การเขียนข่าวอย่างง่าย

การเขียนข่าวอย่างง่าย

โดย ผศ. สุรสิทธิ์   วิทยารัฐ

กลุ่มงานประชาสัมพันธ์ได้รับเกียรติจาก ผศ. สุรสิทธิ์   วิทยารัฐ ในการเป็นวิทยากรหลัก แลกเปลี่ยนความรู้ในเรื่องของการเขียนข่าวอย่างง่ายๆ ที่ทุกคนสามารถเขียนข่าวได้เอง โดยสรุปเป็นบทความ เพื่อให้ผู้ที่สนใจในการเขียนข่าวได้ทราบถึงเทคนิคเหล่านี้ด้วย คือ

การเขียนข่าว ต้องมี "ประเด็น" !!!

  1. อะไร คือ ประเด็น (Issue)
  2. ข้อความสำคัญของเรื่อง ที่แยกหยิบยกขึ้นพิจารณา
  3. ความเคลื่อนไหวที่เกิดขึ้นใหม่ ผิดไปจากปกติ
  4. ตราบใดที่ยังเป็นประโยชน์ของประชาชน

กระบวนการ "หาข่าว ข่าวมาหา" เทคนิค 6 ส

  1. สังเกตุ สิ่งรอบๆตัว
  2. สนใจ ไม่เห็นแล้วเดินผ่านไปเฉยๆ
  3. สงสัย ช่างสงสัย ช่างคิด ช่างตั้งคำถาม
  4. สันนิฐาน ว่าเกิดขึ้นได้อย่างไร แล้วจะเกิดอะไรตามมา
  5. แสวงหาคำตอบ จากคนที่สามารถให้คำตอบ หรือข้อมูลได้
  6. นำเสนอข่าว ตามรูปแบบการเขียนข่าว

เทคนิคการเขียนข่าว

  1. สรุปสาระสำคัญ หรือ ธีม (Theme) ที่จะบอกแก่ผู้อ่าน คือ กำหนดประเด็นในใจเสียก่อน
  2. กำหนดเค้าโครงเนื้อข่าวที่จะอธิบายประเด็น
  3. กำหนดโปรยข่าวหรือ "หลีด" (Lead) ของข่าวไว้ในใจ
  4. เขียนโปรยข่าว
  5. เขียนพาดหัวข่าว
  6. ตรวจทานความถูกต้องของข้อมูล / ภาษา

วิธีเขียนพาดหัวข่าว

  1. จับประเด็น หา "คำสำคัญ"
  2. เขียนออกมาเป็นประโยค โดยให้มีคำสำคัญที่คิดไว้ด้วย อาจใช้คำย่อ คำร่วมสมัยได้ เพราะสามารถสื่อความหมายได้ง่าย รวดเร็ว
  3. จากนั้นให้แบ่งประโยคออกเป็นบรรทัดตามที่ต้องการว่าจะพาดหัวข่าวบรรทัดเดียวหรือ 2 บรรทัด
  4. ทำให้ประโยคสั้นลง กระชับ สื่อความหมายได้ ลองตัดคำที่ตัดออกแล้ว ประโยคยังสื่อความหมายได้ตามที่ต้องการ

พาดหัวข่าวที่ดี

  1. มีความหมายตรงกับเนื้อข่าว
  2. ไม่บิดเบือนจากข้อเท็จจริง
  3. ใช้ภาษาที่สื่อความหมาย เข้าใจง่าย
  4. เลือกใช้คำที่สรุปเนื้อหาได้ทั้งหมด

โปรยข่าว (Lead) - เป็นการสรุปสาระสำคัญทั้งหมดที่ปรากฏในข่าวด้วยภาษาที่กระชับ แต่ก็สามารถสื่อความหมายประเด็นข่าวได้ดี

วิธีเขียนโปรยข่าว

  1. เรียงลำดับสาระสำคัญเป็นลำดับก่อนหลังโดยนำสาระที่สำคัญที่สุดมากล่าวถึงก่อน
  2. ข่าวที่มีสาระสำคัญเพียงประเด็นเดียว ไม่ซับซ้อน อาจไม่มีส่วนโปรยข่าว มีแต่เพียงพาดหัวข่าว
  3. ความยาวของความนำของข่าว ขึ้นอยู่กับสาระสำคัญในข่าวนั้นๆ แต่โดยส่วนใหญ่ความยาวประมาณ 3 - 5 บรรทัด
  4. ขัดเกลาถ้อยคำภาษาให้กระชับ ไม่คลุมเครือ

ส่วนเชื่อม - ส่วนต่อระหว่างโปรยข่าว กับเนื้อข่าว มักให้รายละเอียดเกี่ยวกับที่มาที่ไปของข่าว เช่น สถานที่ บุคคล เวลา หรือเหตุการณ์ ยาวประมาณ 2-3 บรรทัด

การเขียนเนื้อข่าว

ภาษาในข่าว

เทคนิคการอ้างข้อมูลจากแหล่งข่าว

ประเภทของการอ้างคำพูดแหล่งข่าว

  1. อ้างคำพูดตรงๆทั้งหมด

      2.    อ้างคำพูดเพียงบางส่วน

       3.    อ้างคำพูดโดยอ้อม หรือเรียบเรียงจากคำพูดของแหล่งข่าว

ข้อพึงระวังในการเขียนอ้างคำพูดแหล่งข่าว

การกล่าวถึงชื่อแหล่งข่าว