การสร้างและแสวงหาความรู้

1) แสวงหาความรู้โดยพัฒนาความรู้ให้กลุ่มเป้าหมาย

บัณฑิตวิทยาลัยได้จัดโครงการอบรมบทบาทและหน้าที่อาจารย์ประจำ อาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์ และการค้นคว้าอิสระในระดับบัณฑิตศึกษา ขึ้น โดยกลุ่ม Grad Public KM ได้มีส่วนร่วมในการเข้ารับฟังวิทยากรที่มีความรู้และประสบการณ์ในการจัดทำงานวิจัยโดยมีการมาให้ความรู้ในเรื่องต่าง ๆ ได้แก่

- การเป็นอาจารย์ประจำอย่างมีคุณภาพ โดย รองศาสตราจารย์ ดร.สุดา สุวรรณาภิรมย์

- เทคนิคการเขียนบทความวิชาการ/บทความวิจัยอย่างมีคุณภาพ โดย รองศาสตราจารย์ ดร.องอาจ นัยพัฒน์ อาจารย์ประจำคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

- โปรแกรมการตรวจสอบการลักลอกผลงานทางวิชาการ (อักขราวิสุทธิ์) โดย ดร.วิชญ์ เนียรนาถตระกูล

ซึ่งโครงการดังกล่าวจัดขึ้นในวันที่ 1-2 ธันวาคม 2558 มีคณะกรรมการการจัดการความรู้ของกลุ่มเข้าร่วมอบรมและแลกเปลี่ยนเรียนรู้ จำนวน 20 ท่าน ซึ่งท่านวิทยากรมีประสบการณ์ในการทำงานวิจัยโดยตรง ซึ่งถือเป็น Tacit Knowledge ในตัวของวิทยากร กลุ่มการจัดการความรู้จึงได้มีการแสวงหาความรู้ในตัวของวิทยากร

โดยในกิจกรรมการแสวงหาความรู้ มีตัวชี้วัดคือ ร้อยละความรู้ความเข้าใจของทีม KM ร้อยละ 80 ผลปรากฏว่าในการประชุมคณะกรรมการดำเนินงานการจัดการความรู้บัณฑิตวิทยาลัย ครั้งที่ 1/2559 วันที่ 3 กุมภาพันธ์ 2559ระเบียบวาระที่ 5.1 รายงานผลการเข้าอบรมโครงการฯ มีผลการประเมินด้านความรู้ความเข้าใจ ร้อยละ 100