รายงานการอบรมจัดการความรู้ (KM) Art Team
ครั้งที่ 7 /2558
วันจันทร์ที่ 15 มิถุนายน 2558 เวลา 13.00 16.00 น.
ณ ห้องประชุมคณาจารย์ คณะศิลปกรรมศาสตร์ อาคาร 60 พรรษา มหาวชิราลงกรณ
............................................................................................................................................
ผู้เข้าประชุม
เริ่มอบรมเวลา 13.00 น.
นางรวินันท์ พระยาน้อย หัวหน้าสำนักงาน กล่าวเปิดการประชุมการจัดการความรู้(KM) ดำเนินการประชุมดังนี้
ระเบียบวาระที่ 1 เรื่องประธานแจ้งที่ประชุมทราบ
การประชุม การจัดการความรู้ (KM) ART TEAM ครั้งนี้เป็นครั้งที่ 7 ของสมาชิกกลุ่มการจัดการความรู้ ART TEAM ในองค์ความรู้ที่ 1 การพัฒนาคุณภาพการให้บริการ เพื่อพัฒนาด้านการให้บริการแก่นักศึกษา , คณาจารย์และบุคคลทั่วไปนั้น และในตอนนี้กลุ่มของเราได้ดำเนินการมาถึงในส่วนหัวข้อที่ 6 การแบ่งปันแลกเปลี่ยนความรู้ โดยให้สมาชิกทุกคนแลกเปลี่ยนความคิดเห็น หลังจากการเข้าถึงความรู้ในการจัดทำคู่มือการพัฒนาคุณภาพการให้บริการ Service Mind
ระเบียบวาระที่ 2 เรื่องรับรองรายงานการประชุม
ไม่มี
ระเบียบวาระที่ 3 เรื่องสืบเนื่อง
3.1 ตามแผนการจัดการความรู้ ของกลุ่ม ARTS TEAM ในหัวข้อหัวข้อที่ 6 การแบ่งปันแลกเปลี่ยนความรู้ โดยให้สมาชิกทุกคนแลกเปลี่ยนความคิดเห็น หลังจากการเข้าถึงความรู้ในการจัดทำคู่มือการพัฒนาคุณภาพการให้บริการ Service Mind ดังนี้
การนำไปใช้ประโยชน์
โดยที่สำนักงานคณบดีคณะศิลปกรรมศาสตร์มีความต้องการที่จะพัฒนาคุณภาพกรให้บริการแก่คณาจารย์ นักศึกษา และบุคคลทั่วไปที่ขอรรับบริการ จึงได้คิดจัดตั้งกลุ่ม KM ขึ้นเพื่อที่ได้ปรับปรุง และพัฒนาการให้บริการของสำนักงานคณบดีคณะศิลปกรรมศาสตร์ให้เป็นที่พึงพอใจ แก่ผู้รับบริการมากยิ่งขึ้น จึงได้จัดให้มีการประชุมการจัดการความรู้ (KM) ART TEAM ซึ่งได้หัวข้อในองค์ความรู้ที่ 1 การพัฒนาคุณภาพการให้บริการ ซึ่งมีขั้นตอนสำหรับการนำไปใช้ประโยชน์ดังนี้
1. มีคู่มือการพัฒนาคุณภาพการให้บริการและรายละเอยีด สามารถนำมาใช้เป็นแนวทางและเทคนิคการให้บริการเป็นที่พึงพอใจแก่ผู้รับบริการ
2. บุคลากรภายในหน่วยงานสามารถสร้างความพึงพอใจให้แก่ผู้รับบริการมากยิ่งขึ้น พร้อมทั้งสร้างภาพลักษณ์ที่ดีให้กับองค์กร
3. มีการประเมินความพึงพอใจของผ็รับบริการ ทำให้มีการปรับปรุงการบริการให้ดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง
ปัญหาและอุปสรรค
1. บุคลากรของหน่วยงานเป็นผู้มีความรู้ความสามารถ มีประสบการณ์ด้านการปฏิบัติงานในหน้าที่เป็นอย่างดี แต่ยังไม่สามารถนำมาปรับใช้ในการให้บริการแก่ผู้รับมาบริการ
2. บุคลากรไม่สามารถถ่ายทอดความรู้ประสบการณ์ที่มีอยู่แก่บุคคลอื่นได้เต็มตามศักยภาพของบุคลากรแต่ละคน ซึ่งจะสามารถกระทำได้ หากได้รับการส่งเสริมหรือพัฒนาที่ดีและอย่างต่อเนื่อง
3. การให้บริการที่กำหนดช่วงเวลา เช่น เรื่องการเพิ่มถอนรายวิชา ซึ่งมหาวิทยาลัยกำหนดให้นักศึกษาดำเนินการได้เฉพาะช่วงเวลา นั้น นักศึกษาจำนวนมากมักจะมาดำเนินการภายในช่วงเวลาที่ใกล้พ้นระยะเวลา ซึ่งเจ้าหน้าที่ดำเนินการเรื่องการเพิ่มถอนรายวิชามีเพียงคนเดียว ทำให้การบริการในเรื่องดังกล่าวล่าช้า และอาจเกิดความบกพร่องในการให้บริการที่ดี
แนวทางการแก้ไข
1. สำรวจและรวบรวมความรู้ที่มีส่วนสัมพันธ์กับผู้รับบริการ ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ด้วยการค้นองค์ความรู้ทั้งที่เป็น Explicit Knowledge และ Tacit Knowledge และนำข้อมูลองค์ความรู้ต่างๆ มาถ่ายทอดแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกันอย่างต่อเนื่อง
2. ใช้ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศมาสนับสนุนการดำเนินการช่วยในการอำนวยความสะดวกแก่ผู้รับบริการ การสื่อสารและประชาสัมพันธ์ทางระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ต การจัดทำคู่มือผู้รับบริการและคู่มือการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ในรูปเล่มและสื่ออิเล็กทรอนิกส์ให้อยู่ในรูปแบบที่เข้าใจง่าย และพัฒนาบุคลากรโดยใช้ Web technology ในการสื่อสารและแลกเปลี่ยนเรียนรู้
3. สำรวจความต้องการของผู้รับบริการอย่างต่อเนื่อง หลายช่องทาง เช่น มีกล่องวัดระดับความพึงพอใจ และมุมสะท้อนความคิดเห็น ณ จุดให้บริการ รวมทั้งจัดทำแบบสำรวจความคิดเห็นของผู้รับบริการตามช่วงเวลาที่กำหนด
4. ตรวจสอบคุณภาพการให้บริการ โดยติดตามผลสำรวจความพึงพอใจของผ็รับบริการ เพื่อใช้เป็นข้อมูลกำหนดวิธีดำเนินการรักษามาตรฐานการให้บริการ และปรับปรุงการบริการอย่างต่อเนื่อง
5. บุคลากรต้องประเมินตนเองอย่างสม่ำเสมอ เพื่อหาจุดอ่อนของตนเอง
6. บุคลากรต้องศึกษาเรียนรู้ เพื่อปรับปรุง และเพิ่มทักษะด้านการให้บริการที่ดี
ระเบียบวาระที่ 4 เรื่องแจ้งเพื่อทราบ
ไม่มี
ระเบียบวาระที่ 5 เรื่องเสนอเพื่อพิจารณา
ไม่มี
ระเบียบวาระที่ 6 เรื่องอื่นๆ
ไม่มี
ปิดประชุมเวลา 16.00 น.
(นางสาวณิชาภัทร เป้าคำศรี)
ผู้บันทึกการประชุม