การประมวลและกลั่นกรองความรู้ กลุ่มจัดการเรียนการสอนรายวิชาศึกษาทั่วไป โดยใช้รูปแบบ The Flipped Learning

โมเดลการเรียนรู้ GE SSRU Flipped Learning

โมเดลการเรียนรู้ GE SSRU Flipped Learning ได้มีการออกแบบพิจราณา และกลั่นกรอง จากผู้เชี่ยวชาญ ประกอบด้วย ผศ.สุพจน์ ค้าขาย  อาจารย์สุภาพรรณ เมฆรัต  อาจารย์ศิลป์ชัย พูลคล้าย  อาจารย์ธวัช พุ่มดารา และ อาจารย์ผู้สอนในรายวิชาศึกษาทั่วไปฯทุกคน  โดยมีการนำแนวคิดภควันตภาพ และการเรียนรู้แบบผสมผสาน มารวมกัน ดังนั้นจะเห็นได้ว่าโมเดลที่ได้รับการประมวลและกลั่งกรองจะมีการแบ่งเป็นหัวข้อหลัก 2 ส่วน

1. โมเดลส่วนนอกสุด คือ การศึกษาภควันตภาพ (Ubiquitous Education) เป็นระบบการศึกษาแห่งอนาคตที่จะสลายภาพการศึกษาทางใกล้  และเผชิญหน้าในห้องเรียน) และการศึกษาทางไกล (เรียนเองที่บ้านหรือที่ทำงาน) การศึกษาที่แท้จริงต้องไม่มีทาใกล้ทางไกล แต่เป็นการศึกษาองค์รวม ผสมผสานและบูรณาการ นั่น คือ ผู้เรียนได้รับความรู้ทุกแห่งหนและทุกเวลา

      1.1 ไม่จำกัดการเรียนรู้ของผู้เรียน โดยที่ ผู้เรียนสามารถเรียนได้ตามความถนันของแต่ละบุคคล

      1.2 ไม่จำกัดสถานที่ในการเรียน โดยทางมหาวิทยาลัยได้มีพื้นที่จำกัดดังนั้นการเรียนรูปแบบนี้จึงไม่จำกัดว่าจะต้องเรียนที่ไหน ไม่ว่า จะเป็นที่บ้าน บนรถ หรือที่ใดๆ ก็สามารถเรียนได้

      1.3 ไม่จำกัดเวลา โดยผู้เรียนสามารถ เข้าถึงการเรียนรู้ได้ทุกเวลา

      1.4 ไม่จำกัดแห่งเรียนรู้ โดยผู้เรียนสารมารถเข้าถึงข้อมูลหรือแห่งเรียนรู้ได้ หลากหลายรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็น การอ่านหนังสือ การเข้าเรียนรู้ผ่านWebรายวิชา หรือ การชมบันทึกการสอน และใบความรู้ต่างๆ

2. โมเดลส่วนใน คือ การเรียนรู้แบบผสมผสาน (Blended Learning) ได้มีการพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนรูปแบบนี้ตั้งแต่ ปี พ.ศ.2554 โดยมีการนำความรู้มาต่อยอดจาก การจัดการเรียนการสอนรายวิชาการศึกษาทั่วไป มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทาตามแนวคิดการเรียนรู้แบบผสมผสาน (Blended learning) (KM. 2555)

      2.1 การเรียนพบหน้า ( Face-to-face) ประกอบด้วยวิธีการต่างๆเช่นการบรรยายหรือการนำเสนอ(Lecture/presentations) การสาธิต(Demonstration) การทบทวน(Tutorial) การลงมือปฏิบัติ(Workshop) การสัมมนา(Seminar) การแสดงบทบาทสมมติ(Role Play) การจำลองสถานการณ์ (Simulation) การทำโครงงาน (Project) การเยี่ยมชมสถานที่ (Site Visits) เป็นต้น

      วิธีการหลักที่มีใช้กันอยู่คือการบรรยาย การสาธิตทั้งสองวิธีนี้มีสิ่งสนับสนุนการเรียนการสอนเพื่อให้สามารถดำเนินการสอนได้อย่างมีประสิทธิภาพสิ่งเหล่านี้ ได้แก่กระดานดำกระดานไวท์บอร์ดสไลด์ที่สร้างจากโปรแกรม Microsoft PowerPoint หรือโปรแกรมอื่นๆวัสดุกราฟิกสำหรับการสาธิตนั้นสิ่งจำเป็นที่ใช้ในการสนับสนุนการสาธิตมักจะเป็นสื่อของจริงแบบจำลองต่างๆหรือชุดทดลองเพื่อให้ผู้เรียนเห็นภาพได้ชัดเจนขึ้นนอกจากนั้นสิ่งที่มักนำมาประกอบการสอน บรรยาย สาธิตอีกอย่าง คือ สื่อมัลติมีเดียได้แก่ภาพเสียง วีดิโอ โดยนำเสนอผ่านอุปกรณ์เช่น เครื่องเล่นซีดี ดีวีดี หรือ คอมพิวเตอร์

       2.2 ออฟไลน์แบบเรียนด้วยตนเอง (Offline: Individual Work) ผู้เรียนเรียนด้วยการใช้สิ่งต่างๆเช่นหนังสือ นิตยสาร หนังสือพิมพ์วารสาร ซีดีบันทึกเสียง วีดิทัศน์ดีวีดีโทรทัศน์วิทยุเป็นต้น รวมทั้งสื่อแบบปฏิสัมพันธ์ (Interactive Media) เช่นบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน (Computer AssistedInstruction : CAI) ในการเรียนการสอน

       2.3 ออนไลน์ (Online) หมายถึงวิธีการส่งแบบออนไลน์การส่งผ่านซีดี/ดีวีดีการเรียนผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ (E-learning เช่นบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนบอินเทอร์เน็ต) อีเมล์ห้องสนทนา (ChatRoom) เว็บบอร์ด (Web Board) การประชุมด้วยวีดิโอ(Video Conference) การใช้ฐานความรู้ (Knowledgebased)การใช้เครื่องมือค้นหาข้อมูล (Search Engine) การใช้เว็บไซต์การใช้สื่อสังคมออนไลน์ (SocialMedia เช่น Twitter หรือ Facebook) การเรียนผ่านสื่อเคลื่อนที่ (Mobile Learning) เป็นต้น

        องค์ประกอบทั้งสามกลุ่มนั้นเมื่อนำมาใช้ในการเรียนรู้แบบผสมผสานจะต้องมีการนำมาออกแบบเพื่อให้เสริมข้อดีและลดจุดด้อยซึ่งกันและกัน เพื่อให้ได้ผลที่ดีที่สุดซึ่งเมื่อนำมาใช้ร่วมกันแล้วสิ่งที่ต้องมีในการจัดกระบวนการเรียนการสอนเพื่อให้การเรียนมีประสิทธิภาพสูงสุด

สรุป
        การรวมการศึกษาภควันตภาพ (Ubiquitous Education) และการเรียนรู้แบบผสมผสาน Blended Learning เข้าด้วยเป็นการเรียนรู้แบบผสมหลากหลายวิธีผู้เรียนสารมารถเลือกได้ตาม Learning style มีสามารถพัฒนาการเรียนรู้เต็มศักยภาพเหมาะกับบริบทและสถานการณ์กำรเรียนรู้ที่ตอบสนองความแตกต่างระหว่างบุคคล เกิดการเรียนรู้และทักษะด้านการปฏิบัติ (Practice Skill) รู้เท่าทันเทคโนโลยีสามารถใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีได้อย่างเต็มที่ การเรียนการสอนแบบออนไลน์ (Online Learning) การบริการการเรียนการสอนผ่านระบบ E-learning และการสอบในระบบออนไลน์ เป็นการฝึกให้นักศึกษาคุ้นเคยกับระบบเทคโนโลยี สามารถปรับตัวทันกับเปลี่ยนแปลงรวมถึงเป็นการฝึกให้มีวินัย ตรงเวลาและการรักษาสิทธิ์เนื่องจากในระบบฐานข้อมูลมีการบันทึกประวัติ การเข้าใช้ มีการยืนยันการเข้าใช้ระบบ ซึ่งถือเป็นจุดเด่นของการจัดการเรียนการสอนลักษณะนี้ และคุณลักษณะเด่นคือสามารถเรียนรู้ได้ทุกที่ทุกเวลา ( Anywhere Anytime )
เป็นรูปแบบสื่อการเรียนที่สามารถเข้าถึงได้สะดวก ง่ายและรวดเร็ว ระบบการวัดและการประเมินที่ตรงกับคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของหลักสูตร ความพร้อมและเจคติของผู้สอน ที่มีต่อวิธีการสอนดังกล่าว จัดการระบบให้มีการสื่อสารระหว่างนักศึกษาและอาจารย์ผู้สอนได้ทั่วถึงและทันการณ์ เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพการเรียนการสอนสูงสุดและได้นำไปสู่รู้แบบการเรียนการสอนแบบกึ่งเข้าชั้นเรียน 
โดยมีการวัดและประเมินผลดังนี้ (รูปหน้า 63)
       1. วัดความรู้ ศึกษความรู้จากเอกสารและตำราและความรู้บน Web รายวิชา  20%
       2. ทำกิจกรรมบน Web รายวิชา                                                        10%
       3. ทำแฟ้มสะสมงานรายบุคคล                                                          30%
       4. ทำแฟ้มสะสมงานกลุ่ม                                                                10%
       5. แลกเปลี่ยนความรู้ (จัดงานตลาดความรู้)                                         30%