รูปแบบการเชื่อมต่อในระบบเน็ตเวิร์ค Network Solution
56K Dial-Up Modem
56K โมเด็มเป็นการเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ต แบบดังเดิม โดยผู้ใช้บริการ
สามารถเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตโดยการหมุนโมเด็มไปยัง ISP โดยผ่านสาย
โทรศัพท์ แต่สำหรับผู้ใช้งานอินเตอร์เน็ตในที่พักอาศัย ต้องพบกับอุปสรรค์ใน
การใช้งาน เพราะนอกจากจะมีความเร็วต่ำแล้วโดยปกติระบบโทรศัพท์ใน
โรงแรมจะผ่านระบบ PABX ซึ่งโดยมากจะตัดตามระยะเวลาที่กำหนด ความเร็ว
ในการเชื่อมต่อจะถูกลดทอนลง เหลือเพียง 33.6 Kbps เท่านั้นและยังมีปัญหา
เดิม คือ สายไม่ว่าง และสายหลุดอยู่เป็นประจำ
ADSL
เป็นเทคโนโลยีสำหรับผู้ที่ต้องการอินเตอร์เน็ตความเร็วสูงตั้งแต่ 128Kbps ไปจนถึง 4Mbps เลยทีเดียว ซึ่งสูงพอที่จะรองรับข้อมูลประเภทมัลติมีเดีย ซึ่งได้แก่ภาพวิดีโอและเสียงได้ และยังเป็นการสื่อสารข้อมูลในระบบดิจิตอล อีกทั้งยังไม่ต้องหมุนโทรศัพท์ก่อนการใช้งาน เนื่องจาก ADSL เชื่อมต่อกับ ISP อยู่ตลอดเวลา เพียงทำการ Logon เท่านั้น อย่างไรก็ตามอุปกรณ์ที่ใช้เพิ่มเติมมาใช้กับระบบ ADSL ซึ่งได้แก่ ADSL Modem ในกรณีที่ต้องการเชื่อมต่อเพื่อใช้งานประเภทบุคคลธรรมดา ซึ่งราคาจะแพงกว่าโมเด็มอนาล็อกปกติพอสมควร หรือจะเป็นอุปกรณ์ ADSL Router ที่โดยมากจะใช้เชื่อมต่อเพื่อการใช้งานในระบบที่ใหญ่กว่า ซึ่งราคาจะแพงขึ้นไปอีก ADSL มีผู้นิยมใช้กันมากที่สุดในปัจจุบัน แต่การขอใช้บริการ ADSL ผู้ใช้งานจำเป็นต้องมีโทรศัพท์สายตรง ซึ่งปกติโรงแรม ส่วนใหญ่ไม่มีบริการโทรศัพท์สายตรงในแต่ละห้องพักอาศัยดั้งนั้น ผู้เข้าพักอาศัยในโรงแรมจึงไม่สามารถใช้บริการ ADSL ได้
VDSL
เป็นเทคโนโลยีที่มีความยืดหยุ่นสูง สามารถรองรับการใช้งานระบบ Internet ได้ในความเร็วสูงถึง 15Mbps ได้ระยะทางที่ไกลสุงสูด 1.2 กิโลเมตร และที่สำคัญ เทคโนโลยี VDSL นั้นสามารถนำมาประยุกต์ใช้งานกับสายโทรศัพท์ธรรมดา ซึ่งจุดนี้ถือเป็นจุดเด่นของเทคโนโลยี VDSL เลยก็ว่าได้ เนื่องจากจะเห็นได้ว่าอาคารประเภท MxU ทุกแห่งนั้นจะต้องมีการเดินสายโทรศัพท์ภายในอาคารไปตามห้องพักต่างๆ อยู่แล้ว ฉะนั้นเมื่อเราต้องการเพิ่มเติมระบบ Internet ให้กับห้องพักต่างๆ ในอาคารแล้ว ด้วยเทคโนโลยี VDSL เราไม่จำเป็นต้องทำการเดินสายเคเบิล UTP หรือสาย Fiber เพิ่มเติมเลย เพราะว่าเราสามารถนำเทคโนโลยี VDSL เข้ามาใช้งานร่วมกับระบบสายโทรศัพท์เดิมได้เลย ซึ่งจะทำให้เราสามารถให้บริการระบบ Internet ไปยังห้องต่างๆ ภายในอาคารโดยอาศัยสายโทรศัพท์เป็นตัวรับ-ส่งข้อมูล พร้อมกันนั้นเรายังสามารถใช้งานระบบโทรศัพท์ได้เหมือนเดิมอีกด้วย ซึ่งสำหรับการติดตั้งอุปกรณ์ VDSL นั้น จะเป็นการติดตั้งในลักษณะ จุด-ต่อ-จุด หรือ Point-to-Point โดยที่อุปกรณ์ฝั่งหนึ่งจะเป็นอุปกรณ์ด้าน Provider สำหรับต่อเข้ากับแผง MDF เดิมของระบบโทรศัพท์ ส่วนอีกด้านหนึ่งจะเป็นอุปกรณ์ด้าน Subscriber ซึ่งจะติดตั้งอยู่ตามห้องพักต่างๆ ของอาคารตามรูปการเชื่อมต่อ ซึ่งหลังจากติดตั้งอุปกรณ์เสร็จเรียบร้อยแล้ว จะทำให้ตามห้องพักต่างๆ สามารถใช้งานระบบ Internet ความเร็วสูงได้ และยังสามารถใช้ระบบโทรศัพท์ภายในตามห้องพัก หรือตามเบอร์ Extension ต่างๆ ได้ตามปกติอีกด้วย
จุดเด่นของ VDSL ที่เหนือเทคโนโลยีอื่นๆ
· รองรับการใช้งานระบบ Internet ความเร็วสูง โดยสามารถรองรับความเร็วได้สูงสุดถึง 10 Mbps Full-Duplex Ethernet
· รองรับระยะทางในการใช้งานได้สูงสุดถึง 1.2 กิโลเมตร
· สามารถใช้งานได้กับสายโทรศัพท์ตั้งแต่ Category 1, 2, 3 หรือ 5 ทำให้ไม่จำเป็นต้องเดินสายเคเบิล UTP หรือ Fiber ใหม่เลย
· สัญญาณรบกวนต่างๆ (Noise) มีผลกับการใช้งานน้อยมาก
· มีความสามารถในการทำ Traffic Shaping ทั้งการรับ-ส่งข้อมูลแบบ Upstream และ Downstream
· ติดตั้งและใช้งานได้โดยง่าย
· สามารถใช้ระบบ Internet ความเร็วสูงได้โดยไม่มีผลกระทบกับระบบโทรศัพท์เดิม
ISDN
ISDN (Integrated Service Digital Network) เป็นการสื่อสารสัญญาณร่วมผ่านสายโทรศัพท์แบบดิจิตอลสมบูรณ์แบบ สามารถรองรับการรับส่งข้อมูลผ่านโครงข่ายดิจิตอล ตั้งแต่ต้นทางจนถึงปลายทาง ที่ให้คุณภาพและความเร็วในการส่ง ผ่านข้อมูลสูงสุดถึง 128 Kbps ซึ่งสามารถรับส่งสัญญาณเสียง ข้อมูล และภาพได้อย่างมีประสิทธิภาพ เหมาะสำหรับ องค์กรที่เริ่มต้นใช้งาน หรือองค์กรที่ต้องการให้ผู้ใช้หลายคนอยู่ในวง LAN เดียวกัน สามารถเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตพร้อมกัน โดยเชื่อมผ่านคู่สาย ISDN เพียงสายเดียว
Leased Line
อินเทอร์เน็ตบนบริการวงจรเช่า หรือบริการเส้นทางการสื่อสารส่วนตัว ผ่านใยแก้วนำแสงดิจิตอล ด้วยอัตราเร็วคงที่สามารถรับส่งข้อมูลที่มีขนาดใหญ่ และมีการเชื่อมต่ออยู่ตลอดเวลาระหว่าง Point toPoint เป็นเทคโนโลยีที่มีความเสถียรและความปลอดภัยของข้อมูลสูงซึ่งมีความเร็วให้เลือกตั้งแต่64 Kbps ถึง 2 Mbpsและหากต้องการใช้บริการที่มีความเสถียรภาพเทียบเท่า Leased Lineแต่สามารถเชื่อมต่อเครือข่ายที่มากกว่า 2 เครือข่ายหรือ Point to Multipoint
G.SHDSL
คืออีกหนึ่งเทคโนโลยีที่สามารถเชื่อมต่อเครือข่าย LAN ผ่านสายทองแดงได้ไกลถึง 4-9.7 กิโลเมตร โดย G.SHDSL มีสองประเภทคือ แบบ 2-wire (ใช้สายทองแดง 2 เส้น) และแบบ 4-wire (ใช้สายทองแดง 4 เส้น) โดยแบบ 2-wire สามารถรับส่งข้อมูลที่ความเร็วสูงสุด 2.3 Mpbs ส่วนแบบ 4-wire นั้นสามารถทำได้ที่ 4.6Mpbs G.SHDSL Modem มีคุณสมบัติสำคัญคือ สัญญาณมีเสถียรภาพสูงมาก จึงทำให้ G.SHDSL กำลังจะกลายเป็นมาตรฐานในการให้บริการ Leased Line ในอนาคต และนอกจากนั้น G.SHDSL ยังมี Interface ที่หลากหลายทั้งแบบ Ethernet, V.35 และ E.1(G.703) ซึ่งคุณสามารถเลือกใช้ได้ตามความต้องการ
Wireless LAN
เป็นการให้บริการอินเตอร์เน็ตแบบไร้สายความเร็วอินเตอร์เน็ตตามมาตรฐาน IEEE 802.11b 11Mbps และ 802.11g ที่ความเร็ว 54 Mbps เหมาะสำหรับรองรับการให้บริการอินเตอร์เน็ตในบริเวณ Lobby, สระว่ายน้ำหรือห้องประชุมสัมมนา ที่ไม่สามารถเดินสายได้ จุดด้อยของระบบนี้คือต้องติดตั้งอุปกรณ์ Access Point ทุกจุดที่ต้องการให้รัศมีครอบคลุมการใช้งาน รวมถึงปัญหาสิ่งที่กีดขวางต่างๆ เช่น ผนังห้อง, เฟอร์นิเจอร์ ฯลฯ ที่ทำให้ระยะทางไม่ครอบคลุมพื้นได้ทั้งหมด อีกทั้งความแรงของสัญญาณก็ไม่สม่ำเสมอและอาจก่อให้เกิดสายหลุดบ่อยๆ
VoIP
เป็นเทคโนโลยี ที่ทำการรับส่งข้อมูลเสียง ภาพ และวีดีโอ เพื่อการติดต่อสื่อสารบนระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ตที่เป็นที่แพร่หลายในปัจจุบัน ทั้งนี้ แรงผลักดันที่ทำให้เทคโนโลยี IP Telephony เป็นหนึ่งในงานวิจัยที่สำคัญ ก็คือ เทคโนโลยีเอื้ออำนวยต่อการสร้างบริการใหม่ในการสื่อสาร ไม่ว่าจะเป็น การโทรศัพท์ที่สามารถเห็นหน้าของฝั่งตรงข้าม การโอนสาย กล่องเมลเสียง (voice mail) การเคลื่อนย้าย และอื่นๆ นอกจากนี้เหตุผลสำคัญอีกอย่างหนึ่งคือ การสื่อสารทางไกลจะทำได้ถูกลง เนื่องจากไม่มีการคิดค่าโทรทางไกล ผู้ใช้สามารถที่จะโทรศัพท์ภายในประเทศ หรือโทรข้ามโลกได้ในราคาที่ประหยัดมาก
Firewall/VPN Firewall/VPN IP Sec
เมื่อพื้นฐานของการสื่อสารผ่านเครือข่ายอินเตอร์เน็ตคือ โปรโตคอล TCP/IP ดังนั้นการเพิ่มความปลอดภัยในด้านการสื่อสาร จึงถูกมุ่งประเด็นไปที่ TCP/IP เทคโนโลยีของ IPSec ก็เช่นเดียวกัน IETF ได้กำหนดมาตรฐาน สำหรับเหตุผลที่ว่าทำไม TCP/IP จึงถูกจับเข้ามาสวมเกราะป้องกันตัว นั้นก็เป็นเพราะข้อเท็จจริงประการหนึ่งที่ว่า การทำงานบนเครือข่ายอินเตอร์เน็ต ไม่ว่าจะเป็นการใช้บราวเซอร์ผ่านโปรโตคอล HTTP การใช้ SSL ก็ทำงานบนพื้นฐานของ TCP/IP โปรโตคอลในการรับ-ส่งเมล์อย่าง POP3 , SMTP ก็ผ่าน TCP/IP หรือ FTP , Telnet ก็ยังคงทำงานด้วย TCP/IP เรียกว่าเกิดจากการประยุกต์ TCP/IP แทบทั้งสิ้น ดังนั้นคงไม่ต้องแปลกใจที่ว่า จับโจรจับหัวหน้า ถ้าจะสร้างเกราะให้ใครสักคน ก็ต้องสร้างให้กับหัวโจกก่อนนั่นแหละ หัวโจกปลอดภัยแล้ว ลูกน้องก็อยู่ได้ IP Security หรือเรียกกันย่อๆ ว่า IPSec นั้นประกอบด้วยอะไรบ้าง องค์ประกอบแรกที่เหมือนระบบรักษาความปลอดภัยอื่นๆ คือ การใส่รหัส (Encryption) เพื่อป้องกันข้อมูลรั่วไหล ป้องกันการแอบดึงข้อมูลไปใช้ ประการต่อไปของ IPSec คือ การตรวจสอบความมีตัวตน (Authentication) และประการสุดท้ายของ IPSec คือ ความถูกต้องของข้อมูล มีระบบป้องกันการทำลาย การทำให้ข้อมูลผิดรูปไป
VPN
เป็นเทคโนโลยีที่ป้องกันข้อมูลหรือข่าวสารขณะสื่อสารผ่านอินเตอร์เน็ตหรือเครือข่ายธรรมดาทั่วไปที่อาศัยการสร้างที่เรียกว่าอุโมงค์การเชื่อมต่อ รวมทั้งพิสูจน์สิทธิที่รัดกุม และการเข้ารหัสที่มีความสลับซับซ้อน และการตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูล เพื่อให้แน่ใจว่าข้อมูลข่าวสารที่ได้รับไม่ใช่ข้อมูลที่ถูกดัดแปลงจากผู้บุกรุก และสุดท้ายข้อมูลข่าวสารที่ได้รับจะต้องได้รับการตรวจสอบว่าเป็นของตัวจริงเสียงจริงหรือไม่
VPN เป็นช่องทางการสื่อสารข้อมูลระหว่างเครือข่าย หรือระหว่างผู้ใช้งานกับเครือข่ายที่ให้บริการสื่อสารข้อมูลส่วนตัวผ่านเครือข่าย สาธารณะ อย่างเช่น อินเตอร์เน็ต คำว่าข้อมูลส่วนตัวในที่นี้หมายถึงข้อมูลข่าวสารที่จัดส่งจะมีลักษณะเป็นเหมือนช่องทางเฉพาะที่ถูกจัดสร้างเพื่อติดต่อกันระหว่างผู้ใช้งานที่เกี่ยวข้องเท่านั้น ข้อมูลข่าวสารจะได้รับการเข้ารหัสเกือบทั้งหมด โดยใช้เทคนิคที่เรียกว่า tunneling การใช้งาน VPN เป็นการใช้งานอินเตอร์เน็ตหรือเครือข่ายสาธารณะทั่วไปเป็นส่วนหนึ่งของ Backbone
VPN มีการพิสูจน์สิทธิแบบ End to end การพิสูจน์สิทธิทั้ง 2 ฝั่งข้ามไปมารวมทั้งการเข้ารหัสข้อมูลข่าวสารในรูปแบบต่างๆ ที่ทำให้มีความปลอดภัย ประหยัดเงินค่าโทรศัพท์ทางไกล และค่าบำรุงรักษาอีกมากมายและด้วยเทคโนโลยี tunneling ที่ทำให้เครือข่ายหนึ่งส่งข้อมูลไปอีกเครือข่ายหนึ่ง โดยการที่มีการห่อหุ้มหรือ Encapsulation ในรูปของแพ็กเก็ตที่มาจากการทำงานในระดับ Network Layer