~~การแลกเปลี่ยนเรียนรู้สู่การปฏิรูปวิธีการจัดการเรียนการสอนสาขาพยาบาลศาสตร์สู่สังคมในศตวรรษที่ 21
วันที่ 13 15 กรกฎาคม 2558
ณ โรงแรมไมด้า ซิตี้ รีสอร์ท ถนนแจ้งวัฒนะ กรุงเทพมหานคร
วันพุธที่ 15 กรกฎาคม 2558 ห้องที่ 2 10.30 11.15 น.
จิตอาสาในวิชาการรักษาโรคเบื้องต้นและวิชาปฏิบัติการพยาบาลสุขภาพจิตและจิตเวช
โดย อาจารย์ ดร.ฐิตวันต์ หงษ์กิตติยานนท์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
1. ที่มา
ประเด็นยุทธศาสตร์ : ยุทธศาสตร์ที่ 3 ยกระดับมาตรฐานการจัดการเรียนการสอนและคุณภาพบัณฑิตตามอัตลักษณ์ของสวนสุนันทา
องค์ความรู้ที่จำเป็น (K) : การบูรณาการการเรียนการสอน การบริการวิชาการและการทนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม เพื่อพัฒนาสมรรถนะของนักศึกษาหลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิตให้มีความรู้วิชาการรักษาโรคเบื้องต้นและปฎิบัติสุขภาพจิตและจิตเวชและอัตลักษณ์ของสวนสุนันทาด้านจิตอาสา จิตสาธารณะ
ตัวชี้วัดตามแผนปฏิบัติราชการ (KPI) : ร้อยละของอาจารย์กลุ่มจิตอาสาที่สามารถการบูรณาการรูปแบบการจัดเรียนการสอนการวิจัยการบริการวิชาการและการทนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมได้ในระดับดี
: ร้อยละของนักศึกษามีจิตอาสา จิตสาธารณะและสามารถเป็นแกนนำจิตอาสา ถ่ายทอดความรู้เรื่อง การปฐมพยาบาลเบื้องต้นและการช่วยฟื้นคืนชีพ ขั้นพื้นฐาน และการจัดการความเครียดได้ในระดับดี
จิตอาสาการบูรณาการการเรียนการสอน การบริการวิชาการในวิชาการรักษาโรคเบื้องต้นและวิชาปฏิบัติการพยาบาลสุขภาพจิตและจิตเวชเป็นส่วนหนึ่งของการบุรณาการรายวิชาวิชาการรักษาโรคเบื้องต้น ในหัวข้อวิชา การปฐมพยาบาลเบื้องต้นและการช่วยฟื้นคืนชีพ การช่วยคนที่มีอาการหายใจถี่ กระดูกหัก และการเตรียมความพร้อมรับมือกับอุทกภัยและวิชาปฏิบัติการพยาบาลสุขภาพจิตและจิตเวช ในส่วนของจิตเวชชุมชน การประเมินความเครียด ความจัดการความเครียด การประเมินและการช่วยเหลือผู้ที่มีภาวะ PTSD
รายชื่อและหน้าที่ความรับผิดชอบ KM กลุ่มจิตอาสา 2557
รายชื่อ หน้าที่ คณะ
อาจารย์ ดร.ฐิตวันต์ หงษ์กิตติยานนท์ คุณอำนวย วิทยาลัยพยาบาลและสุขภาพ
พ.ต.หญิงธนพร วรรณกูล คุณเอื้อ วิทยาลัยพยาบาลและสุขภาพ
อาจารย์ณัฐกฤตา วงษ์ตระกูล คุณกิจ วิทยาลัยพยาบาลและสุขภาพ
ผศ.ลักขณา ยอดกลกิจ คุณลิขิต วิทยาลัยพยาบาลและสุขภาพ
อาจารย์จันทนา แจ้งเจนเวทย์ คุณกิจ วิทยาลัยพยาบาลและสุขภาพ
อาจารย์บวรลักษณ์ เอื้อสุวรรณ คุณลิขิต วิทยาลัยนานาชาติ
อาจารย์จันทรัตน์ มั่นวิเชียร คุณกิจและคุณวิศาส วิทยาลัยนานาชาติ
คุณธัญลดา เลี้ยงอยู่ คุณวิศาสและคุณกิจ วิทยาลัยพยาบาลและสุขภาพ
คุณสุธามาศ นุ่มพญา คุณลิขิตและคุณกิจ วิทยาลัยพยาบาลและสุขภาพ
นายทินกร ไชยสุข คุณลิขิต วิทยาลัยพยาบาลและสุขภาพ
นางสาวฉัตรสุดา เขาทอง คุณกิจ วิทยาลัยพยาบาลและสุขภาพ
นางสาวจิริญา ใบยา คุณลิขิต วิทยาลัยพยาบาลและสุขภาพ
นางสาวทิพย์วรรณ สมหวัง คุณกิจและคุณวิศาส วิทยาลัยพยาบาลและสุขภาพ
นางสาวปิยะรัตน์ โสมประโคน คุณวิศาสและคุณกิจ วิทยาลัยพยาบาลและสุขภาพ
นางสาวศศิวิมล อินถา คุณลิขิตและคุณกิจ วิทยาลัยพยาบาลและสุขภาพ
นางสาวเจนจิรา โหน่งสุรินทร์ คุณวิศาสและคุณกิจ วิทยาลัยพยาบาลและสุขภาพ
นางสาวรพีพรรณ ประจำเมือง คุณลิขิตและคุณกิจ วิทยาลัยพยาบาลและสุขภาพ
2. เหตุใดจึงทำเรื่องนี้ (ที่มา คิดมาได้อย่างไร/เรียนรู้มาจากที่ใด)
เนื่องจาก จิตอาสาซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของ อัตลักษณ์ของวิทยาลัยพยาบาลและสุขภาพ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา ที่จะเป็น"เป็นนักปฎิบัติ ถนัดวิชาการ เชี่ยวชาญการสื่อสาร ชำนาญการคิด มีจิตสาธารณะ"คือ จิตอาสาโดยให้ อาจารย์และนักศึกษาสามารถบูรณาการเรียนการสอนความรู้ในวิชาทฤษฎี มาสู่การปฏิบัติจริ และเชื่อมโยงกับการปฏิรูปการเรียนรู้ การพัฒนาทักษะในศตวรรษที่ 21 หรือ Transformative learning 7 Cs skill of 21st Century Learning เน้นเรื่อง Critical thinking and problem solving-เรียนรู้แนวคิดและลักษณะสังคมไทยอย่างวิเคราะห์วิจารณ์ นำมาปฎิบัติการจริง และ Collaboration, Teamwork and Leader-รู้จักตนเองพร้อมมองเห็นคุณค่าที่แท้ของสิ่งของและนวัตกรรม สอนให้น้อยลง แต่ให้เรียนรู้ให้มากขึ้น (Teach less, Learn more) โดยรูปแบบการเรียนรู้จากสถานการณ์จริง (Authentic learning) ใช้แนวคิด การใช้ห้องเรียนกลับทาง (Flipped classroom) (ดรุณี รุจกรกานต์, 2557)และ Learning by doing การเรียนรู้โดยการปฏิบัติ ในสถานการณ์จำลองและลงพื้นที่จริงที่ชุมชน โดยการสร้าง จิตอาสา กระตุ้นแรงบันดาลใจ (inspire) ให้กำลังใจ รับฟัง และช่วยส่งเสริมนักศึกษาพยาบาลให้นำความรู้มาใช้จริงเมื่อมีภัยพิบัติ เช่น อุทกภัย ดังนั้นคณะแกนนำจิตอาสาเตรียมพร้อมรับอุทกภัย วิทยาลัยพยาบาลและสุขภาพ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทาตระหนักถึงความสำคัญของการเตรียมความพร้อมในการรับมืออุทกภัยที่เกิดขึ้น จึงจัด โครงการแกนนำจิตอาสา สวนสุนันทาร่วมใจพร้อมรับอุทกภัย เพื่อให้ผู้เข้าร่วมโครงการมีความรู้ ทักษะในการปฐมพยาบาลเบื้องต้น การช่วยฟื้นคืนชีพพื้นฐาน และการเตรียมความพร้อมรับมือกับอุทกภัย เพื่อให้เกิดความตระหนักและกระตุ้นให้เกิดการเตรียมพร้อมของตนเอง ชุมชนและสังคม รวมถึงมีจิตอาสาในการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยอันจะส่งผลให้สามารถป้องกันและลดผลกระทบที่เกิดจากอุทกภัยได้ มี วัตถุประสงค์โครงการแกนนำจิตอาสา ผู้เข้าร่วมโครงการมีความรู้ในเรื่องการปฐมพยาบาลเบื้องต้น การช่วยฟื้นคืนชีพพื้นฐาน และการเตรียมความพร้อมรับมือกับอุทกภัย ผู้เข้าร่วมโครงการสามารถให้การปฐมพยาบาลเบื้องต้น การช่วยฟื้นคืนชีพพื้นฐาน และการเตรียมความพร้อมรับมือกับอุทกภัยได้ มีแกนนำจิตอาสาในระดับวิทยาลัยและระดับมหาวิทยาลัยราชภัฎสวนสุนันทา มีความพึงพอใจในการเข้าร่วมโครงการแกนนำจิตอาสา ฯ
3.ได้ทำอะไร อย่างไรบ้าง (รายละเอียดวิธีการ/กิจกรรม คน เครื่องมือ/อุปกรณ์ที่ใช้ ฯลฯ รูปภาพ)
กระบวนการดำเนินงานและระยะเวลาในการดำเนินโครงการ/โครงงาน
ใช้ แผนการจัดการความรู้ จิตอาสา สวนสุนันทาร่วมใจ ฯ
ลำดับ กิจกรรม ตัวชี้วัด เป้าหมาย
1 การบ่งชี้ความรู้ (ขั้นเตรียม)
-ประชุมอาจารย์กลุ่มจิตอาสาวิชาการรักษาโรคเบื้องต้นและวิชาปฎิบัติสุขภาพจิตและจิตเวชวางแผนและเพื่อการบูรณาการการเรียนการสอน การบริการวิชาการ - ร้อยละของจำนวน KM team
- ร้อยละของแกนนำอาจารย์จิตอาสาที่เข้าร่วมประชุม - ร้อยละ 90 อาจารย์จิตอาสาที่สอนวิชาการรักษาโรคเบื้องต้นและปฎิบัติสุขภาพจิตและจิตเวช
- นักศึกษาแกนนำจิตอาสาชั้นปีที่ 4,3,2
2 การสร้างและแสวงหาความรู้ (ขั้นดำเนินการ)
2.1 จัดประชุมแลกเปลี่ยนเรียนรู้
2.2 ลงพื้นที่เป้าหมายเพื่อศึกษาปัญหาและแนวทางแก้ปัญหา
2.3 จัดประชุมอาจารย์ จิตอาสาที่สอนวิชาวิชาการรักษาโรคเบื้องต้นและปฎิบัติสุขภาพจิตและจิตเวชและเพื่อวางแผนบูรณาการการเรียนการสอนและบริการวิชาการ เขียนโครงการ - จำนวนผู้เข้าร่วมประชุม
- จำนวนครั้งการจัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้
- 50 คน
- 15 คน
3 การจัดการความรู้ให้เป็นระบบ
3.1 นำความรู้ที่รวบรวมได้จากอาจารย์ในกลุ่ม กลุ่มจิตอาสา
3.2 เป็นพี่เลี้ยง - จำนวนครั้งการจัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้
-ไม่น้อยกว่า 3 ครั้ง - การประชุมระดมสมองและ สุนทรียสนทนา
4 การประมวลผลและกลั่นกรองความรู้
4.1 จัดทำร่างคู่มือ ความรู้เรื่อง การปฐมพยาบาลเบื้องต้นและการช่วยฟื้นคืนชีพ ขั้นพื้นฐาน และการจัดการความเครียด
-ทำหนังสือติดต่อหน่วย งานต่างๆ เพื่อขอความอนุเคราะห์ในการดำเนินโครงการและจัดทำนวัตกรรมหุ่น BLS และ ผ้าสามเหลี่ยมเพื่อใช้ในการปฐมพยาบาล
4.2 เชิญอาจารย์พยาบาลจากวิทยาลัยสภากาชาดไทยมาประเมินความรู้เรื่อง การปฐมพยาบาลเบื้องต้นและการช่วยฟื้นคืนชีพ ขั้นพื้นฐาน และการจัดการความเครียด
- จำนวนผู้เชี่ยวชาญ
- มีร่างคู่มือการปฐมพยาบาล
- 5 คน
-นวัตกรรมหุ่น BLS และ -ผ้าสามเหลี่ยมเพื่อใช้ในการปฐมพยาบาล
-150 เล่ม -คณะกรรมการจัดการความรู้กลุ่มจิตอาสา
-16 มค 58
-CoP
-31 ม.ค. 58
-อาจารย์
วิทยาลัยสภากาชาดไทยคณะกรรมการจัดการความรู้
5 การเข้าถึงความรู้
- จัดทำเอกสารการปฐมพยาบาลเบื้องต้นและการช่วยฟื้นคืนชีพ ขั้นพื้นฐาน และการจัดการความเครียดและเผยแพร่ทาง website KM ของวิทยาลัยพยาบาลและสุขภาพ จำนวนคู่มือการปฐมพยาบาลเบื้องต้นและการช่วยฟื้นคืนชีพ ขั้นพื้นฐาน และการจัดการความเครียดที่มีการประชาสัมพันธ์
- 200 ชุด - นักศึกษาพยาบาลจิตอาสา
- นักศึกษาจิตอาสา
- คณะกรรมการจัดการความรู้กลุ่มจิตอาสา
6 การแบ่งปันแลกเปลี่ยนความรู้
6.1 อบรมแกนนำนักศึกษาพยาบาล จำนวน 120 คน จัดอบรมนักศึกษาแกนนำจิตอาสาวิทยาลัยพยาบาลและสุขภาพ มหาวิทยาลัยราชภัฎสวนสุนันทา เรื่อง การปฐมพยาบาลเบื้องต้น การช่วยฟื้นคืนชีพขั้นพื้นฐานและการเตรียมมือรับอุทกภัย ณ ห้องเรียนชั้นปี 3 และ ปี 4และ ห้องปฏิบัติการพยาบาล 1
และขยายผลแกนนำจิตอาสา คณะอื่นๆในมหาวิทยาลัยและในชุมชนสวนอ้อยและชุมชนเกาะเกร็ด
6.2 จัดเวทีแลกเปลี่ยนความรู้ให้กับสภาการชาดไทยและสถาบันอุดมศึกษา รวม 6 แห่ง
6.3 เผยแพร่แลกเปลี่ยนความรู้
ประกวดและรับรางวัล ชนะเลิศ อันดับที่ 1
จาก วพบ สภากาชาดไทย
6.4. เผยแพร่แลกเปลี่ยนความรู้รับรางวัล
จากนายกสภามหาวิทยาลัย -ร้อยละของผู้เข้าอบรม
- จัดอบรมนักศึกษาแกนนำจิตอาสา จำนวน 4 ครั้ง
- จำนวนครั้งแลกเปลี่ยนเรียนรู้สภากาชาดไทยและสถาบันอุดมศึกษารวม 6 แห่ง
-ร้อยละ 90
-ไม่น้อยกว่าร้อยละ 80
-4 ครั้ง
นักศึกษาพยาบาลจำนวน 30 คน
-นักศึกษาของสถาบันอื่น
คณะกรรมการจัดการความรู้จิตอาสา นักศึกษาพยาบาลชั้นปีที่ 3
มกราคม- เมษายน
7 การเรียนรู้ (ขั้นสรุปผล)
1. ประเมินผลโครงการ ประกอบด้วย
- ประเมินตนเองของจิตอาสา
- ประเมินความรู้ผู้เข้าร่วมโครงการเกี่ยวกับเรื่อง การปฐมพยาบาลเบื้องต้น การช่วยฟื้นคืนชีพพื้นฐาน
- ประเมินการปฏิบัติของผู้เข้าร่วมโครงการในการปฐมพยาบาลเบื้องต้น การช่วยฟื้นคืนชีพพื้นฐานและการเตรียมความพร้อมรับมือกับอุทกภัย
- ประเมินความพึงพอใจ
KM ถอดบทเรียน
VCD เผยแพร่
4. ผลที่เกิดขึ้นเป็นอย่างไร เพราะเหตุใด มีปัญหา/อุปสรรคอะไรบ้างหรือไม่ ผ่านปัญหานั้นๆ มาได้อย่างไร
นักศึกษาสะท้อนว่า นักศึกษามีจิตอาสา มีใจต้องการช่วยเหลือ และมีความรู้จ เข้าใจ ปฎิบัติการทำโครงการ การปฐมพยาบาล ได้มากกว่าการเรียนแบบบรรยาย ทักษะคิดวิเคราะห์ บริหารเวลาตนเอง
การบริหารงบประมาณเวลา
ปัญหา/อุปสรรค การเรียนพยาบาลมีเวรขึ้น และต้องการติดต่อประสานงานนัดจองห้องlab สำคัญเรื่องการบริหารเวลา การทำงานเป็นทีม การช่วยเหลือ กันการให้กำลังใจ ในทีมและ อาจารย์ที่ดูแล
5 .ได้เรียนรู้อะไรบ้างจากการทำ นักศึกษา เรียนรู้การทำงานเป็นทีมและภาคภูมิใจเมื่อได้ทดลอง ใหม่ๆจะตื่นเต้น ขณะสอนเพื่อนรุ่นเดียวกันและรุ่นน้อง แต่มีความมั่นใจมากขึ้น เมื่อจัดการประชุมครั้งต่อๆๆ ไป
ได้เรียนรู้จากอาจารย์ เรื่องการที่อาจารย์กระตุ้นเป็นแรงจูงใจที่สำคัญ เป็นผู้ช่วยเหลือให้นักศึกษาได้เรียนรู้ ใน การลงมือทำ ใช้การคิด การเรียนรู้และทดลองพัฒนาปรับปรุง
1. แกนนำทั้ง 8 คนมีจิตอาสา มีภาวะผู้นำเพิ่มมากขึ้น
2. มีจิตสำนึกต่อการเป็นคนมีจิตอาสา
3. ได้ทักษะการเขียนโครงการ
4. ได้ทักษะการวางแผนงาน
5. ทักษะคิดวิเคราะห์ การประเมินผล
6. บริหารเวลาตนเอง
7. การบริหารงบประมาณเวลา
8. มีความรู้เรื่องการปฐมพยาบาลเบื้องต้นเพิ่มอย่างมาก
9. มีทักษะในการถ่ายทอดความรู้สู่ผู้อื่น
10. มีทักษะการทำงานเป็นกลุ่ม การประสานงาน สร้างสัมพันธภาพ แก้ไขปัญหา
11. ได้เรียนรู้การนำความรู้ในพื้นที่ชุมชนที่เกิดปัญหาจริง
6. หากจะทำให้ดีกว่าเดิมหรือคนอื่นจะเอาวิธีการนี้ไปใช้ต่อ ควรปรับปรุงเรื่องใดบ้าง
นโยบายของผู้บริหารเป็นสิ่งสำคัญ เนื่องจากวิทยาลัยพยาบาลและสุขภาพ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา ผู้บริหารคือ ท่าน ดร. พรพรรณ วรสีหะ คณบดี เห็นความสำคัญให้โอกาส ให้การสนับสนุนทุกอย่าง เช่น ห้องLab และสิ่งสำคัญคือเรื่องการคิดค้นนวัตกรรม และนำไปประยุกต์ใช้ได้ เช่น หุ่น BLS และ สิ่งสำคัญเรื่องการบริหารเวลาของทีม อาจารย์ โดยเฉพาะนักศึกษาต้องมีการเรียน การขึ้นปฎิบัติงาน การมีส่วนร่วมการทำงานเป็นทีม การติดต่อประสานงาน ดังนั้นสถาบันอื่นควรให้ความสำคัญดังข้างต้น
ภาคผนวก
ขั้นที่ 1 การบ่งชี้ความรู้ (ขั้นเตรียม) คณาจารย์และนักศึกษา ดร. พรพรรณ วรสีหะ เป็นประธาน
ดร. พรพรรณ วรสีหะ คณบดี วิทยาลัยพยาบาลและสุขภาพ
และนักศึกษาพยาบาล ปี2,3และปี 4 วิทยาลัยพยาบาลและสุขภาพ
ในวันที่ 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558
ณ ห้อง 3731 และห้องปฏิบัติการพยาบาล Lab 2
ขั้นที่ 3 การจัดการความรู้ให้เป็นระบบ
ขั้นที่ 4 การประมวลผลและกลั่นกรองความรู้
ขั้นที่ 5 การเข้าถึงความรู้
- จัดทำเอกสารการปฐมพยาบาลเบื้องต้นและการช่วยฟื้นคืนชีพ ขั้นพื้นฐาน และการจัดการความเครียดและเผยแพร่ทาง website KM ของวิทยาลัยพยาบาลและสุขภาพ
6.2 จัดเวทีแลกเปลี่ยนความรู้ให้กับสภาการชาดไทยและสถาบันอุดมศึกษา รวม 6 แห่ง
6.3 เผยแพร่แลกเปลี่ยนความรู้ ประกวดและรับรางวัล ชนะเลิศ อันดับที่ 1 จาก วพบ สภากาชาดไทย และ IFRC
ณ โรงแรมวังสุนันทาและห้องปฏิบัติการพยาบาล Lab 1 และ โรงแรมริเวอร์ไซด์ กทม ฯ
รับรางวัลชนะเลิศ อันดับ 1
6.4. เผยแพร่แลกเปลี่ยนความรู้รับรางวัล
จากนายกสภามหาวิทยาลัยระยะขยายผลในคณะตัวแทนสโมสรนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฎสวนสุนันทา
ท่านกร ทัพพรังสี นายกสภาวิทยาลัย มอบวุฒิบัตรจิตอาสา
รับรางวัลชนะเลิศ อันดับ 1
รับรางวัลจิตอาสา และวุฒิบัตรจิตอาสา
KM จิตอาสานำเสนอ ที่ รรร ไมดา