กลุ่มความรู้นำความรู้และประสบการณ์ของตนเอง ผนวกกับวิธีการออกแบบการจัดการเรียนรู้แบบ Active Learning ที่ได้จากการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน ไปออกแบบการจัดการเรียนรู้ตามรูปแบบที่ใช้ในการจัดการเรียนการสอน และร่วมกันสกัดเป็นองค์ความรู้ของกลุ่ม ดังนี้
1) การประชุมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ครั้งที่ 3 เมื่อวันที่ 22 มิถุนายน พ.ศ. 2560 ประเด็นการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ คือ จัดกลุ่มสมาชิกที่ออกแบบการจัดการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนการสอนเหมือนกัน ได้แก่ 1) การจัดการเรียนรู้รูปแบบผสมผสาน Blended Learning 2) การจัดการเรียนรู้แบบสร้างสรรค์เป็นฐาน (Creative Based Learning CBL ) 3) การจัดการเรียนรู้แบบใช้วิจัยเป็นฐาน (Research Based Learning) 4) การจัดการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม (Participatory Learning) 5) การจัดการเรียนรู้แบบสอนงานระบบพี่เลี้ยง (Coaching and Mentoring) 6) การจัดการเรียนรู้แบบโครงงาน/โครงการ (Project Based Learning) 7) การจัดการเรียนรู้แบบใช้ปัญหาเป็นฐาน (Problem Based Learning) และสมาชิกกลุ่มร่วมกันแลกเปลี่ยนการจัดทำใบงานที่ 2 สกัดองค์ความรู้นำสู่การปฎิบัติ โดยมีประเด็นแลกเปลี่ยนดังนี้
1.1) การจัดทำใบงานที่ 2 สกัดองค์ความรู้นำสู่การปฎิบัติ ของแต่ละกลุ่มความรู้ จำเป็นไหมว่าจะต้องยกรายวิชาใดวิชาหนึ่งขึ้นมาเพื่อเป็น case study
สมาชิกกลุ่มร่วมกันแลกเปลี่ยนความคิดเห็น และเสนอว่า ควรเขียนในเชิงหลักการที่เป็นภาพรวมของวิธีการออกแบบการจัดการเรียนรู้ ทั้ง 7 ขั้นตอน เพื่อที่จะให้อาจารย์ท่านอื่นที่สนใจสามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้ ทั้งนี้ต้องสกัดองค์ความรู้จากใบงานที่ 1 วิธีการออกแบบการจัดการเรียนรู้ (รายบุคคล) ของสมาชิกกลุ่มทุกคน มาเป็นภาพรวมของกลุ่ม
ทั้งนี้ในวิธีการออกแบบการจัดการเรียนรู้ สมาชิกกลุ่มทุกคนได้ร่วมกันถอดวิธีปฏิบัติในข้อที่ 1) การวิเคราะห์ธรรมชาติรายวิชา 2) กำหนดเป้าหมายผลลัพธ์การเรียนรู้ 3) ออกแบบวิธีการจัดการเรียนรู้ 6) การวัดและประเมินผล และ 7) การให้ข้อมูลย้อนกลับ ในการประชุมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ วันที่ 16 พฤษภาคม 2560 และนัดประชุมแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับประธานกลุ่มอีกครั้งเพื่อตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูล ดังนั้นกลุ่มความรู้ร่วมกันสกัดองค์ความรู้เฉพาะขั้นตอนที่ 4) การพัฒนากิจกรรมการสอน และ 5) ดำเนินการสอน
1.2) การจัดทำเล่มสรุปองค์ความรู้เรื่องการจัดการเรียนรู้แบบ Active Learning กลุ่มละ 1 เล่ม หรือ นำข้อมูลจากทุกลุ่มมารวมกันเป็น 1 เล่ม
สมาชิกกลุ่มร่วมกันแลกเปลี่ยนความคิดเห็น และเสนอว่า ในแต่ละกลุ่มจะแบ่งตามรูปแบบที่ใช้จัดการเรียนการสอน เช่น Blended Learning Research Based Learning Coaching and Mentoring เป็นต้น ทุกรูปแบบคือการจัดการเรียนรู้แบบ Active Learning ดังนั้นควรรวมกันเป็น 1 เล่ม โดยแยกส่วนประกอบตามรูปแบบที่ใช้จัดการเรียนการสอน
2) การประชุมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ครั้งที่ 4 เมื่อวันที่ 3 กรกฏาคม พ.ศ. 2560 ประเด็นการแลกเปลี่ยน คือ แลกเปลี่ยนเรียนรู้ รูปแบบเล่มองค์ความรู้ การจัดการเรียนรู้แบบ Active Learning โดยประธานกลุ่มความรู้/ผู้แทนกลุ่มความรู้ ได้ร่วมกันแลกเปลี่ยนเรียนรู้และให้ข้อเสนอแนะว่าจากการประชุมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ครั้งที่ 3 ที่ประชุมได้ร่วมกันเสนอรูปแบบของเล่มองค์ความรู้ คือ ให้มี 1 เล่ม โดยมีวิธีการออกแบบการจัดการเรียนรู้แบบ Active Learning ใน 7 ขั้นตอน ดังนี้
1) การวิเคราะห์ธรรมชาติรายวิชา : อธิบายวิธีการที่เป็น Core ของการจัดการเรียนรู้แบบ Active Learning
2) กำหนดเป้าหมายผลลัพธ์การเรียนรู้ : อธิบายวิธีการที่เป็น Core ของการจัดการเรียนรู้แบบ Active Learning
3) ออกแบบวิธีการจัดการเรียนรู้ : อธิบายวิธีการที่เป็น Core ของการจัดการเรียนรู้แบบ Active Learning
4) การพัฒนากิจกรรมการสอน : อธิบายวิธีการตามรูปแบบที่ใช้จัดการเรียนการสอน เช่น การจัดการเรียนรู้รูปแบบผสมผสาน (Blended Learning) การจัดการเรียนรู้แบบสร้างสรรค์เป็นฐาน (Creative Based Learning)
5) ดำเนินการสอน : อธิบายวิธีการตามรูปแบบที่ใช้จัดการเรียนการสอน เช่น การจัดการเรียนรู้รูปแบบผสมผสาน (Blended Learning) การจัดการเรียนรู้แบบสร้างสรรค์เป็นฐาน (Creative Based Learning)
6) การวัดและประเมินผล : อธิบายวิธีการที่เป็น Core ของการจัดการเรียนรู้แบบ Active Learning
7) การให้ข้อมูลย้อนกลับ : อธิบายวิธีการที่เป็น Core ของการจัดการเรียนรู้แบบ Active Learning
ดังนั้นในแต่ละกลุ่มความรู้ที่แบ่งตามรูปแบบที่ใช้จัดการเรียนการสอน จะร่วมกันสกัดความรู้ในขั้นตอนที่ 1, 2, 3, 6, และ 7 ส่วนขั้นตอนที่ 4, 5 ภาคผนวก และบรรณานุกรม แต่ละกลุ่มดำเนินการแลกเปลี่ยนภายในกลุ่มย่อยตามรูปแบบที่ใช้จัดการเรียนการสอน
ที่ประชุมร่วมกันกำหนดหัวข้อในรูปแบบของเล่มองค์ความรู้ การจัดการเรียนรู้แบบ Active Learning เพื่อจะให้แต่ละกลุ่มความรู้นำไปแลกเปลี่ยนภายในกลุ่ม โดยที่ประชุมได้แลกเปลี่ยนความคิดเห็นและสรุป รูปแบบเล่มองค์ความรู้ การจัดการเรียนรู้แบบ Active Learning และมอบหมายให้แต่ละกลุ่มดำเนินการสกัดองค์ความรู้ในขั้นตอนที่ 4, 5 ภาคผนวก และบรรณานุกรม
3) การประชุมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ครั้งที่ 5 เมื่อวันที่ 31 กรกฏาคม พ.ศ. 2560 โดยสมาชิกกลุ่มได้นำการออกแบบการจัดการเรียนรู้มาแลกเปลี่ยนและรับฟังข้อเสนอแนะจากผู้ทรงคุณวุฒิ เพื่อนำไปปรับปรุงการดำเนินงาน โดยมีแต่ละกลุ่มพบผู้ทรงคุณวุฒิ ดังนี้
กลุ่มความรู้ |
ผู้ทรงคุณวุฒิ |
กลุ่ม 1 การจัดการเรียนรู้แบบผสมผสาน |
ผศ.ดร.พัลลภ พิริยะสุรวงศ์ อาจารย์ประจำสาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อการศึกษา คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ |
กลุ่ม 3 การจัดการเรียนรู้แบบใช้วิจัยเป็นฐาน (Research Based Learning) |
|
กลุ่ม 6 การจัดการเรียนรู้แบบโครงงาน/โครงการ (Project Based Learning) |
|
กลุ่ม 7 การจัดการเรียนรู้แบบใช้ปัญหาเป็นฐาน (Problem Based Learning)) |
|
กลุ่ม 2 การจัดการเรียนรู้แบบสร้างสรรค์เป็นฐาน (Creative Based Learning) |
อาจารย์ ดร.วรรณพร สุขอนันต์ ศึกษานิเทศก์ชำนาญการพิเศษ ช่วยราชการหน่วยศึกษานิเทศก์ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน |
กลุ่ม 4 การจัดการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม (Participatory Learning) |
|
กลุ่ม 5 การจัดการเรียนรู้แบบการสอนงานระบบพี่เลี้ยง (Coaching and Mentoring) |