลขกลุ่มย่อ (1/1,1/2,2/1)..........

3. ท่านมีเทคนิค/วิธีปฏิบัติในเรื่องการเขียนข้อเสนอโครงการวิจัย อย่างไร ที่ท่านเคยปฏิบัติ

                               สมาชิกกลุ่มร่วมแลกเปลี่ยนและเขียนเทคนิค/วิธีปฏิบัติในเรื่องการเขียนข้อเสนอโครงการวิจัย จากนั้นนำมาสกัดองค์ความรู้เพื่อให้ได้แนวทางการเขียนข้อเสนอโครงการวิจัย นำไปสู่การปรับปรุงความรู้ให้เหมาะสมกับการนำไปปฏิบัติในการประชุมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ครั้งต่อไป โดยสรุปความรู้ที่สมาชิกได้ร่วมกันถอดบทเรียนและสกัดองค์ความรู้ ดังนี้

วิธีการปฏิบัติ

1.1 ความสำคัญ และที่มาของปัญหา

  1. เลือกปัญหาจากโจทย์ วิจัย หรือปัญหาของชุมชน
  2. ต้องเป็นงานที่มีความเป็นไปได้ ไม่ซ้ำกับงานคนอื่น
  3. เขียนให้กระชับ ชัดเจน เล็งถึงเป้าหมายและความจำเป็น
  4. ต้องมีข้อมูลของสถานการณ์/ สภาพในปัจจุบันที่เป็นอยู่ ความต้องการ
  5. ศึกษากรอบการวิจัยและวัตถุประสงค์ที่ผู้ให้ทุนต้องการ ให้เข้าใจ
  6. เขียนบรรยายความสำคัญและที่มาของปัญหาให้สอดคล้องกับกรอบวิจัย และวัตถุประสงค์
  7. สืบค้นข้อมูลจากแหล่งที่เชื่อถือได้ และนำมาอ้างอิงประกอบการเขียน)
  8. เรียบเรียงเนื้อหาจากภาพใหญ่ลงมาเข้าสู่ประเด็นปัญหาที่ต้องการวิจัยเพื่อหาคำตอบ
  9. ศึกษาประเด็นที่เป็น hot issue
  10. เขียนอธิบายความจำเป็นที่จะต้องทำ
  11. อ้างอิงแนวคิด บทความ กฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง
  12. กำหนดประเด็นปัญหาที่กำลังเป้นที่สนใจ/ หรือมีผลกระทบในปัจจุบัน
  13. เขียนตามระเบียบวิธีวิจัย (เกริ่นนำสภาพปัญหาทั่วไป ระบุปัญหาที่จะทำ บ่งบอกว่ามีความสำคัญอย่างไร)
  14. ถ้าไม่ทำเกิดอะไร ทำเกิดอะไร ทำทำไม
  15. ปัญหามาจากอะไร
  16. เขียนเนื้อหาให้ครอบคลุม สรุปประเด็นชัดเจน
  17. ศึกษา ค้นคว้าข้อมูลที่เกี่ยวข้อง/ สนใจทำวิจัยจาก Internet
  18. หาข้อมูลมาสนับสนุนว่าเป็นปัญหาในปัจจุบัน
  19. ร้อยเรื่องจากภาพใหญ่ โลก-ประเทศ-ปัญหา

1.2 วัตถุประสงค์ของงานวิจัย

  1. ตอบโจทย์องค์กร รัฐบาล มหาวิทยาลัย
  2. ต้องมีระเบียบวิจัย
  3. นำไปใช้ประโยชน์ได้
  4. เขียนให้สอดคล้องกับประเด็นการวิจัย
  5. มีกลุ่มเป้าหมายในวัตถุประสงค์
  6. เขียนให้ชัดเจนว่าจะศึกษาอะไร เพื่อนำไปสู่การตอบโจทย์วิจัย
  7. ตอบหัวข้อ/โจทย์วิจัย ต้องการอะไร
  8. สอดคล้องกับสภาพปัญหา
  9. ครอบคลุมสิ่งที่ต้องการศึกษา
  10. สามารถกำหนดรูปแบบการวิจัย ตั้งสมมุติฐาน
  11. ต้องการอะไร อยากรู้เรื่องอะไร
  12. เชื่อมต่อปัญหา + เส้นทางแก้ไข + ประโยชน์

1.3 ขอบเขตของการวิจัย

  1. ทำที่ไหน เมื่อไหร่ อย่างไร ทำกับใคร
  2. จัดทำ Grant Chart เพื่อดูระยะเวลาการทำ
  3. ระบุจำนวนกลุ่มประชากรให้แน่นอน
  4. ระบุกลุ่มเป้าหมายให้ชัดเจน

1.5 การทบทวนวรรณกรรม/ สารสนเทศ ที่เกี่ยวข้อง

  1. ศึกษาจากฐานข้อมูลออนไลน์ เพื่อจัดทำรายการเอกสารที่ใช้ในการทบทวนวรรณกรรม
  2. ศึกษาจากงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับเรื่องที่จะทำ
  3. ลงพื้นที่หาข้อมูล และหาข้อมุลจากตัวบุคคลที่มีความรู้เช่น ปราชญ์ชาวบ้าน
  4. ใช้ฐานข้อมูลที่ใหม่และน่าเชื่อถือ

1.7 ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ

  1. ดูความเกี่ยวข้องกับเรื่องว่าเกี่ยวข้องกับหน่วยงานใด
  2. ดูจากวัตถุประสงค์ของงานวิจัย
  3. จากการศึกษากลุ่มตัวอย่าง
  4. ตอบวัตถุประสงค์ของการวิจัยเพื่อเป็นแนวทางต่อไป
  5. เขียนให้เห็นถึงประโยชน์ต่อส่วนรวมในระดับประเทศ/ ประโยชน์สูงสุด
  6. ไม่ควรเขียนในลักษณะที่ล้อจากวัตถุประสงค์
  7. วิเคราะห์ worst case ของปัญหาและสร้างประโยชน์เพื่อกันปัญหา
  8. ไม่ขยายเกินความจริง อยู่ในขอบเขตวัตถุประสงค์
  9. สร้างประโยชน์จากการแก้ปัญหา

1.8 แผนการถ่ายทอดเทคโนโลยีหรือผลการวิจัยสู่กลุ่มเป้าหมายเมื่อสิ้นสุดการวิจัย

  1. อบรมและสัมมนา
  2. บริการวิชาการ
  3. เผยแพร่ของเว็บไซต์

  1. วิธีการดำเนินการวิจัย และสถานที่ทำการทดลอง/เก็บข้อมูล
  1. เรียบเรียงให้เป็นระบบ อ่านง่าย เป็นขั้นตอน
  • รูปแบบการวิจัยเชิงทดลอง (กึ่งทดลอง/ทดลอง) มีการสุ่ม/มี Intervention กลุ่มตัวอย่างกี่กลุ่ม
  • ประชากร & กลุ่มตัวอย่าง มีวิธีการเลือกกลุ่มตัวอย่างที่ชัดเจนถูกต้องตามหลักการวิจัย เช่น สูตรการคำนวณขนาดตัวอย่าง ระดับนัยสำคัญ ค่าขนาดอิทธิพล (effect size) ระดับ เล็ก กลาง ใหญ่ การสุ่มเลือก
  • ขั้นตอนการวิจัย แบ่งเป็นชั้นให้เห็นชัดเจน
  • ขั้นเตรียมการ เตรียมเครื่องมือ สถานที่ อาสาสมัคร จริยธรรม
  • ขั้นดำเนินการ

- ระยะก่อน Intervention ชี้แจงอาสาสมัคร แบ่งกลุ่ม

- ระยะ Intervention ดำเนินการทดสอบเก็บข้อมูล

- ระยะประเมินผล เก็บข้อมูลแต่ละครั้ง ดูแลความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้น

  • เครื่องมือ บอกให้ชัดว่าใช้เครื่องมือ แบบสอบถาม มีความเที่ยง? รายละเอียดแบบสอบถามกี่ข้อ มาจากไหน กรมอนามัย แต่ต้องมาหาความตรงและเที่ยงของเครื่องมืออีกครั้ง
  • สถิติที่ใช้ ดูว่าเป็นข้อมูลเชิงปริมาณ/ คุณภาพ หาความสัมพันธ์ วิเคราะห์ให้ถูกหลัก ตามหลัก
  1. เขียนให้ครอบคลุม 4 ประเด็น (ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง การสร้างและตรวจสอบคุณภาพ การเก็บรวบรวมข้อมูล การวิเคราะห์ข้อมูล)
  2. การสร้างเครื่องมือ (ควรเลือกเครื่องมือที่จะวัดค่าตัวแปรให้สอดคล้องกับสิ่งที่ทำวิจัย)
  3. การตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือ (ต้องหาค่า Validity กับ Reliability)
  4. เลือกสถิติให้เหมาะสมกับข้อมูล และสอดคล้องกับวัตถุประสงค์การวิจัย และเป็นไปตามข้อตกลงเบื้องต้นของสถิติแต่ละตัว
  5. เลือกใช้การดำเนินการวิจัยให้สอดคล้องกับงานวิจัย ถูกต้อง
  6. เลือกเครื่องมือ สร้างเครื่องมือให้ถูกต้อง

1.12 เป้าหมายของผลลัพธ์ (outcome) และตัวชี้วัด

       1) มีผลลัพธ์เป็นสิ่งที่จับต้องได้ชัดเจนและวัดระดับได้ เฉพาะเจาะจง

       2) outcome ที่ได้ มีการนำไปใช้ประโยชน์อย่างชัดเจน สอดคล้องกับยุทธศาสตร์วิจัยชาติ

       3) มีหน่วยงานรับรองการนำไปใช้ประโยชน์อย่างชัดเจน มีหนังสือการทำความตกลงเรียบร้อย

1.14 งบประมาณของโครงการวิจัย

  1. งบประมาณ ประมาณการให้ครอบคลุมกับวัตถุประสงค์ เป้าหมาย และกิจกรรมที่ทำ