กระบวนการเทียบโอนผลการเรียน : กองบริการการศึกษา สำนักงานอธิการบดี

1. กระบวนการเทียบโอนผลการเรียน มีขั้นตอนการดำเนินงาน ดังนี้
                   1.1 นักศึกษาติดต่อเขียนคำร้องเทียบโอนผลการเรียนปกติ ทร.01 คำร้องเทียบโอนผลการเรียน ข้ามคณะ ทร.02 ได้ที่คณะ/วิทยาลัย
                   1.2 นำคำร้องเทียบโอนผลกาเรียนไปให้อาจารย์ที่ปรึกษาตรวจสอบและลงนาม
                   1.3 ยื่นคำร้องเทียบโอนผลการเรียนที่คณะ/วิทยาลัย พร้อมหลักฐานใบรายงานผลการเรียน พร้อมคำอธิบายรายวิชา
                   1.4 คณะดำเนินการนำคำร้องขอเทียบโอนผลการเรียนเข้าที่ประชุมคณะกรรมการประจำคณะพิจารณาอนุมัติผลการเทียบโอนผลการเรียน
                   1.5 ทำบันทึกผ่านระบบสารบรรณอิเล็กทรอนิกส์ส่งเอกสารการอนุมัติผลการเทียบโอนผลการเรียนพร้อมแนบรายงานการประชุมคณะกรรมการประจำคณะมายังกองบริการการศึกษา
                   1.6 กองบริการการศึกษาดำเนินการตรวจสอบข้อมูลการเทียบโอนผลการเรียน นำเสนอรองอธิการบดีฝ่ายวิชาเพื่ออนุมัติในบันทึก เมื่อได้รับการอนุมัติผลการเทียบโอนผลการเรียนดำเนินการบันทึกข้อมูลการเทียบโอนผลการเรียนเข้าระบบงานทะเบียน
                   1.7 ส่งคำร้องเทียบโอนผลการเรียนคืนคณะ เพื่อรอนักศึกษามาติดต่อรับคำร้องไปชำระเงินค่าเทียบโอนผลการเรียนที่กองคลัง
                   1.8 นักศึกษาชำระเงินเสร็จเรียบร้อยแล้วสำเนาใบเสร็จและนำส่งคำร้องที่งานทะเบียนและประมวลผล ณ จุดบริการ One stop service
          2. แนวปฏิบัติในการจัดตารางเรียน ความรู้ที่ได้รับเพิ่มเติม คือ แนวทางและวิธีการในการจัดตารางเรียนตารางสอน
             2.1 แนวปฏิบัติในการจัดตารางเรียน ตารางสอนของการเรียนการสอน ภาคเรียนที่ 1
                    1. งานหลักสูตรและแผนการสอน ดำเนินการจัดตารางเรียน ตารางสอน หมวดวิชาศึกษาทั่วไป ระยะเวลา 15 วัน (1-15 ธ.ค.)
                    2. คณะดำเนินการจัดตารางเรียน ตารางสอน หมวดวิชาเฉพาะด้าน ระยะเวลา 25 วัน (16-30 ธ.ค. – 1-15 ม.ค.)
                    3. งานหลักสูตรและแผนการสอน ดำเนินการออกรายงานตารางเรียน ตารางสอน รวมเพื่อตรวจสอบและแก้ไข ระยะเวลา 5 วัน (18-22 ม.ค.)
                    4. คณะดำเนินการตรวจสอบตารางเรียน ตารางสอน ระยะเวลา 8 วัน (23-30 ม.ค.)
                    5. งานทะเบียนและประมวลผลดำเนินการประกาศตารางเรียน ตารางสอน รวมบนอินเตอร์เน็ต (ตามปฏิทินวิชาการ 10 กุมภาพันธ์)
             2.2 แนวปฏิบัติในการจัดตารางเรียน ตารางสอนของการเรียนการสอน ภาคเรียนที่ 2
                    1. งานหลักสูตรและแผนการสอน ดำเนินการจัดตารางเรียน ตารางสอน หมวดวิชาศึกษาทั่วไป ระยะเวลา 15 วัน (15-30 ก.ค.)
                        2. คณะดำเนินการจัดตารางเรียน ตารางสอน หมวดวิชาเฉพาะด้าน ระยะเวลา 25 วัน (1-25 ส.ค.)
                    3. งานหลักสูตรและแผนการสอน ดำเนินการออกรายงานตารางเรียน ตารางสอน รวมเพื่อ ตรวจสอบและแก้ไข ระยะเวลา 5 วัน (26-30 ส.ค.)
                    4. คณะดำเนินการตรวจสอบตารางเรียน ตารางสอน ระยะเวลา 8 วัน (1-8 ก.ย.)
                    5. งานทะเบียนและประมวลผลดำเนินการประกาศตารางเรียน ตารางสอน รวมบนอินเตอร์เน็ต (ตามปฏิทินวิชาการ 22 กันยายน)
             2.3 แนวปฏิบัติในการจัดตารางเรียน ตารางสอนของการเรียนการสอน ภาคเรียนที่ 3
                    1. งานหลักสูตรและแผนการสอน ดำเนินการจัดตารางเรียน ตารางสอน หมวดวิชาศึกษาทั่วไป และหมวดวิชาเฉพาะด้าน ระยะเวลา 25 วัน (16-30 ธ.ค. – 1-15 ม.ค.)
                    2. งานหลักสูตรและแผนการสอน ดำเนินการออกรายงานตารางเรียน ตารางสอน รวมเพื่อตรวจสอบและแก้ไข ระยะเวลา 5 วัน (18-22 ม.ค.)
                    3. คณะดำเนินการตรวจสอบตารางเรียน ตารางสอน ระยะเวลา 8 วัน (23-30 ม.ค.)
                    4. งานทะเบียนและประมวลผลดำเนินการประกาศตารางเรียน ตารางสอน รวมบนอินเตอร์เน็ต (ตามปฏิทินวิชาการ 10 กุมภาพันธ์)