สรุปองค์ความรู้ที่ได้จากการประชุมระดมความคิด
กลุ่มการจัดการความรู้แผนที่ 3
การพัฒนาการเรียนการสอนเพื่อรองรับประชาคมอาเซียน
จากการประชุมระดมความคิดของสมาชิกชุมชนนักปฏิบัติของกลุ่มการจัดการเรียนการสอนเพื่อเตรียมความพร้อมสู่ความเป็นประชาคมอาเซียน ได้องค์ความรู้ 2 องค์ดังนี้
1.ด้านการเพิ่มขีดความสามารถของบัณฑิต คือ การพัฒนากระบวนการที่ทำให้ นักศึกษา องค์กร สถาบัน และสังคมได้พัฒนาความสามารถ (ทั้งโดยบุคคลหรือร่วมกัน) ในการปฏิบัติหน้าที่ที่จะแก้ปัญหา รวมทั้งกำหนดและดำเนินการให้บรรลุวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้ได้แบ่งออกได้ดังนี้
1.1 การพัฒนาสมรรถนะด้านการใช้ภาษาอังกฤษของนักศึกษาในระดับที่ใช้ในการทำงานได้
1) ส่งเสริมการเรียนการสอนภาษาอังกฤษและระบบวัดผลการเรียนการสอนภาษาอังกฤษที่มีประสิทธิภาพ
2) ส่งเสริมการผลิตและพัฒนาอาจารย์ด้านการสอนภาษาอังกฤษรวมทั้งภาษาของประเทศสมาชิกอาเซียน
3) ส่งเสริมการเรียนการสอนภาษาของประเทศสมาชิกอาเซียนและความรู้เกี่ยวกับอาเซียนและการวิจัยด้านอาเซียนศึกษาในสถาบันอุดมศึกษา รวมทั้งการพัฒนาสื่อการเรียนการสอน
1.2 การวัดผลและประเมินผลที่เป็นมาตรฐานสากล
การวัดผลและประเมินผลที่เป็นมาตรฐานสากล โดยการพัฒนาการเรียนการสอนภาษาอังกฤษและการกำหนดมาตรฐานการวัดสมรรถนะด้านภาษาอังกฤษของบัณฑิต การวัดผลและประเมินผลการจัดการเรียนรู้เป็นการตรวจสอบว่าผู้เรียนมีความก้าวหน้าในการเรียน มีความรู้ มีทักษะ มีความสามารถ และเจตคติ และตัวชี้วัดที่กำหนดไว้มากน้อยเพียงใด โดยจัดให้การวัดผลและประเมินผลเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการจัดการเรียนการสอน เก็บรวบรวมข้อมูลอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้ได้ข้อมูลและนำไปพัฒนา ปรับปรุงแก้ไข โดยคำนึงถึงหลักการดังนี้
1) เน้นการนำผลการประเมินมาใช้เป็นข้อมูลในการวางแผนปรับปรุงกิจกรรมและกระบวนการเรียนรู้
2) เน้นการประเมินด้วยวิธีที่หลากลาย ประเมินตามสภาพจริง คุณภาพงาน
3) เน้นให้มีส่วนร่วมในการประเมิน
1.3 การพัฒนาการจัดการเรียนการสอนเพื่อรองรับการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน
ในการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาผู้เรียนให้สามารถดำเนินชีวิตอยู่ได้อย่างมีความสุขและพึ่งตนเองได้ในประชาคมอาเซียนนั้น ต้องดำเนินการทั้งระบบ ในคณะ และในทุกๆด้าน งานวิชาการ หรืองานจัดการเรียนรู้ถือเป็นงานหลัก เป็นงานที่จะส่งผลโดยตรงให้การจัดการศึกษาบรรลุเป้าหมายที่ตั้งไว้ ทั้งนี้ ควรจะต้องมีการวิเคราะห์ความสอดคล้องระหว่างหลักสูตรแกนกลางหรือแผนยุทธศาสตร์ของอาเซียน และเป้าหมายของประชาคมอาเซียน เพื่อกำหนดเป็นหลักสูตรสถานศึกษาที่บูรณาการกิจกรรมทุกกิจกรรมทั้งระบบ ได้แก่ การจัดการเรียนรู้ในชั้นเรียน การจัดกิจกรรมทั้งภายในและภายนอกสถานศึกษา นอกจากนี้จะต้องเป็นหลักสูตรที่ยึดผลการเรียนรู้ เน้นกระบวนการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง และเป็นกิจกรรมที่มีต่อประโยชน์ต่อประชาชนและชุมชนด้วย
การจัดการเรียนการสอนเพื่อเตรียมความพร้อมสู่ความเป็นประชาคมอาเซียน จึงควรเน้นให้อาจารย์ทำการวิเคราะห์หลักสูตรที่เปิดสอนในปัจจุบันและการจัดทำหน่วยการเรียนรู้และแผนการจัดการเรียนรู้ที่พัฒนาผู้เรียนให้มีความตระหนัก ความรู้ ความเข้าใจ และเจตคติที่ดี พร้อมที่ปรับเปลี่ยน และเตรียมตัวรับความเปลี่ยนแปลงเกี่ยวกับอาเซียนที่จะต้องเผชิญในอนาคต ดังนี้
1) การปรับรายละเอียดของวิชา (มคอ.3)
2) การเพิ่มรายวิชาศึกษาอาเซียนในโครงสร้างหลักสูตร
3) การจัดการการเรียนการสอนเป็นภาษาอังกฤษ
4) การเปิดโอกาสให้นักศึกษาในภูมิภาคอาเซียนได้เข้ามาศึกษา
5) การผลิตและพัฒนาอาจารย์ด้านการสอนภาษาอังกฤษ
6) การพัฒนาการเรียนการสอนภาษาของประเทศสมาชิกอาเซียน
7) การจัดสรรทุนเพื่อการแลกเปลี่ยนนักศึกษาในอาเซียนและการพัฒนาระบบการถ่ายโอนหน่วยกิต ในอาเซียน การจัดกิจกรรมเพื่อเปิดโลกทัศน์นักศึกษาไทยสู่นักศึกษาอาเซียน
8) การจัดการเรียนการสอนโดยการส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม และการเรียนรู้การอยู่ร่วมกันในสังคมเพื่อเตรียมความพร้อมสู่ประชาคมอาเซียน
9) พัฒนาหลักสูตรและการเรียนการสอนอย่างต่อเนื่องให้มีคุณภาพระดับสากล
10) การพัฒนาหลักสูตรการเรียนการสอนเป็น 2 ภาษา เช่นภาษาไทยและภาษาอังกฤษ
11) ส่งเสริมการพัฒนาหลักสูตรนานาชาติในสาขาที่ประเทศไทยมีความเชี่ยวชาญและเป็นไปตามความต้องการของอาเซียน
1.4 บทบาทของอาจารย์และบุคลากรทางการศึกษาต่อการจัดการศึกษาเพื่อรองรับการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน
อาจารย์และบุคลากรทางการศึกษาเป็นผู้ที่มีบทบาทสำคัญต่อการจัดการศึกษา ในการขับเคลื่อนเยาวชนไทยสู่ประชาคมอาเซียนให้ปรากฏเป็นรูปธรรมชัดเจน บทบาทของอาจารย์และบุคลากรทางการศึกษา ต่อการจัดการศึกษาสู่ประชาคมอาเซียน มีดังนี้
การจัดการเรียนการสอนของคณะเพื่อรองรับการจัดการเรียนการสอนเพื่อเตรียมความพร้อมสู่ความเป็นประชาคมอาเซียน ผู้เรียนควรได้รับทราบเกี่ยวกับการจัดทำข้อตกลงความร่วมมือด้านการศึกษา ความสามารถ ประสบการณ์ในสาขาวิชาชีพที่สำคัญต่างๆ ควบคู่กับความรู้เกี่ยวกับการเปิดเสรีด้านการเคลื่อนย้ายแรงงานที่กำหนดให้มีการยกเว้นข้อกำหนดเกี่ยวกับการขอวีซ่า Short term visits สำหรับคนอาเซียน รวมถึงการอำนวยความสะดวกในการออกวีซ่า และใบอนุญาตทำงานสำหรับแรงงานฝีมือ และผู้เชี่ยวชาญสัญชาติอาเซียน ที่จะช่วยลดสิ่งกีดกั้นอุปสรรคการเชื่อมโยงระหว่างประชาชนกับประชน และการส่งเสริมอุตสาหกรรมต่างๆ เพื่อรองรับการเติบโตทางเศรษฐกิจ รวมทั้งอุตสาหกรรมท่องเที่ยว ซึ่งสิ่งเหล่านี้ผู้เรียนทุกคนจะต้องเข้าไปแข่งขันกับคนต่างชาติต่างๆในกลุ่มอาเซียนอย่างแน่นอน
ดังนั้นคณะจึงควรเตรียมความพร้อมผู้เรียนให้สอดคล้องกับคุณลักษณะของประชาคมอาเซียนตามที่ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องได้ร่วมกันกำหนดไว้ คณะในฐานะเป็นหน่วยงานที่ผลิตกําลังคนเข้าสู่ตลาดแรงงาน จําเป็นยิ่งที่จะต้องผลิตบัณฑิตที่มีคุณภาพมาตรฐานเพื่อรองรับตลาดแรงงานในประชาคมอาเซียนสามารถดำรงตนอยู่ในสังคมอาเซียนได้อย่างมีความสุขและสามารถพึ่งพาตนเองได้ โดยคณะต้องผลิตบัณฑิตที่พึงประสงค์และมีคุณภาพดังนี้
1.6 คุณลักษณะของบัณฑิตและบัณฑิตที่พึงประสงค์
บัณฑิตต้องมีคุณลักษณะดังต่อไปนี้
นอกจากนั้น มหาวิทยาลัยต้องสร้างบัณฑิตที่พึงประสงค์ดังนี้
2.การพัฒนาทักษะนักศึกษาเพื่อรองรับการเคลื่อนย้ายตลาดแรงงานในประเทศอาเซียน การให้ข้อมูลเกี่ยวกับมาตรฐานวิชาชีพร่วมของอาเซียน ซึ่งเป็นวิชาชีพที่จะสามารถเดินทางไปประกอบอาชีพในประเทศสมาชิกอาเซียนได้อย่างเสรี ในปี พ.ศ. 2558 ซึ่งมี 8 สาขาอาชีพ ได้แก่ วิศวกรรม การสำรวจ สถาปัตยกรรม แพทย์ ทันตแพทย์ พยาบาล บัญชี และการบริการท่องเที่ยว โดยอาชีพที่ได้มาตรฐาน และได้รับการรับรองให้สามารถเคลื่อนย้ายไปทำงานต่างประเทศสมาชิอาเซียนได้ตามกฎกติกาและเงื่อนไขที่ตกลงกันไว้
2.1 การพัฒนาสมรรถนะด้านการประกอบวิชาชีพและการทำงานข้ามวัฒนธรรมของบัณฑิต
1) ส่งเสริมการแลกเปลี่ยนนักศึกษาโดยสนับสนุนการถ่ายโอนหน่วยกิตระหว่างสถาบันอุดมศึกษาของไทยกับประเทศสมาชิกอาเซียนอย่างต่อเนื่องและเป็นระบบ
2) ส่งเสริมการจัดกิจกรรมเพื่อเปิดโลกทัศน์และเปิดโอกาสให้นักศึกษาไทยได้แสดงความสามารถในเวทีระดับนานาชาติโดยเฉพาะอย่างยิ่งระดับอาเซียนรวมถึงกิจกรรมเพื่อสร้างความตระหนักในการเป็นพลเมืองอาเซียน
บทสรุป
การจัดการศึกษาเพื่อเตรียมนักศึกษาให้พร้อมต่อการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน ตั้งอยู่บนบริบทแห่งความท้าทาย ที่ทั้งผู้บริหาร อาจารย์ นักศึกษา และบุคลากรฝ่ายต่างๆ ที่เกี่ยวข้องจําเป็นจะต้องพิจารณาและให้ความสําคัญ ทั้งในเรื่องของการสร้างความสมดุลของเป้าหมาย และหลักการของการศึกษา ที่ควรกําหนดให้มีความชัดเจน คือ มุ่งเน้นไปที่การเสริมสร้างความเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ อันจะนําไปสู่การสร้างระบบเศรษฐกิจและการพัฒนาที่เป็นธรรมและยั่งยืน ด้านการพัฒนาความสามารถด้านการใช้ภาษาต่างประเทศ ควรดําเนินการพัฒนาอาจารย์ผู้สอน ควบคู่ไปกับสร้างสิ่งแวดล้อมหรือบรรยากาศการใช้ภาษาอังกฤษเพื่อสื่อสารทั้งในและนอกชั้นเรียน ด้านการพัฒนาความสามารถด้านภาษาและเทคโนโลยี ควรให้ความสําคัญกับการปฏิรูปกระบวนการพัฒนาอย่างต่อเนื่องเพื่อให้ได้บัณฑิตที่พึงประสงค์และเพื่อรองรับการเข้าสู่ประชาคมอาเซียนอย่างแท้จริง
การจัดการเรียนรู้ของผู้เรียน ต้องมุ่งเน้นการเรียนการสอนเพื่อสร้างประสบการณ์การในการแก้ปัญหาและการสร้างความหมาย ผ่านกระบวนการทดสอบและประเมินผลที่เป็นสากล ด้านการพัฒนาหลักสูตรอาเซียนศึกษา ควรพัฒนาหลักสูตรรูปแบบใหม่ ที่จัดการเรียนรู้ด้วยการใช้ ยุทธศาสตร์การสอนในศตวรรษที่ 21 โดยมีโครงสร้างประกอบด้วยรายวิชาพื้นฐานและรายวิชาเพิ่มเติมที่พัฒนาขึ้นบนฐานแนวคิดของการเสริมสร้างประสบการณ์ ผ่านการบูรณาการในลักษณะ การจัดกิจกรรม การจัดการเรียนการสอน และการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในสาขาวิชา และด้านการพัฒนาคุณลักษณะ สมรรถนะ และค่านิยมสําหรับพลเมืองไทยสู่การเป็นพลเมืองอาเซียน ควรกําหนดสมรรถนะหรือค่านิยมใหม่ที่สําคัญและจําเป็นในการอยู่ร่วมกัน เช่น การเป็นผู้มีการเรียนรู้ตลอดชีวิต รู้จักตั้งปัญหา เข้าใจปัญหา ต้องการที่จะเข้าไปมีส่วนร่วมในการแก้ปัญหา และการใช้ชีวิตอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข