เมื่อวันที่ วันที่ 30 มิถุนายน - 3 กรกฎาคม 2557 ศูนย์การศึกษาและฝึกอบรมอาเซียน สำนักงานอธิการบดี ได้มีการจัดโครงการ การสร้างความตระหนักรู้เกี่ยวกับประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ณ ศูนย์อาเซียนศึกษาระดับภาคเหนือ อำเภอแม่จัน จังหวัดเชียงราย 2558 เพื่อเตรียมความพร้อมและพัฒนาในด้านต่างๆ ซึ่งเป็นเรื่องที่ต้องดำเนินการอย่างเร่งด่วนและควรจะต้องทำแบบมีแนวทาง และมียุทธศาสตร์ที่เหมาะสมภาคการปกครองท้องถิ่นก็มีบทบาทสำคัญในการพัฒนา ทั้งด้านการเมืองและความมั่นคง ด้านเศรษฐกิจ รวมทั้งด้านสังคมและวัฒนธรรม
การเดินทางไปศึกษาดูงานที่อำเภอแม่จัน จังหวัดเชียงราย ซึ่งเป็นจุดศูนย์กลางของการคมนาคมเพื่อเชื่อมต่อไปยังอำเภอแม่สาย อำเภอเชียงแสนและอำเภอเชียงของ อีกทั้งยังเป็นพื้นที่การค้าขายชายแดนที่สำคัญกับประเทศเพื่อนบ้านอย่างพม่าและลาว ทำให้คณาจารย์และบุคลากรเกิดการเข้าใจ การรับรู้และเกิดการปรับตัว การรู้จักศิลปวัฒนธรรม ประเพณีท้องถิ่นประวัติศาสตร์ความเป็นมาของประเทศในกลุ่มประเทศอาเซียนมากยิ่งขึ้น
ประมวลภาพกิจกรรม
โครงการบริการวิชาการหรือวิชาชีพ เพื่อพัฒนาศักยภาพชุมชนสู่ประชาคมอาเซียน
นำคณาจารย์และบุคลากรมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทาเข้าพบปะผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านแม่จัน
ณ ศูนย์ศึกษาอาเซียน โรงเรียนบ้านแม่จัน อำเภอแม่จัน จังหวัดเชียงราย
อาจารย์สกุล จริยาแจ่มสิทธิ์ รองผู้อำนวยการศูนย์การศึกษาและฝึกอบรมอาเซียน
และอาจารย์ธนาคม พจนาทักษ์ ผู้อำนวยการสถาบันสร้างสรรค์และส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิต
พบปะพูดคุยกับผู้อำนวยการและรองผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านแม่จันบรรยาย
ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านแม่จันบรรยายเกี่ยวกับความเป็นมาของ ศูนย์การศึกษาอาเซียน ระดับภาคเหนือ
นักเรียนโรงเรียนบ้านแม่จัน โชว์การแสดงต้อนรับคณาจารย์และบุคลากรของมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
คณาจารย์และบุคลากรของมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา ถ่ายภาพร่วมกับคณาจารย์และ
นักเรียนโรงเรียนบ้านแม่จัน
ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านแม่จันมอบของที่ระลึกให้แก่อาจารย์สกุล จริยาแจ่มสิทธิ์ รองผู้อำนวยการศูนย์การศึกษาและฝึกอบรมอาเซียนและอาจารย์ธนาคม พจนาทักษ์ ผู้อำนวยการสถาบันสร้างสรรค์และส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิต
นำคณาจารย์และบุคลากรมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา เข้าศึกษาดูงานห้องศึกษาอาเซียน
ณ ศูนย์ศึกษาอาเซียน โรงเรียนบ้านแม่จัน อำเภอแม่จัน จังหวัดเชียงราย
สรุปผลที่ได้จากการจัดโครงการ
1. บุคลากรมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทาได้มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับประเทศอาเซียน
2. บุคลากรมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทาได้มีความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับเรื่อง ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน
3. บุคลากรมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทาได้เรียนรู้วิถีชีวิตวัฒนธรรมและความก้าวหน้าในการพัฒนาตนเอง
4. บุคลากรมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทาได้เพิ่มพูนความรู้และประสบการณ์ด้านการบริหารและพัฒนาเกี่ยวกับการศึกษา ศิลปวัฒนธรรม ประเพณี และภูมิปัญญาท้องถิ่นที่เกี่ยวข้องกับประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน