- ความรู้ที่ได้และการกลั่นกรองความรู้
ความรู้ที่ได้ (อธิบายรายละเอียดความรู้เป็นลายลักษณ์อักษร และให้มีรายละเอียดตามขั้นตอน 3 การจัดการความรู้ให้เป็นระบบ)
หลังสิ้นสุดการดำเนินงานการจัดการความรู้ (Knowledge Management) สามารถสรุปความรู้ที่ได้ ดังต่อไปนี้
- คู่มือการใช้นวัตกรรมสร้างเสริมสุขภาพ ซึ่งได้ทำการแจกจ่ายคู่มือเหล่านี้แก่อาจารย์นิเทศและนักศึกษา เพื่อนำไปใช้ประกอบการฝึกปฏิบัติวิชาการพยาบาลอนามัยชุมชน และจะทำการแจกจ่ายแก่กลุ่มวิชาอื่นเพื่อเป็นแนวทางในการพัฒนาการเรียนการสอนต่อไป
- รายงานการศึกษาชุมชนของนักศึกษากลุ่มละ 1 เล่ม
- แนวคิดการผลิตนวัตกรรมสร้างเสริมสุขภาพของนักศึกษา กลุ่มละ 1 ชิ้น
1.2 แบบปฏิบัติที่ดีในการดำเนินงานการจัดการความรู้ในครั้งนี้
สามารถสรุปขั้นตอนการบูรณาการ การสร้างนวัตกรรมเพื่อการสร้างเสริมสุขภาพของชาวต่างด้าวและประชาชนในชุมชนได้ ดังนี้
ขั้นตอนที่ 1 การบ่งชี้ความรู้
- จัดตั้งกลุ่มความรู้ Community of Practice (CoP)
- กำหนดบทบาทสมาชิกในกลุ่มตามความเหมาะสม
- สุนทรียสนทนา (Dialogue) และ Story Telling ภายในกลุ่ม เพื่อสกัดความรู้ฝังลึก (Tacit Knowledge) ที่อยู่ภายในตัวสมาชิกแต่ละคน เมื่อเรียบเรียงออกมาได้เป็นความรู้เชิงประจักษ์ (Explicit Knowledge) และนำมาจัดตั้งหัวข้อการจัดการความรู้
ขั้นตอนที่ 2 การสร้างและแสวงหาความรู้
- สุนทรียสนทนา ( Dialogue) และ Story Telling ภายในกลุ่ม เพื่อสกัดความรู้ฝังลึก (Tacit Knowledge) ที่อยู่ภายในตัวสมาชิกแต่ละคน เมื่อเรียบเรียงออกมาได้เป็นความรู้เชิงประจักษ์ (Explicit Knowledge) และนำมาเป็นแนวทางการนำคู่มือซักประวัติภาษาอาเซียนไปใช้ประกอบการฝึกปฏิบัติการพยาบาลอนามัยชุมชนให้ได้ประสิทธิภาพสูงสุด
ขั้นตอนที่ 3 การจัดความรู้ให้เป็นระบบ
- สุนทรียสนทนา ( Dialogue) และ Story Telling ภายในกลุ่ม เพื่อสกัดความรู้ฝังลึก (Tacit Knowledge) ที่อยู่ภายในตัวสมาชิกแต่ละคน เมื่อเรียบเรียงออกมาได้เป็นความรู้เชิงประจักษ์ (Explicit Knowledge) และนำคู่มือซักประวัติภาษาอาเซียนไปใช้ประกอบการฝึกปฏิบัติการพยาบาลอนามัยชุมชน เพื่อให้ได้ข้อมูลด้านสุขภาพและทำการวิเคราะห์ข้อมูล เพื่อให้ได้ข้อมูลปัญหาสุขภาพมาวางแผนหาแนวทางแก้ไข
ขั้นตอนที่ 4 การประมวลและกลั่นกรองความรู้
- นำปัญหาสุขภาพของประชาชนที่ได้จากการจัดลำดับความสำคัญของปัญหา มาวิเคราะห์โยงใยสาเหตุของปัญหา เพื่อหาแนวทางการจัดทำแผนโครงการแก้ไขและสร้างนวัตกรรมเพื่อสร้างเสริมสุขภาพ
- แบ่งนักศึกษาเป็น 2 กลุ่ม ทดลองใช้นวัตกรรมสร้างเสริมสุขภาพและถอดบทเรียนหลังการทดลองใช้ เพื่อปรับปรุงแก้ไขให้มีความสมบูรณ์มากขึ้น
- นำผลการทดลองใช้และผลการถอดบทเรียนมาเป็นแนวทางปรับปรุงแก้ไขนวัตกรรมสุขภาพ และนำเสนอต่อพยาบาลและบุคลากรด้านสุขภาพ (Peers Review) ประจำศูนย์บริการสาธารณสุขและอาจารย์นิเทศเพื่อปรับปรุงให้นวัตกรรมมีความสมบูรณ์ พร้อมแก่การนำไปใช้จริงมากที่สุด
ขั้นตอนที่ 5 การเข้าถึงความรู้
- นำนวัตกรรมสร้างเสริมสุขภาพ ให้นักศึกษานำไปใช้ในการฝึกปฏิบัติการพยาบาลอนามัยชุมชน
- จัดทำคู่มือการใช้นวัตกรรมสร้างเสริมสุขภาพ
- จัดทำรายงานผลการดำเนินงานความรู้กลุ่มครูสีฟ้าเพื่อให้สมาชิกในกลุ่มและผู้สนใจได้ศึกษาขั้นตอนการดำเนินงาน
- เผยแพร่ผลการดำเนินงานของกลุ่มความรู้ผ่านทาง www.km.ssru.ac.th กลุ่มความรู้ครูสีฟ้า เพื่อให้สมาชิกในกลุ่มและผู้สนใจได้ศึกษาขั้นตอนการดำเนินงานผ่านทางเว็บไซด์
- จัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้หลังการฝึกปฏิบัติ (Knowledge Sharing) และถอดบทเรียนเพื่อเก็บไว้เป็นฐานข้อมูลในการจัดการความรู้ครั้งต่อไป
- เข้าร่วมการจัดเวทีย่อยแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในหน่วยงาน (Forum) ของวิทยาลัยพยาบาลและสุขภาพ เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้การดำเนินงานระหว่างกัน
ขั้นตอนที่ 6 การแบ่งปันแลกเปลี่ยนความรู้
- การแจกจ่ายคู่มือการใช้นวัตกรรมสร้างเสริมสุขภาพ ให้นักศึกษานำไปใช้ในการฝึกปฏิบัติการพยาบาลอนามัยชุมชน
- จัดทำรายงานผลการดำเนินงานความรู้กลุ่มครูสีฟ้าเพื่อให้สมาชิกในกลุ่มและผู้สนใจได้ศึกษาขั้นตอนการดำเนินงาน
- เผยแพร่ผลการดำเนินงานของกลุ่มความรู้ผ่านทาง www.km.ssru.ac.th กลุ่มความรู้ครูสีฟ้า เพื่อให้สมาชิกในกลุ่มและผู้สนใจได้ศึกษาขั้นตอนการดำเนินงานผ่านทางเว็บไซด์
- จัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้หลังการฝึกปฏิบัติ (Knowledge Sharing) และถอดบทเรียนเพื่อเก็บไว้เป็นฐานข้อมูลในการจัดการความรู้ครั้งต่อไป
- เข้าร่วมการจัดเวทีย่อยแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในหน่วยงาน (Forum) ของวิทยาลัยพยาบาลและสุขภาพ เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้การดำเนินงานระหว่างกัน
ขั้นตอนที่ 7 การเรียนรู้
- แจกจ่ายคู่มือการใช้นวัตกรรมสร้างเสริมสุขภาพ ให้นักศึกษานำไปใช้ในการฝึกปฏิบัติการพยาบาลอนามัยชุมชน
- ตรวจสอบความสมบูรณ์ของนวัตกรรมสร้างเสริมสุขภาพและคู่มือการนำไปใช้
- ถอดบทเรียนหลังสิ้นสุดการดำเนินงานของกลุ่มความรู้ครูสีฟ้า เพื่อเก็บไว้เป็นฐานข้อมูลการดำเนินงานจัดการความรู้ในปีถัดไป
- จัดทำรายงานผลการดำเนินงานความรู้กลุ่มครูสีฟ้า (Explicit Knowledge) เพื่อให้สมาชิกในกลุ่มและผู้สนใจได้ศึกษาขั้นตอนการดำเนินงานเพื่อเป็นแบบอย่างในการจัดการความรู้ในหน่วยงานอื่นๆ
- เผยแพร่ผลการดำเนินงานของกลุ่มความรู้ผ่านทาง www.km.ssru.ac.th กลุ่มความรู้ครูสีฟ้า เพื่อให้สมาชิกในกลุ่มและผู้สนใจได้ศึกษาขั้นตอนการดำเนินงานผ่านทางเว็บไซด์
- จัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้หลังการฝึกปฏิบัติ (Knowledge Sharing) เพื่อสกัด Tacit Knowledge จากการฝึกปฏิบัติงาน ออกมาเป็น Explicit Knowledge ที่สามารถแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างกลุ่มได้ และเปิดโอกาสให้ผู้ที่สนใจสามารถเข้าชม เพื่อศึกษารูปแบบการดำเนินงานเพื่อเป็นแบบอย่างในการปฏิบัติในหน่วยงานอื่นๆ
- เข้าร่วมการจัดเวทีย่อยแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในหน่วยงาน (Forum) ของวิทยาลัยพยาบาลและสุขภาพ เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ขั้นตอนการดำเนินงานของแต่ละกลุ่ม และนำข้อมูลที่ได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้ ไปแก้ไขปรับปรุงการดำเนินงานในหน่วยงานอื่นๆ
- ตรวจสอบความสมบูรณ์ของเล่มรายงานของนักศึกษาหลังนำคู่มือฝึกปฏิบัติการพยาบาลอนามัยชุมชนฉบับเตรียมรองรับประชาคมอาเซียนไปใช้ประกอบการทำรายงาน
- ถอดบทเรียนหลังสิ้นสุดการดำเนินงานของกลุ่มความรู้ครูสีฟ้า เพื่อเก็บไว้เป็นฐานข้อมูลการดำเนินงานจัดการความรู้ในปีถัดไป
- ติดตามคะแนนประเมินนักศึกษาหลังฝึกปฏิบัติการพยาบาลอนามัยชุมชนว่ามีคะแนนสะสมมากกว่า 60 คะแนน หรือไม่
ผ่านการกลั่นกรองจาก
การดำเนินการจัดทำคู่มือซักประวัติภาษาอาเซียน ได้รับการตรวจสอบจากผู้เชี่ยวชาญด้านภาษา โดย กลุ่มความรู้ได้ส่งร่างคู่มือซักประวัติแก่ผู้เชี่ยวชาญ เพื่อปรึกษาเรื่องความถูกต้องและการออกเสียงของภาษา โดยติดต่อกับผู้เชี่ยวชาญโดยตรง และติดต่อผ่านทาง E-mail และโทรศัพท์ โดยขอความร่วมมือผ่านทางเครือข่ายของผู้ทำงานด้านสุขภาพที่เล็งเห็นความสำคัญของการจัดทำคู่มือนี้ ซึ่งผู้เชี่ยวชาญด้านภาษาและผู้ที่ให้ความอนุเคราะห์ในการจัดทำคู่มือ มีดังนี้
- คุณฐิติมา พึ่มกุล ผู้ประสานงานด้านติดตามและประเมินผล สำนักงานบริหารโครงการกองทุนโลก
- เจ้าหน้าที่ปฏิบัติงานเกี่ยวข้องกับงานแรงงานต่างด้าว (International of Migrant) กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข
- คุณพนาศักดิ์ ทวีอัจฉริยวุฒิ เจ้าหน้าที่ประสานงานโครงการ มูลนิธิสุวรรณนิมิต อำเภอแม่สอด จังหวัดตาก
- คุณดรุณี ไชยศรีรัมย์ เจ้าหน้าที่พยาบาลศูนย์บริการสาธารณสุข 51 วัดไผ่ตัน กรุงเทพมหานคร
- วิทยากรโครงการ English Summer Camp 2013 วิทยาลัยพยาบาลและสุขภาพ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
- Mr. Anantachai Aeka
- Mr. James Mackenzie
- Ms. Louie Sabugo
- Ms. Roselle Ruiz
- Mr. Jay Cammer Nayuma
- Mr. Felicissimo Santiago
- Mr. Nathaniel Gutlay
- Ms. Sam Manguerra
ซึ่งได้ให้ความช่วยเหลือในการเลือกใช้คำศัพท์และการออกเสียงที่ถูกต้อง และ 3 หน่วยงาน ที่ได้จัดทำคู่มือต้นแบบเป็น Explicit Knowledge และทางคณะผู้จัดทำได้นำมาปรับปรุงเพื่อให้เข้ากับการนำไปใช้จริงในการฝึกปฏิบัติการพยาบาลอนามัยชุมชน ได้แก่
- คู่มือการซักประวัติและการให้บริการภาษากัมพูชา สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดตราด กลุ่มงานประกันสุขภาพ
- หลักสูตรพม่าเพื่อการสื่อสารเบื้องต้น สำหรับผู้ให้บริการด้านสุขภาพ โครงการส่งเสริมการป้องกันเอดส์ในแรงงานข้ามชาติ มูลนิธิรักษ์ไทย
- HANDBOOK OF MEDICAL CONVERSATION FOR ARMY MEDICAL PERSONNEL โรงเรียนเสนารักษ์ กรมแพทย์ทหารบก
ระหว่างการจัดทำคู่มือซักประวัติ กลุ่มความรู้ได้นำร่างคู่มือ แจกจ่ายแก่อาจารย์นิเทศและนักศึกษา เพื่อทดลองใช้ประกอบการฝึกปฏิบัติการพยาบาลอนามัยชุมชน เพื่อทดสอบคู่มือและถอดบทเรียนหลังการทดลองใช้ และนำผลการทดลองใช้เสนอแก่ผู้เชี่ยวชาญด้านภาษา เพื่อช่วยปรับปรุงแก้ไขให้คู่มือมีความสมบูรณ์เหมาะแก่การนำไปใช้งานมากที่สุด
การผลิตนวัตกรรมทางด้านสุขภาพและคู่มือการนำไปใช้ ผ่านการพิจารณาจากอาจารย์นิเทศประจำกลุ่มวิชาการพยาบาลอนามัยชุมชน และพยาบาลวิชาชีพและพยาบาลชำนาญการประจำศูนย์บริการสาธารณสุข ทดลองนำไปใช้โดย นักศึกษาพยาบาลชั้นปีที่ 4 อาสาสมัครสาธารณสุขประจำชุมชน และประชาชนในชุมชน